Archives - Page 2

  • July-August
    Vol. 43 No. 4 (2018)

    สวัสดีครับ คุณผู้อ่านทุกท่าน กลับมาทักทายกันอีกเช่นเคยกับ “วารสารกรมการแพทย์” ฉบับที่ 4 ประจำเดือน กรกฎาคมและสิงหาคม พ.ศ. 2561 แล้ว ซึ่งฉบับนี้มีความพิเศษเป็นอย่างยิ่ง เมื่อได้รับความร่วมมือจาก ศูนย์ความเป็นเลิศด้ํานศัลยกรรมทารกแรกเกิด สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ในการอำนวยความสะดวกสำหรับการนำเสนอข้อมูลและคอลัมน์ต่างๆ ภายในเล่ม อาทิ “เรื่องเด่นประจำฉบับ” บทความทางวิชาการเกี่ยวกับด้านศัลยกรรมทารกแรกเกิด ได้แก่ 1) Hirschsprung’s Disease and Allied Disorders 2) Birth defect 3) การตรวจวินิจฉัยความผิดปกติแต่กำเนิด และ 4) การผ่าตัดส่องกล้อง (Minimally Invasive Surgery) มิติใหม่ของการรักษาผู้ป่วยเด็ก “Hall Of Fame” ร่วมรำลึกและเชิดชูคุณงามความดีของ นํายแพทย์ศรีวงศ์ หะวํานนท์ กุมารศัลยแพทย์เอกแห่งโรงพยาบาลเด็ก ที่ถือเป็นปรมาจารย์คนหนึ่งของวงการแพทย์ไทย “Hospital Visit” มาเรียนรู้กระบวนการทำงาน พร้อมอัพเดตวิทยาการล้ำสมัยที่น่าสนใจของศูนย์ความเป็นเลิศด้านศัลยกรรมทารกแรกเกิด สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ซึ่งได้รับการยอมรับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันว่ามีศัลยแพทย์และทีมงานที่เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ อีกทั้งมีอัตราการมีชีวิตรอดต่อการรักษามากกว่าร้อยละ 90 เลยทีเดียวทั้งนี้ สำหรับคอลัมน์อื่นภายในเล่มก็ยังเต็มไปด้วยเนื้อหาสาระ โดยที่ทุกๆ หน้าทางทีมงานต่างตั้งใจจริงในการคัดสรรและจัดทำเพื่อท่านผู้อ่านโดยเฉพาะ ทิ้งท้ายนี้ กระผมในตัวแทนของทีมงาน “วารสารกรมกํารแพทย์” ขอขอบพระคุณที่ติดตามกันมาโดยตลอด หากมีข้อผิดพลาดหรือคำแนะนำประการใด สามารถติชมเข้ามาได้เสมอ แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้า สวัสดีครับ

    นายแพทย์อากาศ พัฒนเรืองไล บรรณาธิการ

  • May-June
    Vol. 43 No. 3 (2018)

    กลับมาพบกันอีกเช่นเดิม เพิ่มเติมคือฤดูฝนอันชุ่มฉ่ำสำหรับ “วารสารกรมการแพทย์” ฉบับที่ 3 ประจำเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน พ.ศ. 2561 โดยทางคณะผู้จัดทำยังคงคัดสรรข่าวสารและบทความสาระความรู้มาให้ผู้อ่านอย่างต่อเนื่อง หากอยากทราบว่า ด้านในมีเรื่องอะไรน่าสนใจบ้างเชิญพลิกหน้าไปกันได้เลยครับ “เรื่องเด่นประจำฉบับ” งานวิจัยเชิงวิชาการจากแพทย์เฉพาะทางโรควัณโรค อันได้แก่ 1) วัณโรคดื้อยา 2) วัณโรคและการรักษาวัณโรค และ 3) Laboratory for TB diagnosis“Hall Of Fame” ฉบับนี้มาสนทนากับ พ.ญ. วิพรรณสังคหะพงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอกถึงวิสัยทัศน์และแนวคิดด้านบริหารจัดการ รับรองว่า..ได้แง่คิดดีๆ มาฝากผู้อ่านแน่นอนจากนั้นข้ามมาเยี่ยมชมและติดตามวิทยาการความก้าวหน้าด้านอายุรศาสตร์ปอด ของสถาบันโรคทรวงอกในคอลัมน์ “Hospital Visit” กัน โดยได้รับเกียรติจาก พ.ญ. เปี่ยมลาภ แสงสายัณห์ หัวหน้ํากลุ่มงานอายุรศาสตร์ปอดเป็นผู้นำทีมต้อนรับ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรควัณโรค ซึ่งถือเป็นเคสสำคัญที่สถาบันมุ่งมั่นทำการวิจัยและหาวิธีรักษาเพื่อลดอัตราผู้ป่วยให้น้อยลงในอนาคตอันใกล้ในส่วนของคอลัมน์อื่นที่เหลือถึงแม้ไม่ได้กล่าวถึง ณ ตรงนี้ ก็น่าสนใจไม่แพ้กันครับ เพราะทุกคอลัมน์ที่ตีพิมพ์ในวารสารฯ ฉบับนี้ ทางทีมงานมีความตั้งใจจริงที่จะนำเสนอเรื่องราวที่มีประโยชน์สูงสุด เพื่อเป็นสื่อกลางให้กับบุคลากรทางด้านการแพทย์

