การใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปีที่ป่วยด้วยโรคอุจจาระ ร่วงเฉียบพลันในโรงพยาบาลอำนาจเจริญ
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: ปัญหาอุจจาระร่วงเฉียบพลันเป็นสาเหตุที่สำคัญอันดับต้นๆ ของการป่วยและ การตายในเด็กทั่วโลก การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะแนะนำให้ใช้ในกรณีของการ ถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือดหรือสันนิษฐานว่าเป็นเชื้ออหิวาตกโรคเท่านั้น แต่ทางเวชปฏิบัติพบว่ามีการใช้ยาปฏิชีวนะกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก ซึ่งข้อมูลปัจจุบันของ ประเทศไทยในเรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยเด็กโรคอุจจาระร่วงยังคง ขาดแคลนอยู่
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสมเหตุสมผลของการใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยเด็กโรคอุจจาระร่วง เฉียบพลัน ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะอาการและอาการแสดงของผู้ป่วยกับการให้ยาปฏิชีวนะ รวมถึงชนิดของเชื้อก่อโรค ความไวของเชื้อก่อโรคต่อยาและ ชนิดของยาปฏิชีวนะที่ใช้
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง โดยรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยในโรคอุจจาระ ร่วงเฉียบพลัน อายุตั้งแต่ 1 เดือนถึง 5 ปีที่รับไว้เป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล อำนาจเจริญ ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2553 ถึง 31 สิงหาคม 2553 จำนวน 87 ราย โดยความสมเหตุสมผลของการให้ยาปฏิชีวนะ คือ กรณีที่ถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือด สันนิษฐานว่าเป็นเชื้ออหิวาตกโรค ตรวจพบเม็ดเลือดขาวในอุจจาระมากกว่า 10 cells/HPF รวมถึงไม่ให้ยาปฏิชีวนะในกรณีถ่ายอุจจาระไม่มีมูกเลือด
ผลการศึกษา: จากประชากรในกลุ่มศึกษาทั้งหมด 87 ราย พบว่ามีการใช้ยาปฏิชีวนะ 60 ราย (ร้อยละ 69) ในวันแรกของการรักษาในโรงพยาบาล โดยพบลักษณะอุจจาระ ที่เป็นมูกเลือดที่ควรได้รับยาปฏิชีวนะตามเกณฑ์ของ WHO เพียง 15 ราย (ร้อยละ 17.2) มีความสมเหตุสมผลของการใช้ยาปฏิชีวนะ 42 ราย (ร้อยละ 48.3) มีผู้ป่วยที่ได้รับการส่งเพาะเชื้ออุจจาระ 73 ราย โดยผลเพาะเชื้อขึ้นทั้งหมด 12 ราย โดยมี Salmonella gr. B 4 ราย Salmonella gr. c 2 ราย ชนิดของ ยาปฏิชีวนะที่ผู้ป่วยได้รับมากที่สุด คือ ceftriaxone ส่วนการศึกษาถึงความสัมพันธ์ ระหว่างลักษณะอาการและอาการแสดงของผู้ป่วยกับการให้ยาปฏิชีวนะ พบว่าไม่ว่าจะเป็นอายุ ระยะเวลาที่มีอาการอุจจาระร่วง จำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระ ต่อวัน รวมถึงอุณหภูมิของร่างกายและความรุนแรงของภาวะขาดน้ำของผู้ป่วย ล้วนไม่มีความสัมพันธ์กับการให้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มศึกษา
สรุปผลการศึกษา: ทางเวชปฏิบัติพบว่ามิการใช้ยาปฏิชีวนะกันอย่างแพร่หลาย มากกว่าเน้นถึงวิธีที่มีประสิทธิภาพในการรักษา เช่น การให้สารละลายเกลือแร่ เราจึงควรรณรงค์ ให้ความรู้แก่ประชาชนในการดูแลตนเองเบื้องต้นที่บ้าน โดยใช้สารละลาย เกลือแร่ รวมถึงปรับปรุงแนวทางการรักษาของแพทย์ผู้รักษาเพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุสมผลในการรักษาผู้ป่วยเด็กโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน
Article Details
References
นิพัทธ สีมาขจร.อุจจาระร่วงฉับพลัน. ใน: วันดี วราวิทย์,บรรณาธิการ. แนวเวชปฏิบัติ โรคทางเดินอาหารในเด็ก พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บียอนด์ เอ็นเตอร์ไพรซ; 2549. หน้า 160.
