ผลการบำบัดแบบกลุ่มบำบัดความคิดและพฤติกรรมตามโปรแกรม “สุขใจ” ต่อการลดอาการเครียดหลังจากเหตุการณ์สะเทือนขวัญ ในผู้ประสบภาวะวิกฤตกรณีอุบัติเหตุหมู่จากรถโดยสารขนาดใหญ่
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: อุบัติเหตุหมู่ส่งผลกระทบทางด้านจิตใจอย่างรุนแรงกับผู้ประสบเหตุและผู้สูญเสีย จากการเยียวยา จิตใจและปฐมพยาบาลทางด้านจิตใจเบื้องต้น พบว่าผู้ประสบภาวะวิกฤตยังคงมีอาการโรคเครียด ภายหลังจากเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (Post-traumatic stress disorder :PTSD) และดำเนินชีวิต ประจำวันได้ไม่ปกติสุข แต่ยังไม่มีข้อมูลเชิงประจักษ์ในการนำการบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavior Therapy: CBT) มาใช้บำบัดอาการโรคเครียดภายหลังจากเหตุการณ์สะเทือน ขวัญในผู้ประสบภาวะวิกฤตการณ์อุบัติเหตุหมู่จึงนำการบำบัดแบบกลุ่มบำบัดความคิดและพฤติกรรม มาทดลองใช้ควบคู่กับการบำบัดด้วยยา
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการบำบัดแบบกลุ่มบำบัดความคิดและพฤติกรรมตามโปรแกรม“สุขใจ”ต่อการลดอาการ เครียดหลังจากเหตุการณ์สะเทือนขวัญในผู้ประสบภาวะวิกฤตกรณ์ อุบัติเหตุหมู่จากรถโดยสาร ขนาดใหญ่
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประสบภาวะวิกฤตการณ์อุบัติเหตุหมู่ ที่อยู่ระหว่างการรักษาด้วยยามีผลการประเมินจากแบบประเมิน PTSD Screening Test ตั้งแต่ 4 คะแนน ขึ้นไป และได้รับการบำบัดแบบกลุ่มภายใต้แนวคิดบำบัดความคิดและพฤติกรรมตาม โปรแกรม“สุขใจ”จำนวน 8 ครั้งๆละ2ชั่วโมงสัปดาห์ละครั้งต่อเนื่องในช่วงเดือนมิถุนายน-ธันวาคม 2558 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดจำนวน 8 คน วัดผลก่อนและหลังการ ทดลองรวมถึงระยะติดตามผล 1, 3 เดือน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ 1) แบบประเมิน PTSD Screening Test 2) แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 3) แบบประเมินพลังสุขภาพจิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ พรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา: เมื่อสิ้นสุดการทดลองอาการโรคเครียดภายหลังจากเหตุการณ์สะเทือนขวัญและโรคซึมเศร้าลดลง และมีค่าลดลงในระยะติดตามผล 1, 3 เดือน อีกทั้งมีพลังสุขภาพจิตเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลองและ มีค่าเพิ่มขึ้นในระยะติดตามผล 1, 3 เดือน หลังการบำบัดพบกลุ่มตัวอย่างมีอาการเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้นดือ 1) มีความรู้ เข้าใจว่าปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นกับตนเองเป็นเรื่องปกติ2)เข้าใจความรู้สึกผิดและ ความคิดที่ทำให้ทุกข์ใจมีการปรับเปลี่ยนความคิดมุมมองต่อการเผชิญปัญหาเป็นไปในทางบวก ยืดหยุ่นขึ้น 3) อดทนต่อแรงกดคันและเผชิญความทรงจำเกี่ยวกับอุบัติเหตุได้พูดถึงได้อย่างปกติและ ผ่อนคลาย เมื่อพบอุบัติเหตุสามารถเผชิญไดโดยไม่ส่งผลกระทบทั้งด้านจิตใจและร่างกาย 4) การรับ รู้ปกติไม่มีภาพเหตุการณ์ผุดขึ้น อาการตื่นตัวหายไป นอนหลับได้
สรุป: โปรแกรม“สุขใจ” เป็นการผสมผสานเทคนิคการบำบัดซึ่งเน้นแกปรับความคิดและเผชิญกับความ กลัวผ่านกิจกรรมได้ผลดีเมื่อใช้ควบคู่กับการบำบัดด้วยยาสามารถลดอาการเครียดภายหลังจาก เหตุการณ์สะเทือนขวัญลงได้ ทำให้มีพลังใจในการดูแลตนเองและใช้ชีวิตมีความสุขมากขึ้น
Article Details
References
2. ธรรมนาถ เจริญบุญ. ระวังป่วยทางใจหลังเกิดภัยร้าย [ออนไลน์] 2554 [16 มี.ค.2558] เข้าถึง ได้จาก: URL: https://www.healthtoday.net/thailand/mental/menta l_139.html
3. สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์. คู่มือการช่วยเหลือเยียวยาจิตใจประชาชนในภาวะวิกฤต (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด; 2553.
4. ดารา การะเกษร. ผลการบำบัดความคิดและพฤติกรรม (cognitive behavior therapy : CBT) ต่อการลดอาการ (Post-traumatic stress disorder: PTSD) ในผู้ที่มีบาดแผลทางจิตใจจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดยะลา. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 7 ประจำปี 2551 [ออนไลน์]. 2551 [20 เม.ย 2558] เข้าถึงได้จากURL:https://www.jvkk.go.th/research/qrresearch.asp?code=0102495
5. รายงานผลการประเมินภาวะสุขภาพจิตผู้ประสบภาวะวิกฤตกรณีอุบัติเหตุหมู่. สรุปผลการช่วยเหลือเยี่ยวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤตกรณีอุบัติเหตุหมู่; 2558. เอกสารอัดสำเนา.
6. ดาราวรรณ ต๊ะปินตา. ภาวะซึมเศร้า: การบำบัดและการให้การปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. เขียงใหม่ : วนิดาการพิมพ์; 2556.
7. คุภารมย์ แตงเจริญและกฤตยา แสวงเจริญ. กลุ่มบำบัดตามแนวคิดการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมในผู้ป่วยจิตเวชที่มีภาวะซึมเศร้า. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติครั้งที่ 8 ประจำปี 2552 [ออนไลน์]. 2552 [23 เม.ย 2558] เข้าถึงได้จาก: URL:https://www.jvkk.go.th/researchnew/qrresearch.asp?code=0102946.
8. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. เปลี่ยนร้ายกลายเป็นดี RQ พลังสุขภาพจิต. นนทบุรี : บริษัทดีน่าดู; 2552.
9. ปราโมทย์ เชาว์ศิลป์, รณชัย คงสกนธ์. กลุ่มจิตบำบัดสำหรับคนไข้ใน. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลสหประชาพานิชย์; 2542.
10. ณัฐฑิพร ชัยประทาน, สมพร รุ่งเรืองกลกิจ, มธุลดา ชัยมี. ผลของการให้การปรึกษารายบุคคล โดยใช้แนวคิดการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการฝึกผ่อนลมหายใจและการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อในผู้ป่วยโรควิตกกังวล. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 4 ประจำปี 2548 [ออนไลน์]. 2557 [20 เม.ย 2558] เข้าถึงได้จาก URL:https://www.jvkk.go.th/researchnew/qrresearch. asp?code=0035.
11. พรเพ็ญ อารีกิจและอรพรรณ อรพรรณ ลือบุญ ธวัชชัย. ผลการบำบัดความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการเจริญสติต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2555;26:3:70-80.
12. สิริพรรณ มิ่งวานิช.ความสัมพันธ์ระหว่างอัตมโนทัศน์และการปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวกับการปรับตัวของผู้ป่วยที่ประสบเหตุการณ์จราจรรับรักษาในโรงพยาบาลสระบุรี. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2536.