ข้อมูลสำหรับผู้แต่ง

คำชี้แจงสำหรับผู้เขียนบทความ

          วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ยินดีรับบทความวิชาการด้านการแพทย์ การสาธารณสุข และวิทยาศาสตร์สุขภาพแขนงต่างๆ ที่เป็นประโยชน์น่าสนใจ โดยบทความที่ส่งมาจะต้องไม่เคยลงตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น สำหรับบทความที่มีการศึกษาในคน ควรได้รับการพิจารณารับรองการวิจัยแล้วจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน จากหน่วยงานนั้นๆ ด้วย

กำหนดการออกวารสาร ปีละ 3 ฉบับ ดังนี้

  • ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม – เมษายน
  • ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม
  • ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน – ธันวาคม

การเตรียมต้นฉบับ พิมพ์ตามหัวข้อดังนี้

  • Title Pages (ปกชื่อเรื่อง)
  • บทคัดย่อ, เรื่องย่อ
  • เนื้อเรื่อง
  • กิตติกรรมประกาศ
  • เอกสารอ้างอิง
  • ตาราง ภาพ และแผนภูมิ

1. Title Pages ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย

  • ชื่อเรื่อง (ไม่เกิน 40 ตัวอักษร)
  • ชื่อผู้นิพนธ์ทุกท่าน พร้อมทั้งคุณวุฒิ (สูงสุด)
  • สถานที่ทำงาน
  • ชื่อและที่อยู่ของผู้นิพนธ์ที่รับผิดชอบในการเตรียมต้นฉบับ
  • E-mail address ผู้นิพนธ์หรือผู้ประสานงานการเตรียมต้นฉบับ

2. บทคัดย่อ (Abstract) ประกอบด้วย

  • เรื่องย่อภาษาไทยไม่เกิน 300 คำ ภาษาอังกฤษไม่เกิน 250 คำ
  • การเตรียมบทคัดย่อ พิมพ์ตามหัวข้อดังนี้
    1.  1. Background
       2. Objective
       3. Method/Research design/Measurement/Statistics
       4. Results
       5. Conclusion
       6. Keywords

       : บทนำ
       : วัตถุประสงค์
       : วิธีการศึกษา วัดผลและวิเคราะห์ทางสถิติ Case report, retrospective, randomized trial Statistics
       : ผลการศึกษา
       : สรุป
       : คำสำคัญ ดัชนีเรื่อง

3. เนื้อเรื่อง ความยาวของเรื่องไม่ควรเกิน 3,000 คำ ใช้ฟอนต์ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 ไม่เกิน 12 หน้ารวมอ้างอิง

  • 3.1 บทความพิเศษ ผู้เขียนมักจะเป็นผู้มีประสบการณ์ทางใดทางหนึ่ง และใช้ประสบการณ์นี้เขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแง่หนึ่งของเรื่องนั้น
  • 3.2 นิพนธ์ต้นฉบับ ควรจะเขียนเป็นลำดับเป็นข้อๆ ได้แก่ บทคัดย่อ บทนำสั้นๆ (เหตุผลที่ทำการศึกษานี้ รวมทั้งวัตถุประสงค์) วัสดุ (หรือผู้ป่วย) วิธีการ ผลวิจารณ์ และผลสรุปโดยทั่วไปความยาวของเรื่องไม่ควรเกิน 3,000 คำ (ไม่เกิน 12 หน้า)
  • 3.3 รายงานผู้ป่วย ควรประกอบด้วย บทคัดย่อ รายงานผู้ป่วย บทวิจารณ์ และผลสรุปข้อคิดเห็นสรุป รายงานผู้ป่วยอาจเขียนเป็น 2 แบบ คือ รายงานโดยละเอียดหรือรายงานอย่างสั้น เพื่อเสนอข้อคิดเห็นบางประการที่น่าสนใจ และนำไปใช้ประโยชน์ มีการแสดงออกทางคลินิกหรือการ ตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มพิเศษที่ช่วยการวินิจฉัยหรือการรักษา
  • 3.4 สิ่งประดิษฐ์ ต้นฉบับชนิดนี้เน้นรายละเอียดของส่วนประกอบและวิธีทำเครื่องมือนั้นๆ และกล่าวถึงข้อดี ข้อเสียของการใช้เครื่องมือ แต่ไม่จำเป็นต้องมีการวิจัยสนับสนุนอย่างสมบูรณ์เหมือนกับนิพนธ์ต้นฉบับ “สิ่งประดิษฐ์” มีดังนี้ บทคัดย่อ บทนำ รวมทั้งวัตถุประสงค์ วัสดุ และวิธีการ วิจารณ์
  • 3.5 บทความฟื้นฟูวิชาการ ควรเป็นบทความที่ให้ความรู้ใหม่ รวบรวมสิ่งตรวจพบใหม่หรือเรื่องที่น่าสนใจที่ผู้อ่านนำไปประยุกต์ได้ ประกอบด้วย บทคัดย่อ บทนำ ความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่นำมาเขียนบทวิจารณ์และเอกสารอ้างอิงที่ค่อนข้างทันสมัย

