ลักษณะทางคลินิกของผู้คลอดที่ต้องผ่าตัดมดลูกฉุกเฉิน จากภาวะตกเลือดหลังคลอด ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

Main Article Content

ศรีวรรณ เสมาชัย

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ภาวะตกเลือดหลังคลอดเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้มารดาเสียชีวิต แม้ว่าจะมีการพัฒนา การดูแลคุณภาพการดูแลหญิงตั้งครรภ์โนกลุ่มเสี่ยง พัฒนาคุณภาพยา ที่ช่วยในการหดรัดตัวของมดลูก ตลอดจนเทคนิคการผ่าตัด แต่ยังคงมีผู้คลอด บางกลุ่มทีไม่ตอบสนองต่อการรักษา แพทย์จำเป็นต้องให้การรักษาด้วยการผ่าตัด มดลูกฉุกเฉิน ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การตัดมดลูกฉุกเฉินในแต่ละรายยังไม่มีข้อสรุป ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาลักษณะทางคลินิกของผู้คลอดที่สัมพันธ์กับการตัด มดลูกฉุกเฉินจากภาวะตกเลือดหลังคลอดโนโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
วัตถุประสงค์: เพี่อหาอุบัติการณ์ ข้อบ่งชี้ ลักษณะทางคลินิก'ของผู้คลอดที่มีความสัมพันธ์กับ การตัดมดลูกฉุกเฉินจากภาวะตกเลือดหลังคลอด
รูปแบบการวิจัย: เป็นการศึกษาแบบ retrospective hospital based descriptive และ case control
สถานศึกษา: กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
วิธีการศึกษา: รวบรวมข้อมูลของผู้คลอดจากเวชระเบียนของโรงพยาบาล
กลุ่มศึกษา: หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไปทุกรายที่คลอดที่โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา และได้รับการผ่าตัดมดลูกฉุกเฉินจากภาวะตกเลือดหลังคลอดภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด ในช่วง มกราคม พ.ศ. 2544 – ธันวาคม พ.ค. 2552 กลุ่ม control ได้แก่หญิงตั้งครรภ์ที่คลอดก่อนและหลังผู้คลอดรายที่ศึกษาโดยใช้ก่อนหน้า 2 ราย และหลัง 2 ราย ข้อมูลที่ได้จะถูกนำมารเคราะห์ทางสถิติ เพื่อหาอุบัติการณ์ ข้อบ่งขี้ ลักษณะทางคลินิกของผู้คลอดที่มีความสัมพันธ์กับการตัดมดลูกฉุกเฉิน จากภาวะตกเลือดหลังคลอดและภาวะแทรกซ้อนที่พบ
ผลการศึกษา: ในช่วงระยะเวลาที่ศึกษามีผู้คลอดที่อายุครรภ์ตั้งแต่ 28 สัปดาห์ขึ้นไป คลอดที่ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสิมาทั้งสิน 74,925 ราย ใน1จำนวนนี้มี 124 ราย ทีได้รับการผ่าตัดมดลูกฉุกเฉินจากภาวะตกเลือดหลังคลอด คิดเป็นอุบัติการณ์ 1.65 ต่อ 1000 การคลอด เวชระเบียนครบ 117 ราย พบข้อบ่งชี้ คือ ภาวะ รกเกาะติดแน่น (ร้อยละ 58.12) มดลูกไม่หดรัดตัว (ร้อยละ 32.48) มดลูกแตก (ร้อยละ 9.4) จากการวิเคราะห์พหุปัจจัยพบลักษณะทางคลินิกของผู้คลอดที่เป็น ความเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญได้แก่ อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 35 ปี เคยคลอดบุตร คลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ คลอดโดยการผ่าตัดคลอด มีภาวะรกลอกตัว ก่อนกำหนด มีภาวะรกเกาะต่ำและมีความตันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ เมื่อ พิจารณาผู้คลอดที่ต้องตัดมดลูกฉุกเฉินจำแนกตามข้อบ่งชี้พบว่าในกลุ่มรกเกาะติด แน่นเคยผ่าตัดคลอดร้อยละ 69.1 และมีภาวะรกเกาะต่ำร้อยละ 66.2 มากกว่า อีกสองกลุ่มอย่างชัดเจน กลุ่มมดลูกไม่หดรัดตัวและกลุ่มมดลูกแตก มีภาวะ ความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ (ร้อยละ 29 และร้อยละ 36.4) และรกลอก ตัวก่อนกำหนด (ร้อยละ 15.8 และร้อยละ 18.2) สูงกว่ากลุ่มรกเกาะติดแน่นอย่างชัดเจน การบาดเจ็บต่ออวัยวะใกล้เคียงพบมากที่สุดในกลุ่มรกเกาะติดแน่น พบการฉีกขาด,ของกระเพาะปัสสาวะ 1 ราย การฉีกขาดของลำไส้ 2 ราย ผ่าตัด มดลูกในขณะผ่าตัดคลอดมากที่สุดในกลุ่มรกเกาะติดแน่น (ร้อยละ 83.8) กลุ่ม มดลูกไม่หดรัดตัวผ่าตัดมดลูกหลังจากคลอดทางช่องคลอดมากที่สุด (ร้อยละ 39.5) และมีภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติมากที่สุด (ร้อยละ 34.2) มีผู้คลอด เสียชีวิต 3 ราย อยู่ในกลุ่มมดลูกไม่หดรัดตัวและมีภาวะการแข็งตัวของเลือด ผิดปกติทั้ง 3 ราย ได้รับการผ่าตัดมดลูกหลังคลอดทางช่องคลอดนาน 230 นาที 250 นาที และ 360 นาทีตามลำดับ
สรุป: การดัดมดลูกฉุกเฉินจากภาวะตกเลือดหลังคลอด มีแนวโน้มจะพบได้บ่อยขึ้น ลำหรับสูติแพทย์โนยุคปัจจุบัน เหตุเพราะมีการตั้งครรภ์โนสตรีที่มีอายุมากขึ้น ประกอบกับอัตราการผ่าตัดคลอดที่สูงขึ้น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Health Organization. Marternal mortality in 2000; estimates developed by WHO. UNICEF, and UNFPA. Geneva: WHO; 2004.

