การพัฒนาระบบการพยาบาลในการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด

Main Article Content

พิกุล บัณฑิตพานิชชา
นงลักษณ์ พลแสน
สุภาวดี เหลืองขวัญ

บทคัดย่อ

บทนำ: การตกเลือดในระยะหลังคลอดเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่เป็นสาเหตุการ ตายของมารดาทั่วโลก และ 1 ใน 4 ของการตายมารดาหลังคลอดซึ่งเกิดจาก การตกเลือดหลังคลอดหลังจากระยะที่3 ของการคลอดสิ้นสุดลงและภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ในแต่ละปีพบว่าอัตราการตกเลือดหลังคลอดลดลง เรื่อยๆ แต่ยังคงเป็นปัญหาการตายที่สำคัญของมารดาหลังคลอดใน ประเทศไทย
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการพัฒนาระบบการพยาบาลในการป้องกันภาวะตกเลือด หลังคลอด
รูปแบบวิจัย: การศึกษานี้เป็นแบบ Action Research กลุ่มเป้าหมาย คือมารดาที่มาคลอด ที่โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2554-2556 เลือกแบบเจาะจง โดยได้จัด ประชุมทีมงานที่เกี่ยวข้อง หาสาเหตุของการตกเลือดหลังคลอด ทบทวน แนวทางปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับปรุงแนวทางปฏิบัติกำหนด รูปแบบบริการและทดลองใช้ระบบใหม่ พัฒนาเครือข่าย ประเมินผลการ พัฒนาระบบ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษา:  ปีพ.ศ. 2554-2556 พบว่า โรงพยาบาลบุรีรัมย์มีระบบการพยาบาลในการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดที่ชัดเจนและได้มาตรฐาน มีการสร้างนวัตกรรมถุงตวงเลือด มีเครือข่ายในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในการป้องกันการ ตกเลือดหลังคลอดในโรงพยาบาลชุมชนและในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโดยมีระบบการส่งต่อการดูแลที่ต่อเนื่อง และจากการศึกษาพบว่า อัตรา การตกเลือดหลังคลอด ร้อยละ 1.64, 1.32, 0.63 อัตราการเกิดภาวะช็อก จากการตกเลือดหลังคลอด ร้อยละ 0.25, 0.18, 0.18 ตามลำดับ ในปีพ.ศ. 2555 มีมารดาเสียชีวิตจากภาวะตกเลือด 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 14.10 และ อัตราการตัดมดลูกจากภาวะตกเลือดหลังคลอด ร้อยละ 0.20, 0.17, 0.09 ตามลำดับ
สรุป: การพัฒนาระบบการพยาบาลในการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดช่วยลด อัตราการตกเลือดและตัดมดลูกหลังคลอด สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด เกิดความร่วมมือในการดูแลและการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดในทีมสหสาขาของโรงพยาบาลบุรีรัมย์และใน ภาคีเครือข่าย

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Fullerton JT, Frick KD, Fogarty LA, Fishel JD, Vivio DM, Active manage­ment of third stage of labour saves facility costs in Guatemala and Zambia. J Health Popul Nutr 2006;24(4):540-551.

2. Mousa H, Alfievic z. Treatment for primary postpartum hemorrhage. Cochrane database of systematic reviews; 2007.

3. สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล และคณะ. การสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับมารดาและทารกแรกเกิดคลอด พ.ศ.2552-2554 [ออนไลน์]. [อ้างเมื่อ 1 ตุลาคม 2556]. Available from : WWW.cph.chula.ac.th

4. ตรีภพ เลิศบรรณพงษ์, บูรยา พัฒนจินดา, ภัทรวลัย ตลึงจิตร, จารุณี ลี้ธีระกุล, นำพร ลาภธนภัทร, รัชดา จิรประเสริฐวงศ์. ข้อเสนอแนะสำหรับการป้องกันและดูแลรักษาภาวะตกเลือดหลังคลอดปฐมภูมิ. กรุงเทพฯ : พี.เอ. ลีฟวิ่ง จำกัด; 2556.

5. ลัดดาวัลย์ ปลอดฤทธิ์ และคณะ. การพัฒนาแนวปฏิบัติการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในห้องคลอดโรงพยาบาลกระบี่. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2559;3(3):127-141.

6. พรปวีณ์ อธิธัญชัยพงศ์, บรรณาธิการ. คู่มือเวชปฏิบัติการคลอดมาตรฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2556.

7. World health organization. WHO recommendations for the prevention and treatment of postpartum haemorrhage. Italy : World health organization; 2012.

8. บานเย็น แสนเรียม. การพัฒนาแนวทางปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อ{เองกันการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดจากภาวะมดลูกหดรัดตัวไม่ดี (Uterine atony) สำหรับบุคลากรพยาบาลในแผนกห้องคลอดโรงพยาบาล ขอนแก่น. [การศึกษาค้นอิสระ]. ขอนแก่น : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.

9. Tunsiri G. Effects of Participatory Leaning on Development of Clinical Nursing Practice Guideline to Prevent Postpartum Hemorrhage in Maternal and Child Health Care Network in Sisaket Province. Journal of Nurses Association of Thailand North-Eastern Division 2013;31(4):115-120.

10. แสงเดือน วงศ์ใหญ่. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก โรงพยาบาลเชียงคำ จังหวัดพะเยา. [การศึกษาค้นอิสระ]. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2553.