การตั้งครรภ์นอกมดลูก ในโรงพยาบาลลำปลายมาศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: การตั้งครรภ์นอกมดลูกเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบในการตั้งครรภ์ไตรมาส แรก มีแนวโน้มสูงมากขึ้นเรื่อยๆ การตั้งครรภ์นอกมดลูกไม่มีอาการที่จำเพาะ เป็นเหตุให้วินิจฉัยล่าช้าหรือผิดพลาด
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ ปัจจัยเสี่ยง อาการและอาการแสดง การรักษา การเสียชีวิตและทุพพลภาพที่สัมพันธ์กับการตั้งครรภ์นอกมดลูก
สถานที่ศึกษา: โรงพยาบาลลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
รูปแบบการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลัง
วิธีการศึกษา: รวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยตั้งครรภ์นอกมดลูกทุกรายที่ได้ รับการผ่าตัดในโรงพยาบาลลำปลายมาศ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2553 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2558 วิเคราะห์และน่าเสนอข้อมูลเป็นค่าความถี่ และร้อยละ
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดรักษาการตั้งครรภ์นอกมดลูก จำนวนทั้งสิ้น 41 ราย คิดเป็นอุบัติการณ์การตั้งครรภ์นอกมดลูก 6.4/1,000 การคลอด ผู้ป่วยส่วน ใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 25-34 ปี (ร้อยละ 48.8) ปัจจัยเสี่ยงที่พบ คือ มีประวัติ เคยแท้ง (ร้อยละ 24.4) มีประวัติเคยตั้งครรภ์นอกมดลูก (ร้อยละ 9.8) มีประวัติทำหมัน (ร้อยละ 4.9) ประวัติผ่าตัดแก้หมัน (ร้อยละ 4.9) ประวัติ รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด (ร้อยละ 12.2) และประวัติฉีดยาคุมกำเนิด (ร้อยละ 2.4) อาการที่พบมากที่สุด คือ ปวดท้องน้อย (ร้อยละ 92.7) รองลงมา คือ ขาดประจำเดือน (ร้อยละ 75.6) และเลือดออกทางช่องคลอด (ร้อยละ 65.9) ตามลำดับ อาการแสดงที่พบมากที่สุดคือ กดเจ็บบริเวณ หน้าท้อง (ร้อยละ 87.8) กดเจ็บตำแหน่งปีกมดลูก (ร้อยละ 61.0) และเจ็บขณะโยกปากมดลูก (ร้อยละ 61.0) ตำแหน่งการตั้งครรภ์นอกมดลูก พบมาก ที่สุดที่ท่อนำไข่ส่วน ampulla (ร้อยละ 68.3) พบการตั้งครรภ์นอกมดลูกแตก 18 ราย (ร้อยละ 43.9) ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการผ่าตัด salpingectomy (ร้อยละ 92.7) ภาวะแทรกซ้อนที่พบ คือ ผู้ป่วยมีภาวะช็อกจากการเสียเลือด (ร้อยละ 12.2) และได้รับเลือด (ร้อยละ 31.7) ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต การวินิจฉัยการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้ตั้งแต่ต้นสามารถลดการเสียชีวิตและทุพพลภาพ
สรุป: การวินิจฉัยผิดพลาดพบได้บ่อย เฝ้าระวังการตั้งครรภ์นอกมดลูก ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่มีอาการปวดท้องน้อยแม้จะไม่มีเลือดออกทางช่องคลอด หรือขาดประจำเดือน
Article Details
References
2. Barnhart KT: Clinical practice. Ectopic pregnancy. N Engl J Med 2009;361:379-87.
3. ธีระ ทองสง, จตุพล ศรีสมบูรณ์, ธีระพร วุฒิยวนิช, ประภาพร สู่ประเสริฐ, สายพิณ พงษธา. ครรภ์นอกมดลูก. ใน: ธีระ ทองสง, บรรณาธิการ. นรีเวชวิทยาฉบับสอบบอร์ด. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : พีบีฟอเรนบุ๊คส์เซนเตอร์; 2551. หน้า 281-93.
4. Walker JJ. Ectopic pregnancy. Clin Obstet Gynecol 2007;50:89-90.
5. Shraddha SK, Anil SK. A clinical study of ectopic pregnancies in a tertiary care hospital of Mangalore, India. IJMHS. 2014;4:305-9.
6. ประเทือง เหลี่ยมพงศาพุทธิ. ระบาดวิทยาของผู้ป่วยตั้งครรภ์นอกมดลูกในโรงพยาบาลลำปาง. ลำปางเวชสาร 2553;1:20-6.
7. Rubin GL, Peterson HB, Dorfman SF, Layde PM, Mage JM, Ory HW. Ectopic pregnancy in the United States: 1970 through 1978. JAMA 1983;249:1725-9.
8. Lie, Zhao WH, Zhu Q, Cao SJ, Ping H, Xi X, et al. Risk factors for ectopic pregnancy: a multicenter case-control study. BMC Pregnancy Childbirth 2015;15:187-96.
9. Hoover KW, Tao G, Kent CK. Trends in the diagnosis and treatment of ectopic pregnancy in the United States. Obstet Gynecol 2010;115:495-502.
10. Kirk E, Papageorghiou AT, Condous G, Tan L, Bora S, Bourne T. The diagnostic effectiveness of an initial transvaginal scan in detecting ectopic pregnancy. Hum Reprod 2007;22:2824-8.