ผลสัมฤทธิ์การจัดการต้อกระจกแบบบูรณาการณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: เป้าหมายขององค์การอนามัยโลกวางไว้ ในปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ.2563) ทุกประเทศมีอัตราตาบอด ไม่เกินร้อยละ 0.5 สำหรับในประเทศไทยจากการ สำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2549-2550 พบว่ามีอัตราตาบอด ร้อยละ 0.6 ล่าสุดผล การวิจัยสำรวจโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) ในปี พ.ศ.2556 พบว่า คนไทยมีความซุกตาบอดร้อยละ 0.6 สาเหตุจากต้อกระจกสูงถึง ร้อยละ 70
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการรักษาต้อกระจกด้วยการผ่าตัดแบบบูรณาการณ์ ร่วมกับมูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) เพื่อหาความสัมพันธ์ระดับความรุนแรงของการมองเห็นก่อนและหลังผ่าตัด ต้อกระจกที่ 1 สัปดาห์ 1 เดือนและ 6 เดือน
สถานที่ศึกษา: โรงพยาบาลพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา แบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง
วิธีการศึกษา: การศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยต้อกระจกจำนวน 172 รายที่เข้าร่วมโครงการผ่าตัด ต้อกระจกโดยมูลนิธิแพทย์อาสา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) ณ โรงพยาบาลพลับพลาชัย ระยะเวลาการศึกษา คือ พฤษภาคม พ.ศ.2558 ถึง พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ระยะเวลา 7 เดือน
ผลการศึกษา: ผลการรักษาหลังผ่าตัดต้อกระจก กลุ่มที่ 1 สัปดาห์, 1 เดือนและ 6 เดือน สายตาดีขึ้นเท่ากับร้อยละ 80.4, 85.2, 87.4 ตามลำดับ ซึ่งการผ่าตัดครั้งนี้ ผู้ป่วยต้อกระจกเป็นกลุ่มบอดร้อยละ 65.1 โดยไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง หลังผ่าตัด ซึ่งการศึกษาครั้งนี้พบความสัมพันธ์ของกลุ่มสายตาที่ดีขึ้นหลัง ผ่าดัดต้อกระจก ที่ 1 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับระดับการมองเห็นก่อนผ่าตัด โดยพบ ว่าต้อกระจกกลุ่มไม่บอด (non-blinding) หลังผ่าตัดสายตาดีขึ้น มากกว่าต้อกระจกกลุ่มบอด (blinding cataract) ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับน้อยกว่า 0.05 แต่หลังผ่าตัดต้อกระจกที่ 1 เดือน และ 6 เดือนไม่ขึ้นอยู่กับระดับการมองเห็นก่อนผ่าตัด
สรุป: การจัดการต้อกระจกแบบบูรณาการณ์กับระบบสุขภาพอำเภอ เป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาจักษุสาธารณสุข ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทพื้นที่ โดยพบว่าการเพิ่มการเข้าถึงบริการผ่าตัดต้อกระจกที่เร็วจะมีผลลัพธ์การ มองเห็นได้ดีกว่าต้อกระจกกลุ่มบอด (blinding cataract)
Article Details
References
2. อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์. ประเด็นปัญหา โครงการผ่าตัดต้อกระจก สปสช. (งบหมวด เฉพาะโรค) ความผิดพลาดเชิงนโยบาย (ตั้งใจ หรือผิดพลาด) [Internet]. Available from: https://www.manager.co.th/Daily/ ViewNews.aspx?Newsl D=9580000061944.
3. เร่งผ่าตัดผู้ป่วยต้อกระจกชนิดบอด หลังพบ ตกค้าง 7 หมื่นคน-Manager Online [Internet], 17:59:00+07:00 [cited 2016 Dec 23], Available from: https//mgronline. com/qol/detail/9580000061237.
4. ชำนิ จิตตรีประเสริฐ. กระทรวงสาธารณสุข สร้างหน่วยผ่าตัดต้อกระจกเคลื่อนที่ไฮเทค รุกบริการที่โรงพยาบาลชุมชน. สารกรมการ แพทย์ 2558;21:1:4.
5. WHO I What is VISION 2020? [Internet]. WHO. [cited 2016 Mar 20], Available from: https://vwvw.who.int/blindness/ partnerships/vision2020/en/.
6. WHO I Global data on visual impairment [Internet]. WHO. [cited 2016 Mar 20], Available from: https://www.who. int/blindness/publications/globalda- ta/en/.
7. Resnikoff S, Pascolini D, Etya’ale D, Kocur I, Pararajasegaram R, Pokharel GP, et al. Global data on visual impairment in the year 2002. Bull World Health Organ. 2004 Nov;82(11): 844-51.
9. GLOBALDATAFINALforweb.pdf [Internet], [cited 2016 Mar 20], Available from: https://vvvvw.who.int/ blindness/GLOBALDATAFINALforweb. pdf.
10. สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ. การบริหารงบบริการทางการแพทย์เหมาจ่าย รายหัว. กรุงเทพมหานคร : บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง จำกัด ; 2557. หน้า 59-133.
11. ผ่าต้อกระจก สปสซ,ไม่ลดตาบอด ผุดโครงการใหม่เร่งคัดกรอง ส่งผ่าใน 30 วัน [Internet], Manager Online, [cited 2016 Mar 20], Available from: https:// manager.co.th/QOL/ViewNews. aspx?NewslD=9580000066155.
11. WHO I Global data on visual impairment [Internet]. WHO. [cited 2016 Mach 20], Available from: https:// www.who.int/blindness/publications/ globaldata/en/.
12. Abhirung chiwiratana. Integrated Cataract Management. Thai journal of public health ophthalmology 2009;22.32-41.
13. สายพิณ หัตถีรัตน์. คู่มือหมอครอบครัว ฉบับสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน; 2549.
14. Lindfield R, Vishwanath K, Ngounou F, Khanna RC. The challenges in improving outcome of cataract surgery in low and middle income countries. Indian J Ophthalmol. 2012;60(5):464-9.
15. Informal Consultation on Analysis of Blindness Prevention Outcomes (1998: Geneva S, Deafness WP for the p of B and. Informal Consultation on Analysis of Blindness Prevention Outcomes, Geneva, 16-18 February 1998. 1998 [cited 2016 Mar 20]; Available from: https://www.who.int/ iris/handle/10665/67843.