ผลการจัดบริการผู้ป่วยเบาหวานเครือข่ายบริการสุขภาพหนองหงส์จังหวัดบุรีรัมย์ 2559
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: โรคเบาหวาน เกิดจากความผิดปกติของการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินจากตับอ่อน ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ อัตราความชุกของโรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดปัญหาทางสาธารณสุขมากมาย ทั้งปัญหา การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ เครือข่าย บริการสุขภาพหนองหงส์ ได้ให้บริการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานตามเกณฑ์ มาตรฐานของหน่วยบริการในเครือข่ายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มาตั้งแต่ปี 2556 รวมระยะเวลา 3 ปี ผู้วิจัยในฐานะผู้บริหารและแพทย์ผู้ปฏิบัติงาน ในเครือข่ายบริการสุขภาพหนองหงส์ จึงสนใจที่จะศึกษาผลการรักษารวมทั้ง พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการ วางแผนดำเนินการ พัฒนาระบบบริการผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในเครือข่าย บริการสุขภาพหนองหงส์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลหนองหงส์ เปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่รักษาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตอำเภอหนองหงส์
สถานที่ทำการศึกษา: โรงพยาบาลหนองหงส์ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตอำเภอ หนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์
รูปแบบการศึกษา: การศึกษาวิจัยภาคตัดขวาง (cross-sectional study)
วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาล และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ระหว่าง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558-30 กันยายน พ.ศ.2559 จำนวน 1,779 รายจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และศึกษาพฤติกรรมการดูแล ผลการจัดบริการผู้ป่วยเบาหวานเครือข่ายบริการสุขภาพหนองหงส์จังหวัดบุรีรัมย์ ปี 2559 Diabetic patient’s treatment at Nonghong hospital health service network Buriram 2016 ตนเองจากแบบสอบถามผู้ป่วย จำนวน 350 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน independent t-test เปรียบเทียบผลการรักษาผู้ป่วยรับบริการที่โรงพยาบาลหนองหงส์และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ด้วยสถิติ Chi-square test
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 61-70ปี ส่วนใหญ่เป็นโรคเบาหวานประเภทที่2ระยะเวลาการเป็นเบาหวานมากกว่า 10ปีร้อยละ45.4 ไม่สูบบุหรี่ร้อยละ 97.2 มีค่าดัชนีมวลกายปกติ ร้อยละ 49.0 ค่าเฉลี่ยของระดับ FBS [\geq] 180 mg/dl ร้อยละ 37.5, HbAlc [\geq] 8 ร้อยละ 67.4, SBP<140 mmHg ร้อยละ 73.0, DBP < 90 mmHg ร้อยละ 74.2, Cholesterol<200 mg/dl ร้อยละ 56.5, triglyceride 150-499 mg/dl ร้อยละ 53.0, LDL [\geq] 100 mg/dl ร้อยละ 63.8 และพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางไม่แตกต่างกันระหว่างผู้ป่วยที่รับการ รักษาในโรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เมื่อเปรียบเทียบ ผลการรักษาพบว่าผู้ป่วยที่รับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมี ภาวะแทรกซ้อนทางตา ภาวะแทรกซ้อนทางไต และมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นแผลที่เท้า มากกว่าผู้ป่วยที่ตรวจรักษาในโรงพยาบาลหนองหงส์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนภาวะเสี่ยงโรคหลอดเลือดและหัวใจไม่แตกต่างกัน คือ อยู่ในระดับความเสี่ยงต่ำ ร้อยละ 78.5
สรุป: การรักษาผู้ป่วยเบาหวานในคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลหนองหงส์และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้ผลการรักษาที่แตกต่างกันในด้านภาวะ แทรกซ้อนทางตา ภาวะแทรกซ้อนทางไต และภาวะแทรกซ้อนทางเท้า ส่วน ภาวะแทรกซ้อนทางระบบ หัวใจและหลอดเลือดไม่ความแตกต่างกัน ดังนั้น จึงควรทบทวนผลการดำเนินงานและนำมาใช้ในการวางแผนพัฒนาการจัดการ และกระบวนการดำเนินงานขององค์กรให้มีประสิทธิภาพก่อให้เกิดการจัดการ ปรับปรุงและเพิ่มขีดความสามารถของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ
Article Details
References
2. เนติมา คูนีย์. การทบทวนวรรณกรรม: สถานการณ์ปัจจุบันและรูปแบบการบริการด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. นนทบุรี : อาร์ต ควอสิไฟท์; 2557.
3. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวช ปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน ปี 2557. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์; 2557.
4. วิทยา ศรีดามา. การดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2557.
5. Yamanae T. Statistics: an introductory analysis. London : John Weather Hill Inc.; 1967.
6. วินัย ปะสิ่งชอบ. การรักษาผู้ป่วยเบาหวานเครือข่ายบริการสุขภาพ โรงพยาบาลมาบตาพุด จังหวัดระยอง. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2558:22(1):21-33.
7. มาริสา คงทวี. พฤติกรรมการดูแลตนเองของ ผู้ป่วยโรคเบาหวานโรงพยาบาลบางโพ กรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญา วิทยาศาสตร์บัณฑิต]. ภาควิชาสถิติประยุกต์. บัณฑิตวิทยาลัย; กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา; 2555.
8. สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพขุมชน. คู่มือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล: การจัดการเบาหวานแบบบูรณาการ. นนทบุรี. สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน; 2552
9. American Diabetes Association. Standards of medical care in diabetes 2016. Diabetes Cares. 2016;39 (Suppl. 1):S60-S71.
10. ฤทธิรงค์ บูรพันธ์, นิรมล เมืองโสม. ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2556:6(3):102-9.
11. นูร์มา แวบือซา. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะสุขภาพกับการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานในอำเภอปะนาแระ จังหวัดปัตตานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษา ศาสตร์มหาบัณฑิต]. ภาควิชาสร้างเสริมสุขภาพ, บัณฑิตวิทยาลัย; สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่; 2551.
12. ยงยศ ธรรมวุฒิ, สุวัฒน์ กิตติดิลกกุล, สมพร เนติรัฐกร, อัจฉรา เนตรคิริ. การประเมินผลการส่งต่อผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังไปรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลประเทศไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2558:24(3).449-67.
13. ศุภวรินทร์ หันกิตติกุล. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุจังหวัดลำปาง [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์ มหาบัณฑิต]. ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; นครปฐม:มหาวิทยาลัยมหิดล; 2549.
14. สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ และคณะ. แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2555.
15. ประภาพรรณ สิทธิเวช. การประเมินผลการ รักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดกระบี่. กระบี่ : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกระบี่; 2556.
16. อารีย์ นิสภนันต์. การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานระหว่างการรับบริการที่คลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลสตึกและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิคม. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2556;28:1:43-52.