การพัฒนาแบบประเมินแรกรับผู้ป่วยบาดเจ็บ

Main Article Content

วัชชรีภรณ์ รัตรสาร

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การดูแลผู้ป่วยทีได้รับบาดเจ็บ (trauma) เมื่อแรกรับเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุด ช่วงหนึ่งของการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยบาดเจ็บที่เสียชีวิตในโรงพยาบาล จะเสียชีวิตในช่วงนี้ (golden hour) และประมาณหนึ่งในสาม ของผู้ป่วยอาจรอดชีวิตถ้าได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง ดังนั้นผู้ป่วยบาดเจ็บ รุนแรงในระยะแรกจะต้องได้รับการประเมิน การตรวจ และการให้การดูแล รักษาตามลำดับความเร่งด่วน เพื่อแก้ไขภาวะที่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้อย่างทันท่วงที ซึ่งหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมอุบัติเหตุ โรงพยาบาลสุรินทร์ยังไม่มีแบบ ประเมินดังกล่าว
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการใช้แบบประเมินแรกรับผู้ป่วยบาดเจ็บที่พัฒนาขึ้น ด้านความง่าย ความสามารถ ความพึงพอใจในการใช้ และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความ ง่าย ความสามารถ และความพึงพอใจในการใช้ในพยาบาลวิชาชีพที่มี ประสบการณ์การอบรมเฉพาะทางระยะสั้น (4 เดือน) การพยาบาลผู้ป่วย วิกฤตผู้ใหญ่ที่ต่างกัน
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพัฒนา (research and development) ประกอบด้วย
2 ระยะได้แก่ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการประเมินแรกรับผู้ป่วยบาดเจ็บ และระยะที่ 2 การทดลองใช้ และวิเคราะห์ผลการใช้โดยสถิติเชิงพรรณนา ในการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล ความง่าย ความสามารถ และความพึงพอใจ ในการใช้ แบบประเมินแรกรับผู้ป่วยบาดเจ็บ นำเสนอด้วยค่าจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรโดย ใช้ t-test และ one-way ANOVA
ผลการศึกษา: ได้แบบการประเมินแรกรับผู้บาดเจ็บ ผลความง่าย ความสามารถ และ ความ
พึงพอใจในการใช้แบบประเมินแรกรับผู้ป่วยบาดเจ็บคิดเป็นร้อยละ 74.3, 72.1 และ 53.3 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบในพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์ การอบรมเฉพาะทางระยะสั้น (4 เดือน) การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตผู้ใหญ่ที่ผ่าน การอบรมและไม่ผ่านการอบรม พบว่า ค่าเฉลี่ยความง่าย ความสามารถใน การใช้ไม่แตกต่างกัน และพบว่าค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในการใช้แบบประเมิน แรกรับผู้ป่วยบาดเจ็บมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 โดยผู้ที่ผ่านการอบรมเฉพาะทางมีระดับความพึงพอใจมากกว่าผู้ที่ไม่ผ่านการ อบรม
สรุป: ความสามารถ และความง่ายในการใช้แบบการประเมินแรกรับผู้ป่วยบาดเจ็บ ที่สร้างขึ้น อยู่ในระดับมาก พบว่าความพึงพอใจในการใช้อยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากมีเนื้อหามาก และต้องใช้เวลาในการบันทึก

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. กัญญารัตน์ ผึ่งบรรหาร, ฐิติ ภมรศิลปะธรรม และลัดดา มีจันทร์. การพัฒนารูปแบบการ ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบในภาวะวิกฤต โรงพยาบาลอุตรติดถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2557 มกราคม - มิถุนายน; 6(1):24-37.

2. John, A.B., John J.L., Thomas, S., Creagh B., Thomas J.P.,Sarah, R., et al. 7. The right team at the righttime: Multidisciplinary approach to multi-trauma patient with orthopedic injuries. OPUS 12 Scientist 2012; 6(1): 6-10.

3. ปรีชา ศิริทองถาวร, เรวัต ชุณหสุวรรณกุล, กฤษณ์ แก้วโรจน์, และอนันต์ ตัณมุขยกุล, บรรณาธิการ. การประเมินเบื้องต้นและการช่วยเหลือในห้องฉุกเฉิน. ศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ 13. กรุงเทพๆ: เรือนแก้วการพิมพ์; 2547, หน้า 97-124.

4. Likert, Rensis A. New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill 9 Book Company Inc.; 1961.
5. Newberry, L. Emergency Nursing Principle and Practice. Philadephia: Mosby; 2003.

6. Demetriades, D. The Initial Assessment and Management of the Trauma Patient. 6th ed. Division of Trauma and Surgical Care Department of Surgery: University of southern California; 2013.

7. วิจิตรา กุสุมภ์ และอรุณี เฮงยศมาก. NANDA NURSING DIAGNOSIS ข้อวินิจฉัยทางการ พยาบาลตามรูปแบบของ NANDA. กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์; 2551.

8. สุนิดา อรรถอนุชิต. การพัฒนาและการประเมินประสิทธิภาพแนวปฏิบัติการพยาบาลในการประเมินสภาพแรกรับของผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหลายระบบที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอุบัติเหตุโรงพยาบาลปัตตานี. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย หาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2552).

9. อำนาจ จิตรวรนันท์. แนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประขารักษ์ 2553 กรกฎาคม-ธันวาคม; 6(2) 2553:51-65.