    นายแพทย์อากาศ พัฒนเรืองไล บรรณาธิการ

  • March-April
    Vol. 43 No. 2 (2018)

    กล่าวสวัสดีคุณผู้อ่านที่เคารพ กลับมาพบกันอย่างต่อเนื่องในวาระทุกๆ 2 เดือน สำหรับ “วารสารกรมการแพทย์” ซึ่งฉบับที่ทุกท่านกำลังถือในมืออยู่นี้เป็น ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมีนาคมและเมษายน พ.ศ. 2561 โดยภายในเล่มยังคงล้วนอัดแน่นไปด้วยสาระความรู้ทั้งในเชิงบทความ บทวิเคราะห์ และบทวิจัยอันหลากหลาย เพื่อให้ท่านผู้อ่านสามารถอัพเดตข่าวสารเกี่ยวกับวงการแพทย์ได้อย่างทันโลก ไม่ตกเทรนด์ สำหรับคอลัมน์ “Hall Of Fame” ฉบับนี้ เราจะพาคุณผู้อ่านทุกท่านไปเกาะขอบโต๊ะ พร้อมทำความรู้จักกับทีมสหสาขาวิชาชีพ ศูนย์ดูแลผู้ป่วยไฟไหม้-น้ำร้อนลวก (Burn Center) โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยงานแม่แบบในการพัฒนา จนกลายเป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญด้านการดูแลผู้ป่วยไฟไหม้-น้ำร้อนลวกของหน่วยบริการสาธารณสุขทั่วประเทศ ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ขาดตอน คอลัมน์ เรื่องเด่นประจำฉบับ เราจึงได้รวบรวมบทความเกี่ยวกับ Burn Center ที่น่าสนใจและควรค่าแก่การศึกษาถึง 3 เรื่องด้วยกัน อาทิ 1) Burn Model2) กํารจัดตั้งศูนย์ดูแลผู้ป่วยไฟไหม้-น้ำร้อนลวก (Establishment Of Burn Team And Facility) 3) กํารดูแลผู้ป่วยแผลไฟไหม้ (Burns Management) จากนั้น ข้ามไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง กรณีศึกษาผู้ป่วยแผลไหม้รุนแรงจากกระแสไฟฟ้ําแรงสูง ในคอลัมน์ “Interesting Case” เพื่อให้คุณผู้อ่านได้รับรู้ไว้เป็นวิทยฐานะถึงช่วงก่อนและหลังการดูแลรักษาผู้ป่วยในลักษณะดังกล่าว นอกจากนั้นแล้ว ในคอลัมน์อื่นๆ ที่ไม่ได้เอ่ยถึง ก็ล้วนมีความสำคัญและน่าอ่านไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน รับรองว่า ในหนึ่งหน้ากระดาษนี้คงไม่สามารถบรรยายจบครบได้ในทันที ฉะนั้น จึงขอเรียนเชิญคุณผู้อ่านทุกท่านพลิกไปอ่านกันเองได้ตามอัธยาศัยทิ้งท้ายนี้ ทีมงานก็ขอขอบคุณที่ติดตามวารสารฯ มาโดยตลอด หากมีข้อผิดพลาดหรือคำแนะนำประการใด สามารถแจ้งกันเข้ามาได้นะครับ ทางทีมงานจะพยายามปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปครับ ขอบคุณครับ

