ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร: กรณีศึกษา พนักงานมหาวิทยาลัยพะเยา

Main Article Content

แสงเทียน กระภูฤทธิ์
ศศิวิมล บุตรสีเขียว
น้ำเงิน จันทรมณี
มนชนก ชูวรรธนะปกรณ์
จาตุรนต์ กัณทะธง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร
ของพนักงานมหาวิทยาลัยพะเยา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 334 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบโควตาวิเคราะห์ข้อมูล
โดยใช้จำนวน ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติไคสแควร์และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน        ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ร้อยละ 69.5 คน ช่วงอายุอยู่ระหว่าง
31-40 ปี ร้อยละ 53.5 สำเร็จการศึกษาอยู่ในระดับสูงกว่าปริญญาตรีมากที่สุด ร้อยละ 50.3 มีคะแนนความรู้ คะแนนทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เท่ากับ12.42 ± 4.098, 25.34± 3.678และ19.49 ± 3.788 ตามลำดับระดับคะแนนความรู้ในการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 49.4ระดับคะแนนทัศนคติ และคะแนนพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 63.5 และร้อยละ 61.7ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า ความรู้และทัศนคติ รวมถึงปัจจัยส่วนบุคคล(สถานภาพการทำงาน)มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรของกลุ่มตัวอย่าง ดังนั้น ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน ในการส่งเสริมเพื่อให้เกิดการรับรู้ประโยชน์ของการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรในการดูแลตนเอง ทำให้เกิดทัศนคติที่ดี อันจะนำไปสู่การเกิดพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ดีและถูกต้องมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