ประสิทธิผลของการใช้น้ำมันละหุ่งสูตรดั้งเดิมและน้ำมันละหุ่งสูตรสมุนไพร ในการเตรียมลำไส้ใหญ่ ก่อนการตรวจพิเศษทางรังสีของลำไส้ใหญ่ ด้วยวิธีการสวนแป้งแบเรี่ยม

Main Article Content

สุกัญญา เศรษฐมาก

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การตรวจพิเศษทางรังสีของลำไส้ใหญ่ด้วยวิธีการสวนแป้งแบเรี่ยม (Barium enema BE) ในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ใช้วิธีการให้ผู้ป่วยรับประทานยาระบาย น้ำมันละหุ่ง 2 วันก่อนมาตรวจเพื่อเตรียมลำไส้ให้สะอาดอย่างไรก็ตามพบว่า มีอัตราการเลื่อนตรวจในปี 2557, 2558 เป็นร้อยละ 28.2, 38.1 ตามลำดับ เนื่องจากลำไส้ไม่สะอาดพอจากการที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานน้ำมันละหุ่งได้ตามคำสั่งแพทย์ ผู้วิจัยจึงพัฒนาน้ำมันละหุ่งสูตรสมุนไพรขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการเตรียมลำไส้ ระหว่างวิธีการรับประทาน น้ำมันละหุ่งสูตรดั้งเดิม และน้ำมันละหุ่งสูตรสมุนไพรต่อความสะอาดของลำไส้ ความพึงพอใจของความยากง่ายในการรับประทาน
สถานที่ศึกษา: กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลบุรีรัมย์
ประชากรที่ศึกษา: ผู้ป่วยที่ได้รับการส่งตรวจพิเศษทางรังสีวิทยาของลำไส้ใหญ่ ด้วยวิธีการสวน แป้งแบเรียมในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ อายุ 18-85 ปี ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง ธันวาคม 2559
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงทดลองทางคลินิกแบบ Prospective randomized control โดยแบ่งผู้ป่วย เป็น 2 กลุ่มโดยวิธีสุ่ม กลุ่มที่ 1 กินน้ำมันละหุ่งสูตรดั้งเดิม กลุ่มที่ 2 กินน้ำมันละหุ่งสูตรสมุนไพรโดยให้รับประทานน้ำมันละหุ่ง 60 ซีซี 2 วันก่อนการตรวจ และประเมินความสะอาดของลำไส้จากฟิล์มช่องท้อง
โดยรังสีแพทย์ ประเมินความพึงพอใจความสำเร็จในการรับประทานยาและ ความยากง่ายในการรับประทานน้ำมันละหุ่ง ด้วยวิธี Likert scales.truทึก ข้อมูล เพศ, อายุ, ผลข้างเคียง วิเคราะห์ผลทางสถิติโดยใช้ student T test, chi square.
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยในการศึกษาทั้งสิ้น 100 ราย พบว่าประสิทธิภาพในการเตรียมลำไส้โดยประเมินจากความสะอาดของลำไส้ ของทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (p= 0.007) ความพึงพอใจของผู้ป่วยจากความยากง่าย ในการรับประทานน้ำมันละหุ่งของทั้ง 2 กลุ่มก็ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p= 0.20)
สรุป: ยาระบายน้ำมันละหุ่งสูตรสมุนไพร มีประสิทธิภาพทำให้ความสะอาดของลำไส้ใหญ่ดีกว่าน้ำมันละหุ่งสูตรดั้งเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบความ สำเร็จของการรับประทานยา, ความพึงพอใจของกลิ่นและรสชาติมากกว่า น้ำมันละหุ่งสูตรดั้งเดิมด้วย จึงน่าจะนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การเตรียม ผู้ป่วยสวนแป้งแบเรียมได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Steine S. Which hurts the most? A comparison of pain rating during double-contrast barium enema examination and colonoscopy. Radiology 1994;191:99-101.

2. Patton DD, Woolfenden JM. A utility-based model for comparing the cost+effectiveness of diagnostic studies. Invest Radiol 1989;24:263-71.

3. Miller RE. The cleansing enema. Radiology 1975;117:486-5.

4. นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์. ยาที่ใช้ในระบบทางเดินอาหาร. ใน: จุฑามณีสุทธิสีสังข์, รัชนี เมฆมณี, บรรณาธิการ. เภสัชวิทยา เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพๆ: 2546:495

5. สมิง เก่าเจริญ, ศิรประภา แสงจันทร์, อริศร์ เทียนประเสริฐ. ยาถ่ายหรือยาระบาย นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 62. 2527. [เข้าถึงเมื่อ 8 ต.ค. 2559], เข้าถึงได้จาก :URL: https://www.doctor.or.th/ article/detail/6185

6. ปิยาภรณ์ อภิสารธนรักษ์, เบญจพร โรจนอารีย์, จุฬาลักษณ์ โกมลตรี, อภิญญา เจริญศักดิ์, อนุชา อภิสารธนรักษ์, นฤมล ศรีสุธาพรรณ ฮารโกรฟ. การศึกษาเปรียบเทียบน้ำมันละหุ่งและยาระบายในกลุ่มโซเดียมฟอสเฟต ในการเตรียมลำไส้ใหญ่ก่อนการตรวจโดยการสวนแป้ง. วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ 2552;92;2:243-9.

7. พนิดา พันธุรัตน์. โครงการเปรียบเทียบยาระบายน้ำมันละหุ่งและเกลือฟอสเฟตใช้ในการเตรียมลำไส้ก่อนการตรวจทางรังสีระบบทางเดินปัสสาวะด้วยการฉีดสารทึบรังสี. ศรีนครินทร์เวชสาร 2008;23:1:107-12.

8. มนัส เพลินชัยวาณิช. การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยาระบายน้ำมันละหุ่งและยามะขามแขกในการเตรียมลำไส้เพื่อลดปริมาณอุจจาระตกค้างก่อนการตรวจ IVP ของโรงพยาบาลจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2557;10:72-82.