 

4. กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements) อาจมีหรือไม่ก็ได้

 

5. เอกสารอ้างอิง (References)

          ควรเป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติหรือวารสารของไทยที่อยู่ในระบบศูนย์อ้างอิงดัชนีวารสารไทย (Thaijournal citation index, TCI) การอ้างอิงเอกสารใช้ระบบแวนคูเวอร์ (Vancuver style) โดยใส่ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวยก (superscript) ด้านหลังข้อความหรือหลังชื่อบุคคลเจ้าของข้อความที่อ้างอิง โดยใช้หมายเลข 1 สำหรับเอกสารอ้างอิงอันดับแรกและเรียงต่อไปตามลำดับถ้าต้องการอ้างอิงซ้ำให้ใช้หมายเลขเดิม ห้ามใช้คำย่อในเอกสารอ้างอิง

          ชื่อวารสารที่อ้างอิง ให้ใช้ชื่อย่อตามรูปแบบของ U.S National Library of Medicine ที่ตีพิมพ์ใน Index Medicus ทุกปี หรือในเว็บไซต์ http://www.nlm.nih.gov/tsd/serials.liji.html การเขียนเอกสารอ้างอิงในวารสารวิชาการมีหลักเกณฑ์ดังนี้

  • 5.1 วารสารวิชาการ
    1. ลำดับที่. ชื่อผู้นิพนธ์. ชื่อเรื่อง. ชื่อวารสาร. ปีที่พิมพ์ : ปีที่ : หน้าแรก-หน้าสุดท้าย.
      วารสารภาษาไทย ชื่อผู้นิพนธ์ ให้ใช้ชื่อเต็มทั้งชื่อและสกุล ชื่อวารสารเป็นชื่อเต็ม ปีที่พิมพ์เป็นปีพุทธศักราช วารสารภาษาอังกฤษชื่อสกุลก่อน ตามด้วยตัวอักษรตัวหน้าตัวเดียวของชื่อตัวและชื่อรองถ้ามีผู้นิพนธ์มากกว่า 6 คน ให้ใส่ชื่อเพียงหกคนแรก (ในระยะแรกถ้าผู้นิพนธ์บทความตรวจหารายชื่อของผู้นิพนธ์เอกสารอ้างอิงไม่ครบ 6 ชื่อ ขอแจ้งบรรณาธิการทราบด้วย) แล้วตามด้วย et al. (วารสารอังกฤษ) หรือ และคณะ (วารสารภาษาไทย) ชื่อวารสารใช้ชื่อย่อตามแบบของ Index Medicus หรือตามแบบที่ใช้ในวารสารนั้นๆ เลขหน้าสุดท้ายใส่เฉพาะเลยท้ายตามตัวอย่าง
      1) วิทยา สวัสดิวุฒิพงศ์, พัชรี เงินตรา, ปรานี มหาศักดิ์พันธ์, ฉวีวรรณ เชาวกีรติพงศ์, ยุวดี ตาทิพย์. การสำรวจความครอบคลุมและการใช้บริการตรวจหามะเร็งปากมดลูกในสตรีอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ปี 2540. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2541;7:20-6.
      2) Parkin DM., Clayton D, Black RJ, Masuyer E, Friendl HP, et al. Childhood leukemia in Europe after Chernobly: 5 year follow-up. Br J Cancer 1996;73:1006-12.
  • 5.2 หนังสือ ตำรา หรือรายงาน
    1. 5.2.1 หนังสือหรือตำราผู้นิพนธ์เขียนทั้งเล่ม
      ลำดับที่. ชื่อผู้นิพนธ์. ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์. เมืองที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์; ปีที่พิมพ์.
      - หนังสือแต่งโดยผู้นิพนธ์
