การดัดแปลงเครื่องมือวิจัยข้ามวัฒนธรรมและการตรวจสอบคุณสมบัติการวัดทางจิตวิทยา ของแบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเองสำหรับผู้สูงอายุหลังผ่าตัดกระดูกสะโพก
คำสำคัญ:
แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเอง, ผู้สูงอายุหลังผ่าตัดกระดูกสะโพก, การแปลเครื่องมือวิจัยข้ามวัฒนธรรม, การดัดแปลงเครื่องมือวิจัย, การตรวจสอบคุณสมบัติการวัดทางจิตวิทยาบทคัดย่อ
การรับรู้ความสามารถของตนเองเป็นสิ่งสำคัญในการจัดการอาการและทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้บรรลุตามเป้าหมาย อย่างไรก็ตามยังไม่พบเครื่องมือวิจัยที่มีความจำเพาะในผู้สูงอายุหลังผ่าตัดกระดูกสะโพก การศึกษานี้เป็นการดัดแปลงเครื่องมือวิจัยข้ามวัฒนธรรมและตรวจสอบคุณสมบัติการวัดทางจิตวิทยา เพื่อดัดแปลงและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัยที่เหมาะสมในการประเมินการรับรู้ความสามารถของตนเองหลังผ่าตัดกระดูกสะโพกในผู้สูงอายุ ประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ 116 คน มีขั้นตอนคือ 1) ขออนุญาตแปลและดัดแปลงแบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเองในการจัดการโรคเรื้อรัง 2) แปลเครื่องมือวิจัยต้นฉบับ ตรวจสอบการแปล และตรวจสอบความเทียบเท่าทางวัฒนธรรม 3) ดัดแปลงเครื่องมือวิจัย 4) ตรวจความตรงเชิงเนื้อหา 5) ทดลองใช้
6) ตรวจความตรงเชิงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและเชิงยืนยัน และ 7) ทดสอบความเชื่อมั่นด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาก ผลการศึกษาพบว่า แบบวัดฉบับดัดแปลงชื่อว่า แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเองหลังผ่าตัดกระดูกสะโพก มี 6 ข้อ เป็นแบบมาตรประมาณค่า 10 ระดับ มีความเทียบเท่ากันเชิงวัฒนธรรม มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับ = .97 มีความตรงเชิงโครงสร้างโดยผลการวิเคราะห์พบว่า องค์ประกอบเชิงสำรวจ มี 2 องค์ประกอบ คือ การจัดการอาการและอารมณ์ และกิจกรรมทางกาย ซึ่งสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนสะสมได้ร้อยละ 98.65 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันได้โมเดลองค์ประกอบสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดี ซึ่งมีค่าสถิติไคสแควร์ = 14.86 ค่าไคสแควร์สัมพัทธ์ = 1.86 องศาอิสระ = 8 (p = .53) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน = .98 ค่าเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อน = .045 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบากทั้งฉบับ = .96 ดังนั้นบุคลากรด้านสุขภาพสามารถนำแบบวัดนี้ไปใช้ในผู้ป่วยแผนกกระดูกและข้อได้
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2565). สถิติผู้สูงอายุ สัญชาติไทยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน มกราคม 2565. สืบค้นจาก https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/1159
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2564). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ด้วย AMOS. กรุงเทพฯ: สามลดา.
โรงพยาบาลพุทธชินราช. (2563). รายงานผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ประจำปี. พิษณุโลก: โรงพยาบาลพุทธชินราช.
ปริยากร วังศรี. (2559). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและพฤติกรรมในการควบคุมภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยคริสเตียน, นครปฐม.
สุจิตรา เทียนสวัสดิ์. (2562). การพัฒนาเครื่องมือวิจัยสำหรับการวิจัยทางการพยาบาล. เชียงใหม่: บริษัท สยามพิมพ์นานา จำกัด.
ศิริพร ชุดเจือจีน, ประไพพิศ สิงหเสม, และสุดารัตน์ วุฒิศักดิ์ไพศาล. (2560). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเสริมสร้างทักษะชีวิตต่อพฤติกรรมสุขภาพทางเพศของนักเรียน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลภาคและสาธารณสุขภาคใต้, 4(2), 268-280.
อาศิส อุนนะนันทน์. (2562). ตำรากระดูกข้อสะโพกหักในผู้สูงอายุ. กรุงเทพ: บริษัท พี เอ ลีฟวิ่งจำกัด.
American college of surgeons. (2019). PHTLS prehospital trauma life support (9th ed.). Burlington: Jones & Bartlett Learning.
Bandura, A. (1982). Self-efficacy mechanism in human agency. American Psychologist, 37(2), 122-147.
Bujang, M. A., Omar, E. D., & Baharum, N. K. (2018). A review of sample size determination for Cronbach’s alpha test: A simple guide for researchers. Malaysian Journal of Medical Sciences, 25(6), 85–99.
Borgiani, E., Figge, C., Kruck, B., Willie, B., Duda, G. N., & Checa, S. (2019). Age-related changes in the mechanical regulation of bone healing are explained by altered cellular mechanoresponse. Journal of Bone and Mineral Research. 34(10), 1923–1937.
Clark, D., Nakamura, M., Miclau, T., & Marcucio, R. (2019). Effect of aging on fracture healing. Current Osteoporosis Reports, 15(6), 601–608.
DeVellis, R. F. (2012). Scale development theory and applications (3rd ed). Thousand Oaks: Sage Publications.
Enge Júnior, D. J., Castro, A. D. A., Fonseca, E. K. U. N., Baptista, E., Padial, M. B., & Rosemberg, L. A. (2020). Main complications of hip arthroplasty: A pictorial essay. Radiologia Brasileira, 53(1), 56–62.
Guillemin, F., Bombardier, C., & Beaton, D. (1993). Cross-cultural adaptation of health-related quality of life measures: Literature review and proposed guidelines. Journal of Clinical Epidemiology, 46(12), 1417-1432.
Hair, Jr., J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2019). Multivariate Data Analysis (8th ed.). Andover, Hampshire, UK: Cengage Learning.
Lorig, K. R., & Holman, H. R. (2003). Self-management education: History, definition, outcomes, and mechanism. Annals of Behavioral Medicine, 26(1), 1-7.
Lorig, K. R., Sobel, D. S., Ritter, P. L., Laurent, D., & Hobbs, M. (2001). Effect of a self-management program on patients with chronic disease. Effective Clinical Practice, 4(6), 256-262.
Mohamad, M. M., Sulaiman, N. L., Sern, L. C., & Salleh, K. M. (2015). Measurement of the validity and reliability of research instruments. Procedia-Social and Behavioral Science, 204, 164-171.
Polit, D. F. & Beck, C. T. (2020). Nursing research: Generating and assessing evidence for nursing practice (11th ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.
Prompuk, B., Lertwatthanawilat, W., Wonghongkul, T., Sucamvang, K., & Bunmaprasert, T. (2018). Self-management among adults with chronic low back pain: A causal model. Pacific Rim International Journal of Nursing Research, 22(3), 223-236.
Stanford Patient Education Research Center. (2007). Chronic disease self-management program questionnaire code book. Palo Alto, CA: Stanford University.
Song, Y., (2009). The formation and test of hemodialysis self-management instrument (Unpublished master’s thesis). Kaohsiung Medical University, Kaohsiung.
Templeton, H. R. M., & Coates, V. E. (2001). Adaptation of an instrument to measure the informational needs of men with prostate cancer. Journal of Advanced Nursing, 35(3), 357-364.
World Health Organization (WHO). (2015). World report on aging and health. Retrieved from https://apps.who.int/iris/handle/10665/186463
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว