การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักที่อายุ 24, 48 ชั่วโมงหลังคลอดสำหรับทำนาย ภาวะ breast feeding jaundice ในกลุ่มทารกแรกเกิดครบกำหนด

Main Article Content

อรภัทร วิริยอุดมศิริ

บทคัดย่อ

บทนำ: ภาวะ breast feeding jaundice เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิดโดยภาวะขาดน้ำหรือน้ำหนักตัวที่ลดลงของทารกนั้นถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการพยากรณ์ภาวะ breast feeding jaundice โดยในโรงพยาบาลประโคนชัยนั้นพบอุบัติการณ์ของภาวะ breast feeding jaundice เพิ่มขึ้นทุกปีและยังไม่เคยมีการศึกษามาก่อน วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ คือ เพื่อประเมินความถูกต้องและหาจุดตัดที่เหมาะสมของค่าร้อยละน้ำหนักทารกที่ลดลงที่ 24 และ 48 ชั่วโมงหลังคลอดสำหรับทำนายภาวะ breast feeding jaundice
ประชากรศึกษา: ทารกแรกเกิดที่มีภาวะ breast feeding jaundice จำนวน 39 ราย และกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 408 ราย ระยะเวลาที่ศึกษา: 1 มกราคม พ.ศ.2558 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ.2559
วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการศึกษาแบบ retrospective study โดยใช้ข้อมูลจากเวชระเบียนทารกแรกเกิดครบกำหนดจำนวน 447 ราย โดยภาวะ breast feeding jaundice คือ ทารกแรกเกิดที่กินนมมารดาและมีผลการตรวจ microbilirubin (MB) ที่ 48 - 72 ชั่วโมงหลังคลอดมากกว่าหรือเท่ากับ 15 mg/dl วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้าง receiver operator characteristic curve (ROC curve) แสดงผลความถูกต้องเท่ากับพื้นที่ใต้กราฟ(AUC) x 100% และรายงานความไว (sensitivity) และความจำเพาะ (specificity) สำหรับค่าจุดตัดในแต่ละระดับกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ p-value <0.05
ผลการศึกษา: พบทารกแรกเกิดที่มีภาวะ breast feeding jaundice จำนวน 39 รายคิดเป็นร้อยละ 8.7 สำหรับการวิเคราะห์ ROC curve ความถูกต้องของการใช้ค่าร้อยละน้ำหนักทารกที่ลดลงที่ 24 และ 48 ชั่วโมงหลังคลอดสำหรับทำนายภาวะ breast feeding jaundice เท่ากับร้อยละ 70.9 (AUC=0.7095, 95%CI= 0.625, 0.793) และร้อยละ 74.9 (AUC=0.7499, 95%CI= 0.671, 0.828) ตามลำดับ ส่วนค่าจุดตัดที่เหมาะสมของร้อยละน้ำหนักทารกที่ลดลงที่ 24 ชั่วโมงหลังคลอดสำหรับทำนายภาวะ breast feeding jaundice คือ มากกว่าเท่ากับร้อยละ 5.1 (ความไวร้อยละ 58.9 และความจำเพาะร้อยละ 70.3) และที่ 48 ชั่วโมงหลังคลอดคือ มากกว่าเท่ากับร้อยละ7.7(ความไวร้อยละ 58.9และความจำเพาะร้อยละ 70.1)
สรุปและข้อเสนอแนะ: ร้อยละของน้ำหนักทารกที่ลดลงสามารถใช้ในการทำนายภาวะ breast feeding jaundice ส่วนค่าจุดตัดที่เหมาะสมของค่าร้อยละน้ำหนักทารกที่ลดลงในแต่ละวันอาจใช้เป็นข้อบ่งชี้ในการกระตุ้นมารดาในการให้ลูกกินนมแม่อย่างถูกวิธีในปริมาณที่เพียงพอต่อทารกแรกเกิด

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Porter ML, Dennis BL. Hyperbilirubinemia in the term newborn. Am Fame Physician 2002;65(4):599-606.

2. Stoll BJ, Kleigman RM. Jaundice and hyperbilirubinemia in newborn. In: Behrman RE, Kleignman RM, Jenson HB, editors. Nelson Textbook of pediatrics. 16thed. Pennsylvania : WB SAUNDER Company; 2000:513-9.

3. Piazza, A.J., Stoll, B.J. Jaundice and Hyperbilirubinemia in the Newborn, In: Kliegman, R.M., Pehrman, R.E., Jhonson, H.B. and Stanton, B.F.,Eds. Nelson Textbook of Pediatrics. 18th. ed., Philadelphia : W.B. Saunder ; 2007:756 -766.

4. พิมลรัตน์ ไทยธรรมยานนท์. ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด. ใน: พิมลรัตน์ ไทยธรรมยานนท์, บรรณาธิการ. การดูแลทารกแรกเกิด. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2545:96-106.

5. อุไรวรรณ โชติเกียรติ. Neonatal hyperbilirubinemia. ใน: ศรีศุภลักษณ์ สิงคาลวณิช, ชัยสิทธิ์ แสงทวีสิน, สมจิต ศรีอุดมขจร, สมใจ กาญจนาพงศ์กุล, บรรณาธิการ. ปัญหาโรคเด็กที่พบบ่อย. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : สำนักพิมพ์สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง ; 2549:59-64.

6. American Academy of Pediatrics, Subcommittee on hyperbilirubinemia. clinical practice guideline: Management of hyperbilirubinemia in newborn infant 35 or more weeks of gestation. Pediatrics 2004;114:297-316.

7. Davanzo R, Cannioto Z, Ronfani L, Monasta L. Breastfeeding and neonatal weight loss in healthy term infants. J Hum Lact 2013;29(1):45-53.

8. Noel-Weiss J, Courant G, Woodend AK. Physiological weight loss in the breastfed neonate: a systematic review. Open Med 2008;2(4):11-22.

9. Kishore Kumar R, Chandrasekaran M, Mahindre A, Harish B. Predischarge Risk Factors for Predicting Significant Hyperbilirubinemia in Term and Near-term Infants. J Ped Moth Care 2016;1(2):107.

10. Wen-Chieh Yang, Lu-Lu Zhao, Yu-Cheng Li, Chi-Hua Chen, [et al.]. Bodyweight loss in predicting neonatal hyperbilirubinemia 72 hours after birth in term newborn infants. BMC Pediatrics 2013;13:145.