    นายแพทย์อากาศ พัฒนเรืองไล บรรณาธิการ

  • January-February
    Vol. 43 No. 1 (2018)

    กราบสวัสดีปีใหม่ย้อนหลังคุณผู้อ่านทุกท่านครับ หวังว่าเริ่มเข้าสู่ศักราชใหม่กันแล้ว ก็ขอให้ตั้งใจทำการทำงาน คิดดี ทำดี และร่วมใส่ใจดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองและคนรอบข้างให้แข็งแรงๆ กันนะครับ วารสารกรมการแพทย์ฉบับประเดิมปี 2561 นี้ขออนุญาตนำเสนอเรื่องของ “นวัตกรรม” โดยจะกล่าวถึงความน่าสนใจในการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ ในวงการแพทย์ ซึ่งนวัตกรรมเหล่านี้จะช่วยยกระดับการรักษาผู้ป่วยได้อย่างไร? หรือสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยในประเทศไทยในด้านใดได้บ้าง? เชิญไปหาคำตอบกันได้เลยมาเริ่มต้นด้วย “เรื่องเด่นประจำฉบับ” กับ 3 บทความงานวิจัยด้านนวัตกรรมที่น่าสนใจ อันได้แก่ 1) เหตุใดห้องปฏิบัติการทดสอบด้านเครื่องมือแพทย์ จึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ 2) การทำนวัตกรรมด้านเครื่องมือแพทย์สำหรับประเทศไทยให้ประสบผลสำเร็จได้อย่างไร 3) การพัฒนานวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ของประเทศไทยส่วนถัดมา ในคอลัมน์ “Hospital Visit” นับเป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ที่ทางทีมงานวารสารฯ ภูมิใจนำเสนอ นั่นก็คือศูนย์เทคโนโลยีทํางทันตกรรมขั้นสูง (ADTEC - AdvancedDental Technology Center) องค์กรที่พัฒนาเครื่องมือแพทย์ตามมาตรฐานสากล โดยการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อยกระดับในการดูแลรักษาผู้ป่วยไทยในปัจจุบัน ทั้งนี้ ยังได้รับเกียรติร่วมตั้งโต๊ะสนทนาแบบเป็นกันเองกับ ผศ.ทพ.วิจิตร ธรํานนท์ ผู้อำนวยการโปรแกรมพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเครื่องมือแพทย์วัสดุฝังใน (ADTEC) ในเรื่องราวมุมมองที่น่าสนใจต่างๆ เกี่ยวกับด้านนวัตกรรมกับ คอลัมน์ “Hall Of Fame” อีกด้วยนอกจากนี้ ในส่วนของคอลัมน์อื่นๆ ก็ยังเพียบพร้อมจัดเต็มไปด้วยเนื้อหาสาระที่น่าติดตามมากมายอีกเช่นเคยครับสำหรับฉบับนี้ทักทายกันพอหอมปากหอมคอ ไว้เจอกันใหม่ฉบับหน้า โชคดี สวัสดีครับ

    นายแพทย์อากาศ พัฒนเรืองไล บรรณาธิการ

  • November-December
    Vol. 42 No. 6 (2017)

