ประสิทธิผลของการพัฒนาระบบการป้องกันการเกิดแผลกดทับ

Main Article Content

สุณี จิรันดร

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: แผลกดทับเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ผู้ป่วยที่ต้องนอน เตียงนาน โดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุ ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทั้งด้าน ร่างกาย จิตใจ สังคม เศรษฐกิจ และความพึงพอใจในบริการรักษาพยาบาล การเกิดแผลกดทับ สามารถป้องกันได้และสะท้อนถึงคุณภาพการพยาบาล การป้องกันการเกิดแผลกดทับ จำเป็น ต้องมีระบบการดูแลและป้องกันที่ดีในการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับจนจำหน่าย และการมีส่วนร่วมของทีมผู้ดูแลและญาติในการให้การดูแลผู้ป่วย
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนาระบบการป้องกันการเกิดแผลกดทับ
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2. การสร้างและพัฒนาระบบ 3. การทดลองใช้ระบบ และ 4. การติดตาม ประเมินผลและปรับปรุงระบบ ระยะเวลาการวิจัยระหว่าง 1 มีนาคม พ.ศ. 2556 ถึง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง เป็นเพศขายอายุ 15 ปีขึ้นไปที่รับไว้ในหอผู้ป่วย ศัลยกรรมกระดูกชาย โรงพยาบาลสุรินทร์ ตั้งแต่ 1 มีนาคม พ.ศ.2556 ถึง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 มีคะแนน Braden Scale น้อยกว่า16 คะแนน หรือคะแนน Braden Scale น้อยกว่า 18 คะแนนในผู้ป่วยอายุมากกว่า 70 ปี จำนวน 87 คน และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอ ผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกชาย โรงพยาบาลสุรินทร์ จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โครงร่างระบบการป้องกันการเกิดแผลกดทับ แบบประเมินการเฝ้าระวังการเกิดแผลกดทับ แบบประเมินการพลิกตะแคงตัวและประเมินลักษณะผิวหนัง แบบรายงานการเฝ้าระวังการเกิด แผลกดทับ แบบประเมินผลการปฏิบัติตามระบบ แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลและ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วย/ญาติ
ผลการศึกษา: ระบบการป้องกันการเกิดแผลกดทับ ประกอบด้วย 3 ระยะ คือระยะแรกรับ ระยะดูแลต่อเนื่องและระยะจำหน่าย ผลด้านประสิทธิผลของระบบ พบว่า เกิดแผลกดทับในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง 8 ราย คิดเป็นอัตราการเกิดแผลกดทับ ร้อยละ 9.2 คิดเป็นอัตราการเกิดแผลกดทับ 13.7 ต่อ 1000 วันนอนกลุ่มเสี่ยง เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการพัฒนาระบบการป้องกันการเกิดแผลกดทับ พบว่า อัตราการเกิดแผลกดทับลดลงอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P > .05 ความพึง พอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อระบบ พบว่า พยาบาลมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (mean=3.7, SD = 0.3 ) และผู้ป่วย/ญาติมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (mean = 4.2, SD = 0.3 )
สรุป: การพัฒนาระบบการป้องกันการเกิดแผลกดทับ ทำให้ได้ระบบที่มีความครอบคลุมในการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับจนจำหน่าย ได้แนวทางปฏิบัติที่ขัดเจน ผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจมากสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. ช่อผกา สุทธิพงศ์, ศิริอร สินธุ. (2554). ปัจจัยทำนายการเกิดแผลกดทับในผู้สูงอายุโรค หลอดเลือดสมองที่ไม่มีโรคเบาหวานร่วมด้วย. สืบค้นจาก vwwv.ns.mahidolacth/english/ journal_NS/pdf (วันที่ค้นข้อมูล: 2 กุมภาพันธ์ 2556)

2. วรรณี สัตยวิวัฒน์. การพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ พิมพิ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดเอ็นพีเพรส; 2553.

3. Braden B, Bergstrom NA. Conceptual schema for the study of the etiology of pressure sores. Rehabil Nurs 2000; 25(3):105-9.

4. Ngampraseart M. Risk factor of pressure ulcer in the hospitalized elderly. 2002.

5. วิจิตร ศรีสุพรรณ, วิลาวัณย์ เสนารัตน์, วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร, ลัดดาวัลย์ นัทธมน. การดูแลผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ. เขียงใหม่ : นันทพันธ์พริ้นติ้ง; 2548.

6. Bergstrom,N.,Braden,B.,Kemp,M., Champagne, M., & Ruby, E.(1998) . Predicting Pressure Ulcer Risk a multiple Study of the Predictive Validity of the Braden Scale. Nursing Research 1998;47:261-269.

7. รุ่งทิวา ชอบชื่น. Nursing care in pressure sore. Srinagarind Med J 2013;28:41-46.

8. วิจิตรา กุสุมภ์. (2542). การพยาบาลผู้ป่วย ที่มี,บาดแผล. พิมพิ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์

9. กองการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. (2544). การประกันคุณภาพการพยาบาลในโรงพยาบาล: งานบริการพยาบาลผู้ป่วยใน. กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

10. โรงพยาบาลสุรินทร์.กลุ่มการพยาบาล. ผลการดำเนินงาน ประจำปี 2555.

11. Bergstrom N, Horn SD, Smout RJ, Bender SA, Ferguson ML, Taler G, et al. The National Pressure Ulcer Long-Term Care study: outcomes of pressure ulcer treatments in long-term care. J Am Geriatr Soc 2005;53(10):1721-9.

12. มาลี งามประเสริฐ. ปัจจัยเสี่ยงในการเกิด แผลกดทับในผู้ป่วยสูงอายุที่รับไว้ในโรงพยาบาล. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหา บัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม; 2545.

13. พีรวัฒน์ ลิ้มมหาคุณและชลัญธร ตรีมณีรัตน์ . (2554). ผลของการพัฒนาการดูแลและป้องกัน แผลกดทับแผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลพิมาย. สืบค้นจาก HYPERLINK "https://www.gotoknow.org/tosts/"www.gotoknow.org/tosts/485209. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2556

14. ฐิตินันท์ วัฒนชัย. ผลการพัฒนาระบบการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับต่อความรู้ การปฏิบัติของพยาบาลและการเกิด แผลกดทับ ในหอผู้ป่วยอายุรกรรม. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยรังสิต, ปทุมธานี; 2550.

15. ปองหทัย พุ่มระย้า. ผลของการพยาบาลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลต่อการป้องกัน การเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูก. สารนิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม; 2546.