Choprapawon C. Health status of Thai people. Thai health in the year 2000 series. Bangkok: Maochaobaan Press, 2000.
สาธารณสุขชี้ผลรณรงค์กินร้อน ใช้ช้อนกลาง ล้างมือ ได้ผล [online]. 2010 Oct 27 [cited 2010 Nev 10]; Available from: URLhttps://www.media.thaigov.go.th/pageconfig/viewcontent/viewcontentl. asp?pageid= 471 &directory=l829&contents=37924
Zulfiqar AB. Acute Gastroenteritis in Children. In: Behrman RE, Kleigman RM, Jenson HB, editors. Nelson textbook of pediatrics. 18th ed. Philadelphia: Saunders; 2008. p. 1609-15.
World Health Organization. The Treatment of Diarrhea. A Manual for Physicians and Other Senior Health Workers. Geneva: WHO, 2005; WHO/ CDD/SER/80.2.
Osatakul S, Puetpaiboon A. Appropriate use of empirical antibiotics in acute diarrhea: a cross-sectional survey in southern Thailand. Ann Trop Pediatr 2007;27:115-22.
Howteerakul N, Higginbotham N, Dibley MJ. Antimicrobial use in children under five years with diarrhea in a central region province, Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2004;35:181-7
Beria JU, Damiani MF, dos Santos IS, Lombardi C. Physicians’ prescribing behavior for diarrhea in children: an ethnoepidemiological study in Southern Brazil. Soc Sci Med 1998;47:341-6.
Karras DJ, Ong S, Moran GJ, et al. Antibiotic use for emergency department patients with acute diarrhea: prescribing practices, patient expectations and patient satisfaction. Ann Emerg Med 2003; 42:835-42.
Bojalil R, Calva JJ. Antibiotic misuse in diarrhea. A household survey in a Mexican community. J Clin Epidemiol 1994;47:147-56.
Nizami SQ, Khan IA, Bhutta ZA. Drug prescribing practices of general practitioners and paediatricians for childhood diarrhea in Karachi, Pakistan. Soc Sci Med 1996;42:1133-9.
Singh J, Bora D, Sachdeva V, Sharma RS, Verghese T. Prescribing pattern by doctors for acute diarrhea in young children in Delhi, India. J Diarrhoeal Dis Res 1995;13:229-31.
Gani L, Arif H, Widjaja SK, et al. Physicians’ prescribing practice for treatment of acute diarrhoea in young children in Jakarta. J Diarrhoeal Dis Res 1991;9:194-9.
Harris S, Black RE. How useful are pharmaceuticals in managing diarrheal disease in developing countries. Health Policy Plan 1991;6:141-7.
Bojalil R, Calva JJ. Antibiotic misuse in diarrhea. A household survey in a Mexican community. J Clin Epidemiol 1994;47:147-56.
วันดี วราวิทย์. โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน. ใน: ประพุทธ สิริปุณย์, บรรณาธิการ. ตำรากุมารเวชศาสตร์ เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โฮลิสติก พับลิชชิ่ง; 2540. หน้า 698.
Stoll BJ, Glass RI, Banu H, Huq MI, Khan MU, Ahmed M. Value of stool examination in patients with diarrhea. Br Med J 1983;286:2037-40.
Osatakul S, Tangadullart C. The appropriate use of empirical antibiotic in children with acute diarrhea in Songklanagarind Hospital. Songkla Med J 1999;17:25-30.
Echeverria P, Taylor DN, Lexomboon U, et al. Case-control study of endemic diarrheal disease in Thai children. J Infect Dis 1989;159:543-8.
Hoge CW, Gambel JM, Srijan A, Pitarangsi C, Echeverria P. Trends in antibiotic resistance among diarrheal pathogens isolated in Thailand over 15 years. Clin Infect Dis 1998;26:341-5.