การพัฒนาระบบการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานในเครือข่ายโรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

สุรีย์ กรองทอง
นงลักษณ์ สุรศร

บทคัดย่อ

เหตุผลการวิจัย: โรคเบาหวานเป็นปัญหาที่สำคัญของทางสาธารณสุขในปัจจุบัน มีแนวโน้มของ การเกิดโรคเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และส่งผลกระทบต่อการทำหน้าที่ของอวัยวะ ต่างๆในร่างกาย การจัดระบบบริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดบริการให้ครอบคลุม การดูแลของสหสาขาวิชาชีพ รวมถึงการส่งต่อการดูแลต่อเนื่องในขุมซนเป็น สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษา มีความรู้ในการปรับเปลี่ยน พฤติกรรม สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และลด ภาวะแทรกซ้อนจากโรคลงได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี อัตราการเกิดภาวะ แทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ระดับความพึงพอใจและความรู้ของผู้ป่วย ภายหลังการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเซิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) กลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่า เป็นโรคเบาหวานมาไม่ต่ำกว่า 1 ปี ดำเนินการการศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม - เดือนกันยายน พ.ศ. 2559 ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย มี 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 สำรวจปัญหาเกี่ยวกับผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในคลินิกผู้ป่วย นอก ระยะที่ 2 พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ระยะที่ 3 การประเมิน ผลหลังการน่าการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่พัฒนาขึ้นมาใช้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย paired t-test และการวิเคราะห์เซิง เนื้อหา
ผลการวิจัย: อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่สามารถควบคุมระดับ Fasting blood sugar ให้อยู่ในเกณฑ์ คือ FBS > 70 mg/dl และ < 130 mg/dl เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 45.9 เป็น 58.9 อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับ HbAlcน้อยกว่า 7% เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 48.9 เป็น 55.4 อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้าและได้รับการผ่าตัด นิ้วเท้าลดลงจากร้อยละ 0.5 เป็น 0.2 ตามลำดับ ภายหลังการพัฒนาผู้ป่วย มีคะแนนความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก คะแนนความรู้ของผู้ป่วยทั้ง 2 ด้าน ได้แก่ ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน และความรู้เรื่องการดูแลตนเอง หลังเข้ารับ บริการสูงกว่าก่อนเข้ารับบริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: ระบบการดูแลที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ เพิ่มขึ้นและการเกิดภาวะแทรกซ้อนลดลง ผู้ป่วยมีคะแนนความพึงพอใจและ ความรู้เพิ่มขึ้น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. International Diabetes Federation. IDF Diabetes Atlas Seventh edition. [Data­base on the Internet]. 2015 [cited 2016 June 10]. Available from : https://www.idf.org/diabetesatlas.

2. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2556. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2556.

3. เทพ หิมะทองคำ. ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร : วิทยพัฒน์; 2552.

4. สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (สพช). คู่มือหน่วยบริการปฐมภูมิ: การจัดการเบาหวานแบบบูรณาการ. นนทบุรี : สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน; 2552.

5. ศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศโรงพยาบาลสุรินทร์. รายงานสถิติประจำปี 2552-2556. สุรินทร์ : โรงพยาบาลสุรินทร์; 2559.

6. นันทพร บุษราคัมวดี. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลนครนายก. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2545; 5:114-126.

7. Katz, Daniel and Robert L.K. The social psychology of organization 2nd ed. New York: John Wiley & Son; 1978.

8. ดารณี มะลิหวล. การพัฒนาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ของโรงพยาบาลคง จังหวัดนครราชสีมา [รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. บัณฑิตวิทยาลัย; ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น ; 2551.

9. กอบกุล ยศณรงค์. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานสู่ระบบบริการระดับปฐมภูมิ ในเครือข่าย อำเภอปัว จังหวัดน่าน. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2555;5:290-297.

10. จุฬาลักษณ์ ณ หนองคาย. การพัฒนาบริการสุขภาพสำหรับผู้ป่วยเบาหวานของคลินิกเบาหวาน หน่วยบริการปฐมภูมิสามเหลี่ยม โรงพยาบาลศรีนครินทร์ [รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. บัณฑิตวิทยาลัย; ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.

11. สมรหมาย หนูทอง. การพัฒนาบริการสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี [รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. บัณฑิตวิทยาลัย; ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.