การพัฒนารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์

Main Article Content

พรศิริ เสนธิริ
สุดใจ ศรีสงค์
รัศมีแข พรหมประกาย
เพียงเพ็ญ สร้อยสุวรรณ
ขวัญฤดี โกพลรัตน์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์เป็นภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรมที่ส่งผลกระทบรุนแรงทั้งต่อมารดาและทารกในครรภ์ เป็นสาเหตุการตายสำคัญ ของมารดารองจากตกเลือดหลังคลอดและติดเชื้อโดยทำให้หญิงตั้งครรภ์เกิด อาการชัก อาการของโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันและกลุ่มอาการ HELLP ในขณะที่ทารกอาจเกิดภาวะเจริญเติบโตช้าในครรภ์ คลอดก่อนกำหนด
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research) ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์การดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ ขันตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ ขั้นตอนที่ 3 ประเมินผล โดยประเมิน ประสิทธิผลการนำรูปแบบที่พัฒนาไปใช้ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ที่มี ภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ จำนวน 30 คน ทีมสหสาขาวิชาชีพ จำนวน 35 คน ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2559-เมษายน 2560 วิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test ข้อมูลเชิง คุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษา: พบว่ารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างการตั้งครรภ์ ประกอบด้วย 1) การให้การดูแลหญิงตั้งครรภ์แบบสหสาขาวิชาชีพ 2)การจัดระบบบริการพยาบาลโดยใช้ผู้จัดการรายกรณี 3) รูปแบบการให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์โดยใช้แนวคิดการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเอง และ 4) การติดตามการดูแลต่อเนื่อง หลังการใช้รูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีความดันโลหิตสูงที่พัฒนาขึ้น พบว่า หญิงตั้งครรภ์มีค่าเฉลี่ย คะแนนความสามารถในการดูแลตนเองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตหลังติดตามสัปดาห์ที่ 4 และ 8 ลดลงอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001)
สรุป: รูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ที่ เน้นการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวช้องทั้งหมดเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จและนำไปสู่การดูแลอย่างมีคุณภาพ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. World Health Organization. Maternal mortality. Fact sheet No. 348. 2010. Available from: https://www who int/mediacen-tre/factsheets/fs348/en/ [Last accessed on 2015 Nov 11], 2013.

2. Cunningham F, Leveno K, Bloom S, Spong CY, Dashe J. Williams Obstetrics, 24e : Mcgraw-hill; 2014.

3. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์, สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2558.

4. Lopez-Jaramillo p, Pradilla LP, Castillo VR, Lahera V. Socioeconomic pathology as a cause of regional differences in the prevalence of metabolic syndrome and pregnan­cy-induced hypertension. Revista Espanola de Cardiologia (English Edition). 2007;60(2):168-78.

5. Roberts JM, Balk JL, Bodnar LM, Belizan JM, Bergel E, Martinez A. Nutrient involvement in preeclampsia. The Journal of nutrition. 2003 May 1;133(5):1684S-92S.

6. Barton JR, Sibai BM. Prediction and prevention of recurrent preeclampsia. Obstetrics & Gynecology. 2008;112(2,Part 1):359-72.

7. งานเวชระเบียนและสถิติโรงพยาบาลนครพนม. รายงานสถิติปี 2556-2558. นครพนม: โรงพยาบาลนครพนม; 2559.

8. จรัสศรี ธีระกุลชัย. ผลการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อความสามารถในการดูแลตนเองและการเกิดความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ในหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยง[วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต]. คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2536.

9. ธนาภรณ์ เมธณีสดุดี. ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่มีต่อบริการสื่อวิดีทัศน์. ศึกษาเฉพาะกรณีวัดพระเชตุพนวิมลมังครารามราชวรวิหาร [วิทยานิพนธ์ปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. บัณฑิตวิทยาลัย; กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2543.

10. นวลตา โพธสว่าง, สดใจ ศรีสงค์, เพชราภรณ์ สุพร. การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2014;32(1):165-75.

11. เสาวลักษณ์ ค้าของ. ผลของการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อความสามารถในการดูแลตนเองชองหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2551.

12. พิริยา ทิวทอง. ผลชองโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการปฏิบัติตนที่สอดคล้องกับแผนการรักษาพยาบาลและความรุนแรงของโรคในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลคาสตรมหาบัณฑิต]. คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2552.