ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการกำเริบของโรคในผู้ป่วยเอสแอลอี

ผู้แต่ง

  • ขวัญฤทัย พันธุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • จันทร์ฉาย มณีวงษ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • เรวดี โพธิ์รัง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ปัจจัย, ความสัมพันธ์, การกำเริบของโรคเอสแอลอี

บทคัดย่อ

การกำเริบของโรคเอสแอลอีจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและอัตราการตายที่สูงขึ้น งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการกำเริบของโรคเอสแอลอี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเอสแอลอี เพศหญิง จำนวน 145 คน เลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม 3 ส่วน คือ 1. แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2. แบบวัดการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเอสแอลอี (α = .84) และ 3. แบบประเมินการกำเริบของโรคเอสแอลอี (α = .87) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยเอสแอลอีมีการกำเริบของโรคอยู่ในระดับปานกลาง (M = 13.66, SD = 4.27) และพบว่ามีเพียงระยะเวลารวมตั้งแต่เป็นโรคเอสแอลอีถึงปัจจุบันเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการกำเริบของโรคเอสแอลอีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r (145) = 0.201, p < .05) ดังนั้นพยาบาลควรวางแผนการพยาบาลส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเอสแอลอีปฏิบัติตัวในด้านการทาครีมกันแดด การออกกำลังกาย และการไม่รับประทานอาหารไขมันสูงเพื่อป้องกันการกำเริบของโรคในผู้ป่วยเอสแอลอี ไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ความพิการ และการเสียชีวิตได้

References

กัญญา จันทร์ใจ, ธิราภรณ์ จันทร์ดา, และอรสา พันธ์ภักดี. (2556). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสม่ำเสมอในการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคเอสแอลอี. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 19(1), 60-72.

ขันทอง เขียวงาม, สรันยา เฮงพระพรหม, วิฑูรย์ โลหสุนทร, และยิ่งยศ อวิหิงสานนท์. (2557). ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่ออาการกำเริบของโรคในผู้ป่วยโรคไตอักเสบลูปัส. วชิรเวชสาร, 58(2), 39-49.

งานเวชระเบียน โรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราช. (2562). เวชระเบียนผู้ป่วย. สืบค้นจาก https://www.yrh.moph.go.th

นิตยาวรรณ กุลณาวรรณ. (2556). โรคเอสแอลอี Systemic lupus erythematosus (SLE). วงการยา, 5, 13-18.

พิพัฒน์ งามมีศรี, วิยะนุช โลมะรัตน์, ภาวินี เหลืองรุ่งโรจน์, วิริยา เชื้อลี, ประพิศ เทพอารักษ์กุล, และปริญญา ชำนาญ. (2562). ปัจจัยทำนายภาวะการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคลูปัสในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์จังหวัดอุบลราชธานี. สรรพสิทธิเวชสาร, 40(1-3), 29-49.

พูลสุข ศิริพูล, สุพัฒนา ศักดิษฐานนท์, และวิยะดา ทิพม่อม. (2561). การจัดการตนเองของวัยรุ่นโรคเอสแอลอี. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 41(2), 11-19.

โรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์. (2556). คู่มือโรค SLE. กรุงเทพฯ: บริษัท เฮลธ์ เวิร์ค จำกัด.

วันรัชดา คัชมาตย์. (2563). โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE). สืบค้นจาก https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/admin/article_files/1434_1.pdf

สุพัฒนา ศักดิษฐานนท์, ยุภาวดี ทาสะโก, และพูลสุข ศิริพูล. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างอาการปวด อาการเครียด และอาการอ่อนล้ากับคุณภาพชีวิตของวัยรุ่นโรคเอสแอลอี. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย, 7(1), 104-117.

สุมาลี นิมมานนิตย์. (2560). Systemic Lupus Erythematosus SLE, เอส แอล อี. Retrieved from https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=326

อาทิตยา ไทพาณิชย์. (2551). ศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการกําเริบของโรคซิสเทมิก ลูปัส อิริทีมาโตซัส. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ, 3(2), 237-244.