      1) ธงชัย สันติวงษ์. องค์กรและผู้บริหาร ฉบับแก้ไขปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช; 2535.
      2) Ringven MK, Bond D. Gerontology and leadership skills for nurse. Albay (NY) : Delmar Publishers : 1996.
      - หนังสือมีบรรณาธิการ
      1)  วิชาญ  วิทยาศัย, ประคอง วิทยาศัย, บรรณาธิการ.  เวชปฏิบัติผู้ป่วยติดเชื้อเอดส์.  กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิเด็ก ; 2535.
      2)  Norman IJ, Redfern SJ, editors.  Mental Health care for eldple.  New york : Churchill Livingstone ; 1996.
      5.2.2  บทหนึ่งในหนังสือหรือตำรา
      ลำดับที่.  ชื่อผู้นิพนธ์.  ชื่อเรื่อง.  ใน:ชื่อบรรณาธิการ.  ชื่อหนังสือ.  ครั้งที่พิมพ์.  เมืองที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์ ; ปีที่พิมพ์. หน้า.
      1) เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์.  การให้สารน้ำและเกลือแร่.  ใน : มนตรี ตู้จินดา, วินัย สุวัตถีอรุณ, ประอร ชวลิตธำรง, พิภพ จิรภิญโญ, บรรณาธิการ.  กุมารเวชศาสตร์.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพมหานคร : เรือนแก้วการพิมพ์ ; 2540. หน้า 424-7.
      2) Phillip SG, Whisnant JP. Hypertension and stroke and stroke.  In : Laragh JH., Banner BM., editors.  Hypertension : pathophysiology Diagnosis and management.  2nd.ed.  New York : Raven Press ;  p.465-78.
  • 5.3 สื่ออิเล็กทรอนิกส์
    1. 5.3.1  บทความวิชาการ
      ลำดับที่.  ชื่อผู้นิพนธ์.  ชื่อเรื่อง.  ชื่อวารสาร [ชนิดของสื่อ]  ปีที่พิมพ์ [ วัน เดือน ปีที่ค้นข้อมูล]; ปีที่ (เล่มที่) : [จำนวนภาพ].  แหล่งข้อมูล
      1) Morse SS.  Factors in the emergence of infectious diseases.  Emerge Infect Dis [serial online] 1995 Jan-Mar [cited 1996 Jun 5];1(1):[24 screens]. Available from : URL:https://www.cdc.gov/ncidod/EID/eid.html.
      2) เฉลียว สัตตมัย. โปรแกรมเตรียมคลอดโดยใช้แนวคิดจิตประภัสสรตั้งแต่นอนอยู่ในครรภ์ ต่อผลลัพธ์การคลอดในผู้คลอดครรภ์แรก.  วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ [วารสารออนไลน์] ม.ค. – เม.ย.2554 [สืบค้น 31 ส.ค. 2554] ; 26(1):[16 หน้า]. เข้าถึงได้จาก :URL:https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/131200
      5.3.2 รายงานการวิจัยในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
      1) CDI, clinical dermatology illustrated [monograph on CD-ROM].  Reeves JRT, Maibach H.  CMEA Multimedia Group.  Producers.  2nd.rd.  Version 2.0.  Sad Diego:CMEA;1995.

