ผลของการใช้เกณฑ์การให้เลือดต่ออัตราการให้เลือดในทารกแรกเกิดที่มีภาวะศีรษะน่วม

Main Article Content

ลลิตา เตียประเสริฐ

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: ภาวะศีรษะน่วมเป็นการบาดเจ็บจากการคลอดที่พบบ่อยและอาจพบร่วมกับภาวะเลือดออกใต้ชั้นอะโพนิวโรซิส ทำให้เกิดภาวะช็อกและเสียชีวิตได้ พบว่ามีการให้เลือดไม่เหมาะสม ในทารกแรกเกิดที่มีภาวะศีรษะน่วม เนื่องจากไม่มีเกณฑ์การให้เลือดที่ชัดเจน
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบอัตราการให้เลือดในทารกแรกเกิดที่มีภาวะศีรษะน่วม ก่อนและหลังใช้เกณฑ์ การให้เลือด รวมถึงติดตามภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะช็อกหรือเสียชีวิตจากได้เลือดช้า
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษากึ่งทดลองแบบเปรียบเทียบก่อนและหลังใช้เกณฑ์การให้เลือดในทารก แรกเกิดที่มีภาวะศีรษะน่วม โดยเก็บข้อมูลทารกแรกเกิดที่มีภาวะศีรษะน่วมทุกรายที่คลอด ในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ จากบันทึกของพยาบาลในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดป่วยหนักและ เวชระเบียนผู้ป่วยตาม ICD-10 ก่อนใช้เกณฑ์การให้เลือดระหว่าง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2555 และหลังใช้เกณฑ์การให้เลือดระหว่าง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2556 รวบรวมข้อมูลพื้นฐานของทารกแต่ละราย ได้แก่ เพศ อายุครรภ์ วิธีการคลอด Apgar score น้ำหนักแรกเกิด ขนาดรอบศีรษะ ความเข้มข้นเลือด การได้รับ เลือด และ ภาวะช็อกหรือเสียชีวิตจากได้เลือดช้า
ผลการศึกษา: ก่อนใช้เกณฑ์การให้เลือดมีทารกแรกเกิดที่มีภาวะศีรษะน่วม 404 ราย ได้รับเลือดร้อยละ 19.8 และหลังใช้เกณฑ์การให้เลือดมีทารกแรกเกิดที่มีภาวะศีรษะน่วม 391 ราย ได้รับเลือด ร้อยละ 5.1 ซึ่งอัตราการให้เลือดหลังใช้เกณฑ์ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR 0.218; 95%CI 0.131-0.364; p=0.00) โดยไม่พบภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ภาวะ ช็อกหรือเสียชีวิต จากการให้เลือดช้า

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. ปราโมทย์ ไพรสุวรรณา. การตรวจร่างกายทารกแรกเกิด. ใน: นวลจันทร์ ปราบพาล, วรศักดิ์-โชติเลอศักดิ์, ปราโมทย์ ไพรสุวรรณา, จิตลัดดา ดีโรจนวงศ์, บรรณาธิการ. การซักประวัติและตรวจร่างกายในเด็ก. กรุงเทพฯ : บริษัทบียอนด์เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด; 2549.หน้า 79-80.

2. Abdullhsyoglu E. Birth Trauma. In: Clohety JP, Eichenwald EC, Stark AR, editor. Manual of Neonatal Care. 6th.ed. Philadelphia : Lippincott Williams&Wilkins; 2008.p.228-36.

3.Davis DJ. Neonatal subgaleal hemorrhage: diagnosis and management. CMAJ 2001;164(10):1452-3.

4. Modanlou HD. Subgaleal Hemorrhage Following Vacuum Extraction Vaginal Delivery: A Frequently Undiagnosed Problem. Neonatology today 2010;(10):6-8.

5. Sloan SR. Blood Products Used in then Newborn. In: Clohety JP, Eichenwald EC, Stark AR, editor. Manualof Neonatal Care.6th ed. Philadelphia : Lippincott Williams&Wilkins; 2008:p.463-9.

6. Uchill D, Arulkumaran S. Neonatal subgaleal hemorrhage and its relationship to delivery by vacuum extraction. Obstet Gynecol Surv 2003;58(10):687-93.

7. Chadwick LM, Pemberton PJ, Kurinczuk JJ. Neonatal subgaleal haematoma : associated risk factors, complications and outcome. J Paediatr Child Health 1996;32(3):228-32.

8. Emmanue JC, editor. Paediatrics & neonatology. In: The clinical use of blood. World Health Organization; 1997;p.228-45.

9. Aggarwal R. Shock in the Newborn. In: Choudhury P, Bagga A, Chugh K, Ramji S, editor. Principles of Pediatric and Neonatal Emergencies. 3rd ed. New Delhi : The Indian Acadamy of Pediatrics; 2011:p533.

10. Paran TS, Puri P. Birth Trauma. In: Puri P, Hollwarth ME, editor. Pediatric surgery: Diagnosis and Management. New York : Springer-Verlag Berlin Heidenberg; 2009. p.123-30.

11. ธราธิป โคละทัต. Shock in Newborn .ใน: ประพันธ์ อ่านเปรื่อง,จารุพิมพ์ สูงสว่าง,วาณี วิสุทธิ์เสรีวงศ์,สุรชัย ลิขสิทธิ์วัฒนกุล, บรรณาธิการ. Acute Care Pediatrics. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : เอ-พลัสพ่ริ้น; 2554. หน้า 49-55.

12. Kourembanas S.Shock. In: Clohety JP, Eichenwald EC, stark AR, editor. Manual of Neonatal Care.6th .ed. Philadelphia : Lippincott Williams & Wilkins; 2008. p. 176-80.

13. Lokeshwar MR., Singhal T, Shah N. Anemia in the newborn. Indian Journal of Pediatrics 2003;70:893-4.

14. ฤทธาพร วิทยาลัย. ความบอบช้ำจากการคลอดของทารกแรกเกิดในวิทยาลัยแพทยศาสตร์ กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล. [อินเตอร์เน็ท]; [วันที,อ้างถึง 6 พฤศจิกายน2557]h HYPERLINK "https://www/"ttps://www.tha.pediatrics.org/detail Journal. php?journalJd=192