Andrea, F., & Michelle, P. (2019). Systemic Lupus Erythematosus: Diagnosis and Clinical Management. Journal of Autoimmunity, 96, 1-13. doi:10.1016/j.jaut.2018.11.001

Danchenko, N., Satia, J. A., & Anthony, M. S. (2006). "Epidemiology of systemic lupus erythematosus: A comparison of worldwide disease burden". Lupus. 15(5), 308-318. doi:10.1191/0961203306lu2305xx. PMID 16761508

Fors, N. C. E., & Izmirly, P. M. (2016). Mortality in Systemic Lupus Erythematosus: An updated review. Current Rheumatology Reports, 18, 21.

Hanrop, S., Puwarawuttipanit, W., Sriyuktasuth, A., & Sritippayawan, S. (2015). Symptom experiences, management strategies, and functional status in lupus nephritis patients. Journal of Nursing Science, 33(4), 65-75.

Hodkinson, B., Okpechi, I., & Botha-Scheepers, S. A. (2016). Chronic large joint synovitis in systemic lupus erythematosus: Finding what you look for. Journal of Rheumatic Diseases and Treatment, 2(3), 1-3.

Jakes, R. W., Bae, S. C., Louthrenoo, W., Mok, C. C., Navarra, S. V., & Kwan, N. (2012). Systematic review of the epidemiology of systemic lupus erythematosus in the Asia-Pacific region: prevalence, incidence, clinical features, and mortality. Arthritis Care and Research, 64(2), 159-68. doi: 10.1002/acr.20683

Klack, K., Bonfa, E., & Ferreira Borba Neto, E. (2012). Diet and nutritional aspects in systemic lupus erythematosus. Revista Brasileira de Reumotologia (English Edition), 52(3), 384-408. Retrieved from https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/22641593/

Kunyakham, W., Foocharoen, C., Mahakkanukrauh, A., Suwannaroj, S., & Nanagara, R. (2012). Prevalence and risk factor for symptomatic avascular necrosis development in Thai systemic lupus erythematosus patients. Asian Pacific Journal of Allergy and Immunology. 30(2), 152-7.

Lee , Y. H., Choi , S. J., Ji, J. D., & Song, G. G. (2016). Overall and cause-specific mortality in systemic lupus erythematosus: an updated meta-analysis. Lupus. 25(7), 727-34. doi: 10.1177/0961203315627202

Levy, M. D., & Kamphuis, S. (2012). Systemic lupus erythematosus in children and adolescents. Pediatric Clinics of North America, 59(2), 345 - 364.

Ludlam, K. (2020). Lupus Photosensitivity and UV Light. Retrieved from https://www.webmd.com/lupus/lupus-photosensitivity-uv

Osiri, M., & Deesomchok, A. (2011). Overview of systemic lupus erytematosus. In S. Eiam-ong, A. Deesomchok (editors), Systemic Lupus Erythematosus (p. 1-16). Bangkok: Text and Journal Publication.

Paediatric Rheumatology European Society. (2016). โรคเอสแอลอีหรือลูปัส. Retrieved from https://www.printo.it/pediatric-rheumatology/TH/intro

Petri, M., Orbai, A. M., Alarcón, G. S., Gordon, C., Merrill, J. T., Fortin, P. R., . . . Magder, L. S. (2012). Derivation and validation of the Systemic Lupus International Collaborating Clinics classification criteria for systemic lupus erythematosus. Arthritis Rheumatism. 64(8), 2677-86. doi: 10.1002/art.34473

Pichardo, G. (2020). Lupus. Retrieved from https://www.webmd.com/lupus/arthritis-lupus

Polit, D. F. (1999). Nursing Research: Principle and Method. Philadelphia: Lippincott.

Poole, J., Atanasoff, G., Pelsor, J. C., Sibbitt, W. L., & Brooks, W. M. (2007). Relationships between person and health factors and job characteristics in women with systemic lupus erythematosus (Electronic version). Work, 28, 95-100.

Rees, F., Doherty, M., Grainge, M. J., Lanyon, P., Davenport, G., & Zhang, W. (2016). Mortality in systemic lupus erythematosus in the United Kingdom 1999–2012. Rheumatology, 55(5), 854-860. doi: org/10.1093/rheumatology/kev424

Yue, Z., Li, C., Weilin, Q., & Bin, W. (2015). Application of the health belief model to improve the understanding of antihypertensive medication adherence among Chinese patients. Patient Education and Counseling, 98(5), 669-673. doi: 10.1016/j.pec.2015.02.007

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30