โครงการจัดซื้อพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานสาธารณสุขบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ: การจัดซื้อพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Governmerit Procurement: e-GP) มีการ
ให้ผู้บริการมาลงทะเบียนออนไลน์เพื่อช่วยสนับสนุนกระบวนการทำงานในภาครัฐ ให้มีความ รวดเร็วโปร่งใส และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการบริหารการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่าง จำกัด ให้เกิดคุณประโยชน์สูงสุด อันจะส่งผลให้ภาครัฐมีศักยภาพและร่วมกันพัฒนาประเทศ ให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสภาพการจัดการงานจัดซื้อพัสดุ, ปัญหาการจัดการงานจัดซื้อพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ และ แนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการงานจัดซื้อพัสดุด้วยวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ ของหน่วยบริการในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์
รูปแบบการศึกษา: การศึกษาเชิงสำรวจ (Survey study)
วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุและบุคลากรผู้รับผิดชอบงานด้านพัสดุในโรงพยาบาลจำนวน 30 คนดำเนินการระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ.2557 รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างประมวลผลข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้ Content analysis
ผลการศึกษา: สภาพการจัดการโครงการจัดซื้อพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ผู้ปฏิบัติงานปฏิบัติ ตามกฎระเบียบข้อบังคับและวิธีปฏิบัติได้อย่างถูกต้องมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ขาดความรู้ ความเข้าใจและขาดการวางแผนและสำรวจการใช้พัสดุประจำปี ปัญหาการจัดการโครงการจัดซื้อ พัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ผู้ปฏิบัติงานไม่มีความเข้าใจและความชำนาญใน ระบบ e-GP เท่าที่ควรทำให้เกิดความล่าช้าระบบมีปัญหาในการเชื่อมต่อระบบช้า ระบบมี ความซับซ้อนเช้าใจยาก จัดทำเอกสารในระบบไม่ได้ ขาดที่ปรึกษาที่ชัดเจนเมื่อเกิดปัญหา ด้านระบบใช้เวลาในการกรอกข้อมูลนานบุคลากรที่ให้คำแนะนำยังไม่เข้าใจในระบบเท่าที่ควร เกิดความสับสนในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเชื่อมโยงของระบบ e-GP กับระบบการบริหาร งานการเงินการคลังภาครัฐ ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Government Fiscal Management Information :GFMIS) พัสดุบางประเภทหา รหัสสินค้าและบริการภาครัฐ (Government Product and Service Code: GPSC) ยากเกินไปและทำให้เกิดการทำงานล่าช้า ข้อเสนอแนะ
สรุป: ทักษะของบุคลากร อุปกรณ์เครื่องมือและระบบที่ซับซ้อน โดยมีข้อเสนอแนะคือ ควรมีพัฒนา ศักยภาพบุคลากรผ่านการอบรมเซิงปฏิบัติการ สนับสนุนอุปกรณ์เครื่องมือและระบบ อินเทอร์เน็ตที่รวดเร็วขึ้น
Article Details
References
2. ลักษมี กันเสงี่ยม. สภาพปัญหาการจัดการ งานพัสดุในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต] ; กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2550
3. สมาคมนักบริหารพัสดุแห่งประเทศไทย. ประมวลกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการพัสดุ. พิมพ์ครั้งที 9. กรุงเทพมหานคร : สมาคมนักบริหารพัสดุแห่งประเทศไทย; 2554.
4. อรวรรณ ศิวปฐมชัย. ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่พัสดุในสังกัดกระทรวงการคลังที่มีต่อการจัดซื้อ จัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์. [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต] ; สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ; บัณฑิตวิทยาลัย; มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : เชียงใหม่; 2549.