6. ตาราง ภาพ และแผนภูมิ

  • 6.1  ตาราง
    1. 1. แยกแต่ละตารางออกจากเนื้อหาบทความ ตารางละหนึ่งหน้ากระดาษ เนื้อหาไม่ควรซ้ำซ้อนกับข้อมูลในเนื้อหาบรรยายและไม่ควรเสนอตารางเป็นภาพถ่าย
      2. ชื่อตาราง ให้เรียงเลขที่ตามลำดับเนื้อหาของบทความ มีคำอธิบายสั้นๆ แต่ได้สาระครบถ้วนของเนื้อหาตาราง
      3. หัวคอลัมน์  เป็นตัวแทนอธิบายข้อมูลในคอลัมน์ ควรจะสั้นๆ และอธิบายรายละเอียดในเชิงอรรถ (footnote) ใต้ตาราง
      4. แถว (rows)  เป็นข้อมูลที่สัมพันธ์กับคอลัมน์ หัวแถว (row headings) ใช้เป็นตัวเอียงจะทำให้เด่นชัด
      5. เชิงอรรถ  จะเป็นคำอธิบายรายละเอียดที่บรรจุในตารางได้ไม่หมด ไม่ควรใช้เลขกำกับเพราะอาจสับสนกับเลขกำกับของเอกสารอ้างอิง ให้ใช้เครื่องหมายตามลำดับดังนี้ *  † ‡  §  ¶  II
      6. ตารางควรมีความสมบูรณ์ โดยไม่ต้องหาความหมายเพิ่มเติมในบทความ ดังนั้นชื่อตารางควรสั้นได้ใจความ คอลัมน์เรียงลำดับความสำคัญ
      7. บทความหนึ่งเรื่องไม่เกิน 3-5 ตาราง หรือเนื้อหา 1,000 คำต่อ 1 ตาราง
  • 6.2 ภาพและแผนภูมิ ภาพและแผนภูมิจะสื่อความหมายได้ชัดเจน เน้นจุดสำคัญ และมีประสิทธิภาพ
    1. - ภาพหรือแผนภูมิต้องคมชัด เป็นภาพขาว-ดำ ภาพสีไม่ควรใช้
      - ขนาดโดยทั่วไปใช้ 5 x 7 นิ้ว ไม่ควรใหญ่เกิน 8 x 10 นิ้ว ไม่ตัดขอบ ไม่ติดกับกระดาษรอง ไม่เขียนรายละเอียดหลังรูปภาพ ไม่ม้วนรูปภาพ ควรทำเครื่องหมายเล็กๆ ไว้ที่ขอบรูปภาพและเขียนคำอธิบายไว้ต่างหาก

7. การส่งต้นฉบับ

  • 1. เอกสารที่ผู้เขียนต้องนำส่ง ประกอบด้วย
    1. - แบบฟอร์มการขอนำส่งบทความ/งานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในบทความ 1 ชุด
      - ใบรับรองการได้รับอนุมัติให้ทำการวิจัยจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนของหน่วยงานที่เป็นสถานที่ทำการวิจัย(กรณีบทความทำการศึกษาในคน)
  • 2. ส่งเอกสารดังกล่าวได้ด้วยตนเองหรือส่งทางไปรษณีย์ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/login
    1. กองบรรณาธิการวารสารการแพทย์
      โรงพยาบาลบุรีรัมย์
      10/1 ถนนหน้าสถานี ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 31000
      โทร. 044-615002 : 4705
      E-mail : nongnuchbr14@gmail.com
      หรือ Submission website:https://www.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/login

  • 3. การจัดส่งผลงานตีพิมพ์และค่าดำเนินการ
    1. กองบรรณาธิการจะส่งผลงานที่ต้องปรับปรุงแก้ไข ไปให้ผู้เขียนพิจารณาแก้ไขตามข้อเสนอแนะของบรรณาธิการ หากไม่ส่งผลงานกลับตามที่กำหนดจะไม่ได้รับการพิจารณาตีพิมพ์
      บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ จะได้รับการเผยแพร่ทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/index และฉบับตีพิมพ์สำหรับผู้นิพนธ์ 2 ฉบับ
      ทางวารสารคิดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ โดยจะเรียกเก็บก่อนส่งกระบวนการพิจารณากลั่นกรองบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5,000 บาท ทั้งนี้หากบทความนั้นไม่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิทางบทความจะส่งเงินค่าดำเนินการกลับคืน 2,000 บาท
      โดยกองบรรณาธิการกำหนดให้โอนเงินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ผ่านทางบัญชีธนาคารตามระบุเท่านั้น
      บัญชีธนาคารกรุงไทย เลขที่บัญชี 284-0-46384-9
      ชื่อบัญชี วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์
      กระทำการโดย นางสาวพัชรี/นายเชาวน์วัศ/นางนงนุช
  • 4. นโยบายการพิจารณากลั่นกรองบทความ
    1. 1. บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ในสาขาที่เกี่ยวข้องจำนวนอย่างน้อย 2 ท่าน ต่อบทความ โดยวิธีปกปิด (double – blind)
      2. บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อนและต้องไม่อยู่ในกระบวนการพิจารณาของวารสารหรือวารสารอื่นใด
      3. กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
      4. เมื่อกองบรรณาธิการตอบรับตีพิมพ์บทความ บทความจะส่งไปที่โรงพิมพ์เพื่อจัดรูปแบบเตรียมพร้อมสำหรับการตีพิมพ์ และส่งกลับไปให้ผู้นิพนธ์ตรวจสอบอีกครั้ง การพิสูจน์อักษรครั้งสุดท้ายเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เอง กองบรรณาธิการไม่มีนโยบายการปรับแก้บทความหลังจากได้ตีพิมพ์บทความแล้ว