การพัฒนาระบบประเมินการเรียนการสอนภาคปฏิบัติที่ส่งเสริม พฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • สมจิตต์ เวียงเพิ่ม
  • บุญเรียง ขจรศิลป์
  • สุนทรา โตบัว

คำสำคัญ:

การประเมิน, การเรียนการสอนภาคปฏิบัติ, พฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทร, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

          การประเมินมีความเกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดโดยการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบประเมินการเรียนการสอนภาคปฏิบัติที่ส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาล วิธีดำเนินการ1)การพัฒนาระบบ 2)การทดลองใช้ระบบ และ   3) การศึกษาคุณภาพระบบ การศึกษาผลการทดลองใช้ระบบ โดยอาจารย์ 5 คน นักศึกษา 40 คนในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสังเกต การสอบถาม การสนทนากลุ่ม และการวิเคราะห์เอกสาร วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ระบบประกอบด้วย 4 องค์ประกอบคือ (1) ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย 1.1) คู่มือการใช้ระบบ 1.2) เครื่องมือที่ใช้ในระบบ 1.3) เกณฑ์การประเมิน 1.4) ผู้ประเมิน ได้แก่ อาจารย์ นักศึกษา และ1.5) ผู้รับการประเมิน ได้แก่ นักศึกษา (2) กระบวนการประเมิน ประกอบด้วย 2.1) การส่งเสริมความเข้าใจเป้าหมายการเรียนรู้และเกณฑ์ประเมิน 2.2) การออกแบบห้องเรียนการใช้คำถาม การอภิปรายชิ้นงาน 2.3) การให้ข้อมูลย้อนกลับ 2.4) การประเมินตนเอง และ 2.5) การประเมินโดยเพื่อน (3) ผลผลิตคือ พฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทร ประกอบด้วย 5 ด้าน 3.1) การดูแลผู้ป่วยโดยยึดหลักความปลอดภัย 3.2) การช่วยเหลือเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคลอย่างองค์รวม 3.3) การเห็นอกเห็นใจ เต็มใจ ให้ความช่วยเหลือประดุจญาติ 3.4) การเคารพในบุคคล และ 3.5) การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและ (4) การให้ข้อมูลย้อนกลับ ระบบส่งเสริมให้นักศึกษามีพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรด้านการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ผลการประเมินคุณภาพของระบบพบว่า มีความถูกต้อง ความเป็นไปได้ความเป็นประโยชน์ในระดับมาก มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ประเมินมากที่สุด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30