ความปลอดภัยและผลการใช้ท่าฤๅษีดัดตนในการรักษาร่วมในโรคข้อเข่าเสื่อม

Main Article Content

นุชชุดา มารยาท

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความปลอดภัยและผลการใช้ท่าฤๅษีดัดตนในการรักษาร่วมในโรคข้อเข่าเสื่อม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม โรงพยาบาลพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เพศชายและหญิง อายุ 35 - 65 ปี แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองจะได้รับยาแก้ปวดร่วมกับการใช้ท่ากายบริหารท่าฤๅษีดัดตน กลุ่มเปรียบเทียบจะได้รับยาแก้ปวดร่วมกับการใช้ท่ากายบริหารทั่วไป ติดตามผล 2 สัปดาห์/ครั้ง จำนวน 4 สัปดาห์ วัดระดับความปวดของข้อเข่าก่อนและหลังการรักษาด้วย Visual Analog Scale (VAS) of Wong-Bake วัดระดับใช้งานของข้อด้วย WOMAC Score และวัดองศาการเคลื่อนไหวของเข่าด้วยเครื่องโกนิโอมิเตอร์ สถิติที่ใช้ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และPaired t test และ Independent t test ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังการรักษาทั้งสองกลุ่มมีค่าเฉลี่ยความปวดลดลง งอเข่าได้องศามากขึ้น เหยียดเข่าได้ตรงมากขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) 2) ความปลอดภัยทั้งสองกลุ่มส่วนมากไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ พบเพียงอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย และเจ็บปวดข้อเข่ามากขึ้น อาจเกิดจากอาการข้างเคียงจากกล้ามเนื้อระบมขณะออกกำลังกายอาการดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดอันตราย 3) เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จำนวน 2 ข้อ ได้แก่ อาการปวด ความเจ็บปวดข้อเข่าขอบบนด้านนอก พบกลุ่มทดลองมีอาการปวดเข่าลดลงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ ดังนั้น ท่ากายบริหารท่าฤๅษีดัดตนเหมาะสมที่จะนำมาเป็นทางเลือกในการรักษาอาการข้อเข่าเสื่อม

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