กรณีศึกษา : การบำบัดรักษาเด็กที่ถูกละเมิดทางเพศจากบุคคลร่วมสายโลหิต (INCEST)

Main Article Content

ดวงรัตน์ แผ้วพลสง

บทคัดย่อ

การศึกษา เรื่องการบำบัดรักษาเด็กที่ถูกละเมิดทางเพศจากบุคคลร่วมสายโลหิต (INCEST) เป็นรายกรณี มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาแนวทางการช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพภายในระยะเวลาที่จำกัด โดยน่าข้อมูลที่ได้มา วางแผนการบำบัดรักษาเพื่อช่วยเหลือและป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพจิตและปัญหาอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยเน้นการบำบัดรักษาที่ครอบคลุมทั้งเด็กที่ถูกกระทำและครอบครัวให้สามารถดำเนินชีวิตท่ามกลางปัญหา ต่อไปได้อย่างปกติเท่าที่จะเป็นไปได้กรณีศึกษาเป็นเด็กหญิงไทยวัย 10 ปีถูกละเมิดทางเพศจากบิดาตั้งแต่อายุ 6 ปีจนถึงปัจจุบัน เด็กได้รับการช่วยเหลือผ่านระบบ One Stop Crisis Center (o.s.c.c) ที่โรงพยาบาลสุรินทร์ และได้รับการช่วยเหลือดูแลจากทีมสหวิชาชีพตามระบบก่อนเข้ารับการบำบัดทางจิตใจระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2555-กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ภายใต้การดูแลของบ้านพักเด็กจังหวัดสุรินทร์โดยนำเด็กมารับการบำบัดตามนัด จำนวน 6 ครั้ง ก่อนทำ family therapy จากการตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาคลินิกพบว่า เด็กมีบุคลิกภาพแบบ extravert พบ sign ของ weak ego, low self esteem, fantasy พบ sign ของการไม่สามารถแสวงหาความ สุขจากสิ่งแวดล้อมภายนอก พบ sign ของ การควบคุมตนเองไม่ดี หากถูกกระตุ้นอาจขาดความยับยั้งชั่งใจได้ง่าย ไม่พบ psychotic sign และ ไม่พบ organic sign แต่พบ sign ของ depression และ anxiety เด็กมีสติปัญญา ระดับฉลาด (Bright Normal) แต่มี learning disability ทั้ง 3 ด้าน ให้คำตอบที่เป็น symbolic ทางเพศ แต่ไม่ถึงกับมีพยาธิสภาพ จากการสังเกตพบว่าเด็กมีความสนใจทางเพศเกินวัย พูดเก่ง ลักษณะการพูดเป็นแบบเรื่อยเปีอย ชอบซักถามเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ตลอดเวลา เด็กมีอาการทางกาย ปวดท้อง นอนไม่หลับ รู้สึกผิดและวิตก กังวลที่ญาติไม่พอใจภายหลังจากเด็กเปิดเผยข้อมูลโดยเฉพาะย่า เด็กมีความรู้สึกว่าบิดาไม่ควรกระทำตนเอง และเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง แต่ก็รักและสงสารบิดา ไม่อยากไปอยู่ที่อื่นเพราะเป็นห่วงมารดา จากการบำบัดทั้ง 6 ครั้ง และการทำ family therapy ในครั้งที่ 7 เด็กสามารถปรับตัวกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ไม่มีอาการทางร่างกาย สามารถเล่นกับเด็กคนอื่นๆ ในบ้านพักได้ดี รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายได้ และพร้อมที่จะไปอยู่สถานบำบัด ฟื้นฟูเฉพาะทางสำหรับเด็กที่ถูกละเมิดทางเพศตามมติของคณะกรรมการคุ้มครองเด็ก
สรุป : การบำบัดรักษาเด็กที่ถูกละเมิดทางเพศจากบุคคลร่วมสายโลหิต (incest) มีประเด็นที่ต้องให้การ ช่วยเหลือมากและซับซ้อนกว่าการช่วยเหลือเด็กที่ถูกทารุณกรรมทั่วไป การประเมินเด็กอย่างรอบด้านจากการ ทดสอบทางจิตวิทยาคลินิกจะมีประโยชน์มากในการเข้าใจภาพรวมและปัญหาในระดับลึกของเด็กช่วยให้วางแผน บำบัดรักษาได้อย่างรวดเร็วและตรงเป้าหมาย เด็กทุกรายควรได้รับการช่วยเหลือโดยวิธีจิตบำบัดร่วมกับการทำครอบครัวบำบัดซึ่งเป็นวิธีที่สามารถช่วยเหลือเด็กได้อย่างครอบคลุม เพื่อป้องกันปัญหาอื่นๆ ที่จะตามมาในอนาคต ทั้งปัญหาด้านพัฒนาการ ปัญหาบุคลิกภาพ ปัญหาพฤติกรรมและปัญหาสุขภาพจิต

Article Details

บท
รายงานผู้ป่วย

References

1. มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย. การคุ้มครองเด็กจากการทารุณกรรมทางเพศ คู่มือวิทยากรเพื่อการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับพ่อแม่และผู้ดูแลเด็ก. [อินเตอร์เน็ต]. [อ้างถึง 12 พฤษภาคม 2016]. ลืบค้น จาก : https://www.wvi.org/sites/default/files/THAI_Parents%20Toolkit.pdf

2. ศรีเวียง ไพโรจน์กุล, นภา หลิมรัตน์, บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. คู่มือทีมสหวิชาชีพ การทารุณกรรมและทอดทิ้งเด็ก. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา; 2544.

3. การคุ้มครองเด็กจากการทารุณกรรมทางเพศ : คู่มือวิทยากรเพื่อการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับพ่อแม่และผู้ดูแลเด็ก. [อินเทอร์เน็ต]. [อ้างถึง 12 พฤษภาคม 2016]. ลืบค้น จาก: https://www.wvi.org/sites/default/files/ THAI_Parents%20Toolkit.pdf

4. ทางออกของการคุ้มครองเด็กในธุรกิจการท่องเที่ยวภาคธุรกิจท่องเที่ยว. [อินเทอร์เน็ต]. [อ้างถึง 12 พฤษภาคม 2016]. ลืบค้น จาก: https://childsafetourism.org/downloads/ Thai_Tourism_Takeaways.pdf

5. อุมาพร ตรังคสมบัติ. การละเมิดทางเพศในเด็กไทย: การศึกษาเชิงคุณภาพ. จุฬาสัมพันธ์ 2552;52:19.

6. สถิติข่าวละเมิดทางเพศรอบปี 158 กรณี สลด! อายุน้อยสุด 5 เดือนตกเป็นเหยื่อ [อินเทอร์เน็ต]. Manager Online. [อ้างถึง 12 พฤษภาคม 2016]. ลืบค้น จาก: https://manager.co.th/QOL/ ViewNews.aspx?NewslD=9550000032601

7. นันทวัช สิทธิรักษ์. จิตเวชศิริราช. กรุงเทพฯ : ประยุรสาส์นไทย การพิมพ์; 2558.

8. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือประกอบการ'ฝึกอบรมการถามปากคำและสืบพยานเด็ก. นนทบุรี : กรมสุขภาพจิต ; 2548:48-9.

9. สรรพสิทธ คุมพ์ประพันธ์, “คำอธิบายเบื้องต้น เกี่ยวกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ, เอกสารประกอบการสัมมนาโครงการทนายความอาสาสมัครเข้าฟังการถามคำให้การผู้ต้องหาที่มีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาเสนอที่โรงแรมดิเอ็มเมอรัล, 1 กันยายน 2543.44

10. สมภพ เรืองตระกูล. ตำรากลุ่มบำบัดและครอบครัวบำบัด. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์; 2554

11. อัจฉราพรสี่หิรัญวงศ์. การพยาบาลจิตเวชศาสตร์. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิง (มหาซน), 2557

12. อุมาพร ตรังคสมบัติ. จิตบำบัดและการให้คำปรึกษาครอบครัว. กรุงเทพฯ : ชันต้าการพิมพ์, 2544.

13. สมภพ เรืองตระกูล. ความผิดปกติทางเพศ. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์, 2548.

14. สุวัทนา อารีพรรค. กามวิปริต. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528.