ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพร้อมก่อนจำหน่ายออก จากโรงพยาบาลในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว

Main Article Content

ปารีนุช พรเจริญ
นิภาวรรณ สามารถกิจ
ภาวนา กีรติยุตวงศ์

Abstract

บทคัดย่อ

 

          ภาวะหัวใจล้มเหลวเกิดจากหัวใจไม่สามารถบีบตัวส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ตามปกติ เป็นภาวะวิกฤตที่ทำให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาฉุกเฉินในโรงพยาบาล และยังพบว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้มีอุบัติการณ์ของการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นผลมาจากผู้ป่วยขาดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติพฤติกรรมเพื่อควบคุมโรคหรือ ขาดความพร้อมที่จะกลับไปดูแลตนเองที่บ้าน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ระหว่าง เพศ การรับรู้การสนับสนุนทางสังคม การสอนก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล กับความพร้อมก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 จำนวน 90 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมแบบพหุมิติ แบบสอบถามคุณภาพการสอนก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล และแบบสอบถามการรับรู้ความพร้อมต่อการออกจากโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ พอยท์ไบซีเรียลและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

          ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 54.4 มีการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมระดับปานกลาง (\dpi{300} \displaystylex = 4.96, SD = 1.13) มีการรับรู้คุณภาพการสอนก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลอยู่ในระดับสูง (x = 122.64, SD = 26.54)  และมีการรับรู้ความพร้อมก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลอยู่ในระดับสูง (x = 153.82, SD = 23.81) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า เพศไม่มีความสัมพันธ์กับความพร้อมก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว (rpb = .35, p>.05) การรับรู้การสนับสนุนทางสังคม และการสอนก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพร้อมก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว (r =.29, p<.01; r = .58, p<.01 ตามลำดับ)

          ผลการศึกษาครั้งนี้ เสนอแนะว่าพยาบาลควรมีการประเมินความพร้อมก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล

ประเมินความต้องการข้อมูลของผู้ป่วยเพื่อวางแผนจำหน่ายโดยการให้ข้อมูล ความรู้ที่ตรงตามความต้องการ

ของผู้ป่วยภายหลังออกจากโรงพยาบาลเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับข้อมูลที่เหมาะสมมีความพร้อมที่จะออกจาก

โรงพยาบาล และสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างต่อเนื่องที่บ้าน

 คำสำคัญ: ความพร้อมก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล เพศ การรับรู้การสนับสนุนทางสังคม การสอนก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล

*วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

**พยาบาลวิชาชีพ นิสิตหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

***ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลสาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

****ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลสาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา


FACTORS RELATED TO DISCHARGE READINESS IN PATIENTS WITH CONGESTIVE HEART FAILURE*

Pareenuch Poncharoen**

Niphawan Samartkit***

Pawana Keeratiyutawong****

Abstract

          The purposes of this descriptive correlational research design aimed to analyze the relationship among factors and discharge readiness in patients with congestive heart failure. The sample consisted of 90 patients with congestive heart failure who were admitted to the medical department of Kingnarai hospital Lopburi during February and May, 2014. Data were collected using a demographic questionnaire, Multidimentional Scale of Perceived Social Support (MSPSS), the Quality of Discharge Teaching Scale (QDTS), and the Readiness for Hospital Discharge scale (RHDS) used as research instruments. Data were analyzed by using descriptive statistic, Point biserial Correlation and Pearson’s product moment correlation.

          The results of the study had a middle level of perceived social support  ( x = 4.96, SD = 1.13) good quality of discharge teaching
(x = 122.64, SD = 26.54) and high level  of discharge readiness    (x = 153.82, SD = 23.81). There was none significantly relationship between gender and discharge readiness (p>.05). There was positive relationship between perceived social support, and discharge

teaching in patients with congestive heart failure. (p< .01, respectively).

The finding suggested that nurses should assess patients’ readiness to discharge and their information needs in order to effectively prepare a discharge planning program for patients. Providing information that matched with patients’ need after discharge could help them ready to discharge from the hospital and continue to perform self-care appropriately at home.

Key words : Discharge readiness/ Gender/ Perceived social/ support/ Discharge teaching

*Master Thesis Master of Nursing Science Program in Adult nursing.Faculty of Nursing Burapha University.

**Registered nurse, Master of  Nursing Science Program in Adult nursing. Faculty of Nursing Burapha University.

***Assistant Professor. Ph.D. Faculty of Nursing Burapha University.

 

 

 

Article Details

How to Cite
1.
พรเจริญ ป, สามารถกิจ น, กีรติยุตวงศ์ ภ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพร้อมก่อนจำหน่ายออก จากโรงพยาบาลในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2015 Aug. 31 [cited 2024 Apr. 24];25(2):130-43. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/39511
Section
บทความวิจัย