การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของตำรับยาทาพระเส้นระหว่างการใช้น้ำกระสายยาน้ำสุราและน้ำส้มสายชูต่อการรักษาโรคลมจับโปงแห้งเข่าที่โรงพยาบาล การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน

Main Article Content

กิตติยา ขันทอง
ศุภะลักษณ์ ฟักคำ
ยงยุทธ วัชรดุล
ธารา ชินะกาญจน์
ธนวรรษ อิ่มสมบูรณ์

บทคัดย่อ

      งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของตำรับยาทาพระเส้นระหว่างการใช้น้ำกระสายยา น้ำสุราและน้ำส้มสายชูต่อการรักษาโรคลมจับโปงแห้งเข่า ที่มีอาการปวดข้อเข่า ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน  โดยสุ่มแบบ randomized controlled trial แบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มที่ 1 ได้รับตำรับยาทาพระเส้นสูตรที่ใช้น้ำสุราเป็นน้ำกระสายยา กลุ่มที่ 2 ได้รับตำรับยาทาพระเส้นสูตรใช้น้ำส้มสายชูเป็นน้ำกระสายยา โดยทั้ง 2 กลุ่ม ทายาบริเวณรอบข้อเข่าวันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวัน เย็น ติดต่อกันเป็นเวลา 7 วัน ประเมินผลก่อนและหลังการใช้ยาด้วยแบบประเมินอาการโรคข้อเข่าเสื่อม Western Ontario and McMaster University (WOMAC)  แบบประเมินอาการปวดข้อเข่าโดยใช้ Visual Analog Scale (VAS) และการวัดองศาการงอข้อเข่าโดยใช้โกนิโอมิเตอร์ (goniometer) ผลการศึกษาเมื่อเปรียบเทียบ ภายในกลุ่ม พบว่า กลุ่มที่ 1 มีระดับความสามารถในการใช้งานข้อเข่าดีขึ้น ระดับความปวดข้อเข่าลดลง และองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่าดีขึ้นหลังใช้ยา ซึ่งแตกต่างกับก่อนใช้ยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ข้อมูลกลุ่มที่ 2 ระดับความสามารถในการใช้งานข้อเข่าดีขึ้นระดับความปวดข้อเข่าลดลง และองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่าดีขึ้นหลังใช้ยาซึ่งแตกต่างกับก่อนใช้ยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่า ระดับความสามารถในการใช้งานข้อในทุกด้านหลังการใช้ยาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) ส่วนระดับความปวดข้อเข่า และองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่าหลังการใช้ยาของกลุ่มที่ 2 ดีขึ้นกว่ากลุ่มที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ดังนั้น ทั้งตำรับยาทาพระเส้นที่ใช้น้ำสุราและน้ำส้มสายชูเป็นน้ำกระสายยามีประสิทธิผลในการเพิ่มระดับความสามารถในการใช้งานข้อเข่า ลดอาการปวดเข่า และเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่าในขณะเดียวกัน พบว่า ตำรับยาทาพระเส้นที่ใช้น้ำส้มสายชูเป็นน้ำกระสายยามีประสิทธิผลในการลดอาการปวดเข่าและเพิ่มองศา การเคลื่อนไหวของข้อเข่าได้มากกว่าตำรับยาทาพระเส้นที่ใช้น้ำสุราเป็นน้ำกระสายยา

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