    สวัสดีครับท่านผู้อ่าน กลับมาพบกันอีกครั้งกับวารสารกรมการแพทย์ ฉบับที่ 6 ประจำเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม พ.ศ. 2560ซึ่งเป็นฉบับส่งท้ายปลายปีที่ยังอุดมไปด้วยสาระความรู้อันเข้มข้นเช่นเคย โดยฉบับนี้เราขอนำเสนอเกี่ยวกับ เรื่องของโรคไต เป็นกรณีพิเศษ ประเดิมด้วยคอลัมน์ เรื่องเด่นประจำฉบับ ที่เราได้รวบรวมบทความวิจัยอันน่าสนใจถึง 3 เรื่องด้วยกัน ได้แก่ 1) การศึกษาปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการรักษษแบบบูรณาการที่โรงพยาบาลชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิต 2) การศึกษาเพื่อหาแนวทางการบริหารจัดการโรคไตเรื้อรังในระดับโรงพยาบาลชุมชน : โครงการวิจัยต้นแบบจังหวัดกำแพงเพชร 3) การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับโครงการวิจัยติดตามผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ในเขต 5 อำเภอ จังหวัดกำแพงเพชร จากนั้น ขอพาท่านผู้อ่านไปเยี่มมชมและทำความรู้จักกับโรงพยาบาลสถาบบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางโรคไต เพื่อดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไตอย่างครบวงจรที่ให้บริการแบบเอกชนด้วยราคารัฐบาล พร้อมทั้งยังได้รับเกียรติมานั่งพูดคุยกับ ศ.เกียรติคุณ นพ.ธีรชัย ฉันทโรจน์ศิริ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ โดยท่านได้มาบอกเล่าถึงข้อคิดในการบริหาร และตลอดชีวิตการทำงานถนนสายแพทย์ นอกจากนี้ ในคอลัมน์อื่นๆ ก็ยังมีเนื้อหาที่น่าสนใจอีกมากมาย ท่านผู้อ่านสามารถพลิกเข้าไปอ่านและติดตามกันได้นะครับ สุดท้ายเนื่องในโอกาสส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ก็ขออวยพรให้ท่านผู้อ่านทุกท่านมีสุขภาพกาย สุขภาพใจแข็งแรง คิดสิ่งใดสมปราถนา และหมั่นทำความดีกันนะครับ ขอบคุณครับ

    นายแพทย์อากาศ พัฒนเรืองไล บรรณาธิการ

  • September-October
    Vol. 42 No. 5 (2017)

    สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน วันเวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว วารสารกรมการแพทย์ก็มาถึงฉบับรับลมหนาวกันแล้วนะครับ ซึ่งความเข้มข้นก็ยังเหมือนเดิม โดยฉบับนี้เราได้นำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวกับโรคผิวหนัง ซึ่งเราได้รับเกียรติจาก พล.ท.นพ.กฤษฏา ดวงอุไร อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า มาให้สัมภาษณ์ในคอลัมน์ Hall of Fame โดยบอกเล่าเรื่องราวถึงปณิธานที่จะดำเนินรอยตามเบื้องพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในการทำงานเพื่อรักษาผู้ป่วย และความมุมานะในการศึกษาเรียนรู้ จนทำให้ชีวิตก้าวสู่ความเติบโตในหน้าที่การงาน และยังเป็นต้นแบบของการมีวินัยและความเพียรให้แพทย์รุ่นใหม่ๆได้ปฏิบัติตามอีกด้วย ขณะเดียวกันในคอลัมน์ Hospital Visit เราก็จะพาไปรู้จักกับศูนย์บริการโรคผิวหนัง สาขาศูนย์ราชการ ถนนแจ้งวัฒนะ ซึ่งพึ่งเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยศูนย์ดังกล่าวถือเป็นหนึ่งในบริการที่ดำเนินตามนโยบาย Medical Hub ที่จะช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการ และช่วยลดความแออัดของผู้รับบริการ ส่วนรายละเอียดจะเป็นอย่างไรนั้นเปิดอ่านกันได้ภายในเล่มนะครับ ส่วนอีกหนึ่งไฮไลต์ของฉบับนี้ก็คือคอลัมน์เรื่องเด่นประจำแบับ ที่เรานำเสนอมา 3 เรื่องด้วยกัน คือ สัตว์และคนกัด ที่ใครๆ รู้สึกเหมือนไม่มีอันตราย แต่แท้จริงนั้น หากผู้ป่วยไม่รีบไปพบแพทย์ก็อาจนำไปสู่อาการที่รุนแรงขึ้นและเป็นอันตรายขึ้นได้จากการติดเชื้อแบคทีเรียในแผลที่ถูกกัดได้ โรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งเป็นโรคที่มักได้ยินและพบได้บ่อยๆ โดยโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส และสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า มีโอกาสเสียชีวิตเกือบจะ 100% และผู้ป่วยโรคผิวหนังควรรับบริการสักสี (Tattoo) ที่ผิวหนังหรือไม่ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการสักผิวหนังเพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ นั้นได้รับความนิยมขึ้นมากในปัจจุบัน แต่ผู้ป่วยโรคผิวหนังที่ต้องการสักผิวหนังควรต้องพิจารณาพิเศษ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินเพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายขึ้นได้จากหมึกหรือสีที่ใช้ในการสัก นอกจากนี้เช่นเคยครับ เรายังมีเนื้อหาอื่นๆ ที่จะช่วยเพิ่มพูนความรู้ในด้านต่างๆ อีกมากเช่น Pro&Con ซึ่งฉบับนี้ นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ ได้มาช่วยไขความกระจ่างเกี่ยวกับการล้างพิษด้วยการทำ Chelation ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมกันมากสำหรับผู้ที่ต้องการล้างพิษในร่างกาย แต่การทำ Chelation จะมีประโยชน์หรือมีประสิทธิผลจริงหรือไม่นั้น พลิกไปหาคำตอบได้ในเล่ม

