ผลการจัดการรายกรณี : แบบโรงพยาบาลและชุมชนเป็นฐานในผู้ป่วยโรคจิต

Main Article Content

กิตติศักดิ์ สุรพงษ์พิวัฒนะ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการจัดการรายกรณีแบบโรงพยาบาลและชุมชนเป็นฐานต่อการดูแลตนเองและการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยจิตเภท
สถานที่ศึกษา: หอผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลสุรินทร์
รูปแบบการศึกษา: การวิจัยกึ่งทดลอง
ประชากรและวิธีการศึกษา: ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็น โรคจิตเภท กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มีปัญหาซับซ้อนและมีปัญหา ที่ต้องได้ รับการดูแลจากสหสาขาวิชาวิชาชีพ จำนวน 30 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 15 คนได้รับ การดูแลรายกรณีแบบโรงพยาบาลเป็นฐาน และกลุ่มทดลอง 15 คนได้รับการดูแล รายกรณีแบบโรงพยาบาลและชุมชนเป็นฐาน ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2555 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2556 วิเคราะห์ข้อมูล การกลับมารักษาซ้ำ โดยสถิติพรรณนา และประเมิน พฤติกรรมการดูแลตนเองของวิเคราะห์โดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (repeated measure ANOVA)
ผลการศึกษา: พบว่า การกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาล ของกลุ่มทดลองอยู่ในชุมชนได้ มากกว่า 6 เดือนทุกคน ส่วนกลุ่มควบคุมมีการกลับมารักษาซ้ำหลังจำหน่ายตั้งแต่ระยะเวลา 1-5 เดือน เป็นจำนวน 11 คน และสามารถดำเนินชีวิตในชุมชนได้มากกว่า 6 เดือนเพียง 4 คน ผลการดูแลตนเองของผู้ป่วย กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01(F=170.201, p=0.00)
สรุป: การดูแลผู้ป่วยรายกรณีแบบโรงพยาบาลและชุมชนเป็นฐานสามารถลดอัตราการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทได้นานกว่าแบบโรงพยาบาลเป็นฐาน เนื่องจากผู้ป่วยได้รับ การดูแลอย่างต่อเนื่องในชุมชน และส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้ดำเนินชีวิตอยู่ ในชุมชน สังคม ได้อย่างมีความสุข ผู้ป่วยและญาติพึงพอใจ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. WHO. International Classification of Diseases [Internet]. WHO. [cited 2016 Aug 27], Available from: https://www.who.int/classifications/icd/en/.

2. ผู้ป่วยจิตเวชไทยพุ่งทะลุล้านโรคจิตเภทสูงสุดกว่า 4 แสนราย [Internet]. Manager Online, [cited 2016 Aug 27], Available from: https://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9570000117185.

3. สมภพ เรืองตระกูล. ตำราจิตเวชศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : เรือนแก้ว ; 2542.

4. มาโนช หล่อตระกูลและ ปราโมทย์ สุคนิชย์. จิตเวชศาสตรรามาธิบดี. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บียอนด์ เอ็นเทอรไพรซ์. 2548.

5. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข [Internet], [cited 2016 Aug 27], Available from: https://www.dmh.go.th/trend.asp.

6. BangkokHealth.com - วันสุขภาพจิตโลก และสถานการณ์สุขภาพจิตในปัจจุบัน [Internet], [cited 2016 Aug 27], Available from: https://www.bangkokhealth.com/index.php/health/health-system/psychiatry/2216-2012-10-09-04-48-59.htm.

7. Norcome D. A study of Psychiatric Social Workers’ Happiness at Work Department of Mental Health, Ministry of Public Health. Bull Suanprung [Internet]. 2015 Nov 18 [cited 2016 Aug 27];31(2). Available from: https://110.164.158.45/ojs245/index.php/Bulletin/article/view/14.

8. จำนวนผู้ป่วยนอกจิตเวชที่มารับบริการของหน่วยบริการในสังกัดกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2554-2556. pat56.xls. [Internet], [cited 2016 Aug 21]. Available from: https://www.dmh.go.th/report/patient/pat56.xls.

9. ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ โรงพยาบาลสุรินทร์. รายงานสถิตการให้บริการ 2555. สุรินทร์ : โรงพยาบาลสุรินทร์; 2555.

10. สมพร รุ่งเรืองกลกิจ. การพยาบาลกับการดูแลบุคคลที่เป็นโรคจิตเภท. ภาควิชาการพยาบาลจิตเวชศาสตร์คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2546.

11. Overal JE, Gorham DR. The brief psychiatric rating scale. Psychol Rep 1962;10:799- 812.

12. พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. โรคจิตจากเมทแอมเฟตามีน: การทบทวนวรรณกรรม. วารสารสวนปรุง 2546;19:1:1-15.

13. มยุรี กลับวงษ์, ผจงจิต อินทสุวรรณ, วิลาสลักษณ์ ชัวว์วัลลี, นันทกา ทวิชาชาติ. ปัจจุบันที่มีอิทธิพลต่อความเหนื่อยหน่ายและพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทของผู้ดูแล. วารสารพฤติกรรมศาสตร์ 2552;15;1:57-75.

14. Stephen Ziguras. and Geoffrey Stuart. A Meta analysis of the Effectiveness of Mental Health Case Management Over 20 Years. Psychiatric services, 15(11), 2000;1410-21.

15. Grech, E. Case management: a critical analysis of the literature. International Journal of Psychosocial Rehabilitation. 2002;6:89-98.