Abou Zahr C. Global burden of maternal death and disability. Br Med Bult. 2003; 67: 1-11.

ACOG Practice Bulletin. Clinical management guidelines for obstetrician- gynecologists number 76, Obtober 2006: postpartum hemorrhage. Obstet Gynecol 2006; 108: 1039-47.

World Health Organization. Recommendation for the Prevention of Postpartum Hemorrhage. Geneva: WHO 2007.

Mukhejee S, Arulkumaran S. Postpartum hemorrhage Obstet Gynecol Repro Med 2009; 19: 121-6.

Robert M Silver. Postpartum hemorrhage. Clin Obstet Gynecology 2010; 53: 145-46.

Flood KM, Said S, Geary M, Robson M, Fitzpatrick C, Malone FD. Changing trends in peripartum hysterectomy over the last 4 decades. Am J Obstet Gynecol 2009; 200: 632 e1-632 e6.

Stanco LM, Schrimmer DB, Paul RH, Mishell DR. Emergency peripartum hysterectomy and associated risk factors. Am J Obstet Gynecol 1993; 168: 879-83.

Thinkhanmarop J, Lumbiganon P, Chuengmunkong C. EPH : A 15 year Experience at Srinagarind Hospital, Khon Kaen University. Thai J Obstet Gynecol 1997; 9: 285-92.

Kaemar J, Bhimani L, Boyd M, Shah-Hosse ini R, Peipert JF. Route of Delivery as a Risk Factor for Emergent Peripartum Hysterectomy : A case-control study. Obstet and Gynecol 2003; 102: 141-45.

Watansomsiri N, Rungruxsirivorn T, Chaithongwongwatthana S. Risk Factors for Cesarean Hysterectomy in Cesarean Delivery. J Med Assoc Thai 2006; 89 suppl 4: S110-S14.

Kwee A, Bots ML. viser GHA, Bruinse HW. Emergency peripartum hysterectomy : A prospective study in The Netherlands. Eur J Obstet Gynecol Reprod Biol 2006; 124: 187-92.

Eniola OA, Bewley S, Waterstone M, Hooper R, Wolfe CD. Obstetric hysterectomy in a population of South East England. J Obstet Gynecol 2006; 26: 104-9.

Yamasmit W, Chaithongwongwatthana S. Risk factor for Cesarean hysterectomy in Tertiary center in Thailand: A case-control study. J Obstet Gynecol Res 2009; 35: 60-65.

Lone F, Sultan AH, Thakar R, Beggs A. Risk factors and management pattern for emergency obstetric hysterectomy over 2 decades. Int J Gynecol Obstet 2010; 109: 12-15.

Roethisberger M, Womastek I, Posh M, Husslein P, Pateisky N, Lehner R. Early Pospartum hysterectomy: incidence and risk factor. Acta Obstetricia et Gynecologica 2010; 89: 140-44.

Rossi AC, Lee RH, Chamait RH. EPH for Uncontrolled Postpartum Bleeding. A systemic Review. Obstet Gynecol 2010; 115: 637-44.

Cleary-Goldman J, Malone FD, Vidaver J, et al: Impact of maternal age on obstetric outcome. Obstet Gynecol 2005; 105:983-90.

Silver RM, Landon MB, Rouse DJ, et al: Maternal morbidity associated with multiple repeat cesarean deliveries. Obstet Gynecol 2006; 107:1226-31.

Porreco RP, Atettle RW. Surgical remedies for Postpartum hemorrhage. Clin Obstet Gynecol 2010, 53: 182-95.

Ingebeorg BE, Susanee A, Ole EI. Peripartum hysterectomy incidence and maternal morbidity. Acta Obstet Gynecol Scand 2001; 80: 409-12.

Chanrachakul B, Chaturachinda K, Phuapradit W, Roungsipragarn R. Cesarean and postpartum hysterectomy. Int J Gynecol Obstet 1996; 54: 109-13.

Kastner ES, Figueroa R, Garry D, Maulik D. Emergency Peripartum Hysterectomy : Experience at a Community Teaching Hospital. Obstet Gynecol 2002; 99: 971-75.

Barclay DL. Cesarean Hysterectomy Thirty Years Experience. Obstet Gynecol 1970; 35: 120-30.

Finberg HJ, Williams JW. Placenta Adherent : Prospective Sonographic Diagnosis in Patient with Placenta Previa and Prior Cesarean fection. J ultrasound Med 1992; 11: 333-43.

Baughman WC, Corteville JE, Shak RR. Placenta accrete : spectrum of us and MR imaging findings. Radiographics. 2008,28:1005-16.