    นายแพทย์อากาศ พัฒนเรืองไล บรรณาธิการ

  • July-August
    Vol. 42 No. 4 (2017)

    สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน มาพบกันอีกครั้งแล้วนะครับ โดยวารสารกรมการแพทย์ฉบับนี้มีเรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับด้านทันตกรรมมาฝากกัน เนื่องจากในอีกสิบปีข้างหน้า ประเทศไทยเรา จะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มตัว นโยบายด้านสาธารณสุขจึงมีความสำคัญกับการดูแลผู้สูงอายุเป็นพิเศษ เนื้อหาส่วนแรกที่อยากให้พลิกไปอ่านคือเรื่องเด่นประจำฉบับที่เรานำเสนอถึง 4 เรื่องด้วยกัน ได้แก่ การใช้รากฟันเทียมในผู้ป่วยที่สูญเสียฟันทั้งปาก เพื่อส่งเสริมให้ผู้ที่สูญเสียฟันทั้งปากโดยเฉพาะผู้สูงอายุได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รอยผุที่รากฟัน เซลล์ต้นกำเนิดกับการเจริญทดแทนของอวัยวะปริทันต์ เพื่อใช้ในการรักษาโรคปริทันต์อักเสบ ซึ่งส่งผลต่อการบดเคี้ยวอาหารและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างมาก และ การพัฒนาและประเมินเด็นทัลแพลตฟอร์มต้นแบบเพื่อให้บริการทางทันตกรรมคนพิการและผู้สูงอายุที่ใช้เก้าอี้ล้อเลื่อน ที่จะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในกลุ่มนี้มีความปลอดภัยมากขึ้น จากเราขอพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ สถาบันทันตกรรม ในคอลัมน์ Hospital Visit ซึ่งแม้จะก่อตั้งมากว่า 40 ปีแล้ว แต่ทางสถาบันฯ ก็ยังคงมีปณิธานในการเป็นศูนย์กลางด้านองค์ความรู้ทางทันตกรรม และปัจจุบันยังได้มีการพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์ความเป็นเลิศทางทันตกรรมและยกระดับการดูแลด้านทันตสุขภาพเพื่อใหผู้ด้อยโอกาสได้สามารถเข้าถึงระบบทันตสาธารณสุขอย่างทั่งถึงกันทั้งประเทศ โดยเราได้รับเกียรติจาก ทพ.บุญชู สุรีย์พงษ์ ผู้อำนวยการสถาบันทันตกรรมคนปัจจุบัน มาพูดคุยถึงแนวนโยบายที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถของทันตบุคลากร ขณะที่คอลัมน์ Hall of Fame ฉบับนี้ของเราก็ได้รับเกียรติจาก ทพญ.เพ็ญจันทร์ เนื้อนุ้ย ผู้อำนวยการสถาบันทันตกรรมคนแรก มาบอกเล่าเรื่องการทำงานของวถาบันทันตกรรมในช่วงเริ่มต้น ซึ่งกว่าจะมาเป็นอย่างทุกวันนี้ ได้มีความยากลำบากทีเดียว นอกจากนี้เรายังมีเนื้อหาทางด้านทันตกรรมที่จะทำให้ผู้อ่านได้รับสาระความรู้อย่างเต็มอิ่มในคอลัมน์อื่นๆเพิ่มเติม ส่วนจะเป็นอย่างไรนั้นพลิกไปอ่านได้ในเล่มนะครับ สุดท้ายนี้ ช่วงที่เรากำลังอยู่ในหน้าฝนเช่นนี้อาจเสี่งต่อการเป็นไข้หวัดใหญ่กันได้ อย่าลืมดูแลสุขภาพกันให้ดีด้วยนะครับ แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้า

