จริยธรรมการตีพิมพ์
บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของบรรณาธิการวารสาร
1. บรรณาธิการ มีหน้าที่พิจารณา ตรวจสอบ และคัดเลือกบทความ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร โดยพิจารณาให้เนื้อหาบทความสอดคล้องกับนโยบายของวารสาร
2. บรรณาธิการ มีการตรวจสอบความถูกต้องและคุณภาพของผลงานทางวิชาการก่อนการตีพิมพ์
3. บรรณาธิการ ต้องดำเนินงานวารสารให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของวารสาร ปรับปรุง และพัฒนาวารสารให้ได้มาตรฐาน
4. บรรณาธิการ ต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนและการมีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินบทความ และสมาชิก กองบรรณาธิการ ในการนำบทความวารสารไปใช้ประโยชน์ทางธุรกิจ หรือนำผลงานวิชาการมาเป็นของตนเอง
5. บรรณาธิการ ต้องใช้เหตุผลทางวิชาการเพื่อพิจารณาบทความโดยไม่มีอคติต่อบทความและผู้นิพนธ์ในด้านเชื้อชาติ เพศ ศาสนา วัฒนธรรม การเมือง และสังกัดของผู้นิพนธ์
6. บรรณาธิการ ต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่ปรากฏในผังการทำงานที่ทางวารสารกำหนด
7. บรรณาธิการ ต้องไม่ตัดทอนหรือแก้ไขเนื้อหาในบทความ ผลงานวิชาการ รวมถึงผลการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ
บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์
1. ผู้นิพนธ์ ต้องมีความซื่อสัตย์ มีคุณธรรม และมีจรรยาบรรณในการดำเนินงานวิจัย และการเขียนรายงานผลการวิจัย
2. ผู้นิพนธ์ ต้องรับรองว่าผลงานที่เขียนขึ้นได้มาจากข้อเท็จจริงจากการศึกษา ไม่บิดเบือนข้อมูลและไม่มีข้อมูลที่เป็นเท็จ
3. ผู้นิพนธ์ ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่นที่ปรากฏอยู่ในงานของตน
4. ผู้นิพนธ์ ต้องไม่คัดลอกผลงานของบุคคลอื่น
5. ผู้นิพนธ์ ต้องมีความรับผิดชอบต่อผลงานของตน และรับรองว่าผลงานไม่เคยถูกตีพิมพ์หรือกำลังอยู่ในระหว่างขั้นตอนการพิจารณาตีพิมพ์ที่ใด
6. ผู้นิพนธ์ ต้องระบุชื่อผู้เป็นเจ้าของผลงานร่วมทุกคน ระบุบทบาทหน้าที่และสัดส่วนของความรับผิดชอบอย่างชัดเจนในกรณีที่ไม่ได้เขียนคนเดียว
7. ผู้นิพนธ์ ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้
8. ในกรณีที่ผู้นิพนธ์ทำผิดข้อกำหนด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อ 2, 3, 4 และ 5 วารสารจะตัดสิทธิ์การตีพิมพ์เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 ปี และวารสารจะแจ้งหน่วยงานที่ผู้นิพนธ์สังกัดหรือผู้นิพนธ์แล้วแต่กรณี
บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ
1. ผู้ประเมินบทความ ต้องรักษาความลับของบทความที่ส่งมาเพื่อขอรับการประเมินแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง
2. ผู้ประเมินบทความ ต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับ ผู้นิพนธ์หรือเหตุผลอื่นๆ ที่ทำให้ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นอย่างอิสระได้ โดยผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้น
3. ผู้ประเมินบทความ ควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาจากคุณภาพของบทความเป็นสำคัญ ไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความ
4. หากผู้ประเมินบทความ พบว่า บทความที่ประเมินมีส่วนหนึ่งส่วนใดที่มีความเหมือนหรือความซ้ำซ้อนกับผลงานชิ้นอื่น ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบด้วย