ยานํ้าแขวนตะกอน Furosemide แบบแยกผงที่มีการเพิ่มน้ำเพื่อช่วยกระจายผงยา: ความคงตัว การกระจายตัว

Main Article Content

ชุติธนา ภัทรทิวานนท์
กิตติ นัยพัฒน์

บทคัดย่อ

พัฒนายาน้ำแขวนตะกอน Furosemide 2 mg/ml แบบแยกผง โดยเพิ่มน้ำไปกระจายผงยาก่อนนำไปผสมน้ำกระสายยา เพื่อแก้ปัญหาผงยาไม่ผสมเข้ากับน้ำกระสายยาที่ข้นหนืด โดยมีส่วนประกอบคือ 1.ผงยาของ furosemide 40 mg 3 เม็ดใส่ขวดสีชาที่ทำสัญลักษณ์ปริมาตร 60 ซีซีไว้แล้ว 2. น้ำกระสายยา 55 ml (ใน 100 ml ประกอบด้วย 1.4% CMC mucilage 17.83 ml, 70 % sorbitol 20 ml, syrup USP 50 ml, paraben conc. 1 ml, purified water 11.17 ml) 3.น้ำ 5 ml (ผสม 1% paraben conc.) (มีวิธีการผสมคือ: 1. เทน้ำลงผสมผงยาในขวดสีชา ปิดฝา เขย่าให้ยาเข้ากัน 2. เทน้ำกระสายยาประมาณครึ่งหนึ่งลงใส่ขวดสีชา ปิดฝาเขย่าให้ยาเข้ากัน 3. เทน้ำกระสายยาลงเพิ่มจนถึงขีดข้างขวดสีชา ปิดฝา เขย่า 4. ติดฉลาก เก็บยาในตู้เย็น) แล้วทำการส่งไปวิเคราะห์หาปริมาณตัวยาสำคัญที่คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เทียบกับค่ามาตรฐานและความคงตัวของยาน้ำแบบเดิม ประเมินการกระจายตัวของผงยาระหว่างแบบไม่เพิ่มน้ำและแบบเพิ่มน้ำ โดยสอบถามเภสัชกร 24 คน ด้วยวิธีปกปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลคือ ยาน้ำ furosemide แบบเพิ่มน้ำมีปริมาณตัวยาสำคัญ ณ 60 วันหลังผสมที่อุณหภูมิ 25oC อยู่ในช่วงมาตรฐาน (90-110%LA) คือ 92.4+0.3 % label amount, pH 5.38 ขณะที่ยาแบบเดิมคงตัวที่อุณหภูมิ 25oC ได้ 29 วัน เภสัชกรทุกคน เห็นว่าแบบเพิ่มน้ำมีการกระจายตัวของผงยาดีกว่าแบบไม่เพิ่มน้ำ โดยสรุป การเพิ่มน้ำในยาน้ำแขวนตะกอน furosemide แบบแยกผงทำให้ผงยามีการกระจายตัวเข้ากับน้ำกระสายยาได้ดีกว่าและมีความคงตัวมากกว่าแบบที่ไม่มีการเพิ่มน้ำ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. วนิดา เดชาวาศน์, มานิตย์ เลิศชัยพร. การศึกษาความคงตัวของยาเตรียมพิเศษยาน้ำแขวนตะกอน furosemide. วารสารสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) 2541;8:31-40.

2. นัยนา สันติยานนท์. ความคงตัวของเภสัชภัณฑ์และการเก็บรักษา. Thai Pharm Health Sci J 2008;3(1):180-7.

3. The United States Pharmacopeia 31 and National Formulary NF 26. Asian edition. Maryland : The United States Pharmaceutical Convention; 2008.

4. Committee for Medicinal Products for Human Use. Reflection paper on the use of methyl- and
propylparaben as excipients in human medicinal products for oral use. [online]. 2012 [cited 2015 Oct 22] ; Available form: www.ema.europa.eu/docs/en_GB/documentlibrary/Scientific_guideline/2015/11/WC500196733.pdf5.

5. Kenneth AC., Gordon LA., Valentino JS. Drug Kinetics. Chemical Stability of Pharmaceuticals:
A Handbook for Pharmacists. 2nded. New York : John Wiley & Sons; 1986:475.

6. Royal Danish School of Pharmacy. Photodegradation and hydrolysis of furosemide and furosemide ester in aqueous solutions. Int J Pharm 1988;42(1-3):217–24.