    นายแพทย์อากาศ พัฒนเรืองไล บรรณาธิการ

  • May-June
    Vol. 42 No. 3 (2017)

    สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน เรามาพบกันอีกครั้งกับสาระต่างๆ ที่เราตั้งใจคัดสรรมานำเสนอเช่นเคย โดยเฉพาะฉบับนี้ที่เรานำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการดูแลคนพิการที่ทั่วโลกได้ตระหนักถึงศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของคนพิการ และตื่นตัวในการสร้างเสริมศักยภาพและคุ้มครองสิทธิ์ของคนพิการ รวมถึงเปิดโอกาสสนับสนุนคนพิการให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อนำไปสู่การดำรงชีวิตด้วยการพึ่งตนเองมากที่สุด ในบ้านเรามีองค์กรที่เป็นเสาหลักสำคัญในการดูแลเรื่องนี้คือสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ โดยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงตระหนักว่าผู้พิการต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งทางด้านการแพทย์ การศึกษา อาชีพ และสังคม เพื่อให้พวกเขาสามารถช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด และสามารถอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างมีเกียรติและมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับบุคคลอื่น คอลัมน์ Hospital Visit จึงขอพาท่านมาทำความรู้จักกับงานของสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูฯ พร้อมกับบทสัมภาษณ์ พญ.ดารณี สุวพันธ์ ผู้อำนวยการสถาบันฯ ซึ่งมีประสบการณ์ในการทำงานด้านเวชกรรมฟื้นฟูมากกว่า 30 ปี ที่ได้มอบวิสัยทัศน์การทำงานตลอดจนมุมมองต่อการดูแลคนพิการในด้านต่างๆที่น่าสนใจ ขณะที่คอลัมน์เรื่องเด่นประจำฉบับยังได้นำเสนอเรื่องการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในสถานพยาบาลเพื่อให้คนพิการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ และเรื่องของหุ่นยนต์ฝึกหัดเดินที่ช่วยยในการฝึกเดินสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการเดินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง ผู้ป่วยสมองพิการ และผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน เป็นต้น ท้ายที่สุดนี้ ประเทศไทยย่างเข้าฤดูฝนแล้ว ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่ต้องรับมือกับโรคภัยไข้เจ็บที่มาพร้อมกับอากาศในช่วงหน้าฝนให้ดี ไม่ว่าจะเป็นไข้เลือดออก และโรคไข้หวัดใหญ่ ที่กระทรวงสาธารณสุขได้มีบริการฉีดวัคซีนฟรีสำหรับประชาชนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมีผู้อ่านให้ความสนใจ เรื่องการฉีดวัคซีนฟรีกันเข้ามามาก ว่าวัคซีนที่ให้บริการอยู่นั้นเป็นวัคซีนที่จะช่วยป้องกันเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใดบ้าง พลิกไปดูคำตอบได้ท้ายเล่มครับ ดูแลรักษาสุขภาพกันให้ดีนะครับ แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้า

    นายแพทย์อากาศ พัฒนเรืองไล บรรณาธิการ

  • March-April
    Vol. 42 No. 2 (2017)

    สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน วารสารกรมการแพทย์ฉบับนี้มาพบกับท่านในช่วงที่ประเทศไทยเข้าสู่หน้าร้อนกันนะครับ เรื่องเด่นประจำฉบับนี้ จึงมีประเด็นเรื่องพิษภัยของแมงกะพรุนซึ่งคนจะโดนเข้าได้ง่ายๆ ขณะลงเล่นน้ำในทะเล จึงควรมาทำความรู้จักกับแมงกะพรุนประเภทต่างๆ ที่มีระดับความรุนแรงของพิษและเป็นอันตรายต่อร่างกายแตกต่างกัน โดยในเรื่องเด่นประจำฉบับเรายังมีเรื่องพิษจากแมงมุมกัดอีกเรื่องที่น่าสนใจ ซึ่งเราคัดเอาเฉพาะแมงมุมที่มีบทบาททางการแพทย์มาฝากกัน ส่วน Hall of Fame เราได้รับเกียรติจาก พญ.ปรียา กุลละวณิชย์ แพทย์สตรีคนแรกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้รับรางวัลเหรียญทอง Maria Duran Gold Medal จาก International Dermatological Society สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นรางวัลเกียรติยศแก่แพทย์สตรีผู้นำด้านวิชาการ (Leader in Dermatology) ระดับนานาชาติ และยังเป็นแพทย์สตรีคนแรกอีกเช่นกันที่เคยดำรงตำแหน่งนายกสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งเอเชีย มาพูดคุยเพื่อมอบประสบการณ์และมุมมองการทำงานที่มีคุณค่ายิ่งนักในฐานะแพทย์คนหนึ่งที่หวังจะสร้างประโยชน์ให้กับวงการโรคผิวหนังบ้านเรา พร้อมๆ กับ Hospital visit ที่เราขอแนะนำคลินิกผมและเล็บของสถาบันโรคผิวหนัง ซึ่งบริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคที่เกี่ยวกับเส้นผม หนังศีรษะ และเล็บ ซึ่งให้บริการด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย ช่วยให้การปลูกถ่ายเส้นผมได้อย่างตรงจุดและแม่นยำสำหรับ Pro & Con? ฉบับนี้ ขอนำเสนอเรื่องเห็ดหลินจือที่เรามักจะเห็นวางจำหน่ายในรูปแบบอาหารเสริม แล้วระบุสรรพคุณในการบำรุงสุขภาพต่างๆ โดยเฉพาะการนำมาใช้ประกอบการรักษาโรคมะเร็ง มาดูกันนะครับว่าตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์แล้ว สารสกัดเห็ดหลินจือจะช่วยในการรักษาโรคมะเร็งได้จริงหรือไม่ และปิดท้ายเล่มกันด้วยเรื่อง Thailand 4.0 ด้านสุขภาพและสาธารณสุข ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดแผนยุทธศาสตร์ชาติด้านสาธารณสุข 20 ปี เพื่อให้ “ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน”แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้า ซึ่งเราจะยังคงสรรหาเรื่องราวดีๆ มานำเสนออีกเช่นเคยครับ 

    นพ.อากาศ พัฒนเรืองไล บรรณาธิการ

  • January-February
    Vol. 42 No. 1 (2017)

    สวัสดีครับท่านผู้อ่าน วารสารกรมการแพทย์ฉบับนี้ก้าวขึ้นสู่ปีที่ 42 แล้ว เป็นฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และก็ยังเต็มอิ่มด้วยเนื้อหาที่มีประโยชน์ เรื่องเด่นประจำฉบับนี้ เป็นเรื่อง Dental Management in Head and Neck Cancer เพราะผลแทรกซ้อนทางทันตกรรมที่เกิดขึ้นจากการรักษา โดยเฉพาะมะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของผู้ป่วย ทั้งระหว่างและภายหลังการรักษา ทันตแพทย์ในฐานะผู้ให้บริการด้านสุขภาพจึงจำเป็นต้องรู้และเข้าใจ รวมทั้งให้ความช่วยเหลือที่เกิดขึ้นผู้ป่วย คอลัมน์ Hosital visit ฉบับนี้มีเนื้อหาสอดคล้องกับเรื่องเด่น จะพาท่านผู้อ่านไปเยี่ยมชม โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี โดยเฉพาะการทำงานของแผนกดูแลผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอ ส่วนคอลัมน์ Hall of Fame ขอนำเสนอบุคลากรและทีมงานคุณภาพของหน่วยงานดังกล่าวซึ่งนำทีมโดย นพ.อดิษฐ์ โชติพานิช แพทย์เฉพาะทางโสต ศอ นาสิก คอลัมน์ Pro&Con? เป็นเรื่องทางหนีของโรคสมองเสื่อมซึ่งน่าสนใจมากๆ โดยเฉพาะสังคมไทยที่ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและเรื่องราวของไทยแลนด์ 4.0 ที่ได้ยินกันบ่อยครั้งนั้นอ่านได้ในคอลัมน์จดหมายจากผู้อ่านครับ วารสารกรมการแพทย์ฉบับนี้ ขอลาไปก่อน พบกันใหม่ฉบับหน้า สวัสดีครับ 

    นายแพทย์อากาศ พัฒนเรืองไล บรรณาธิการ

26-35 of 35