ผลการฟื้นฟูสมรรถภาพและการให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

สมพร ชูเชิด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการฟื้นฟูสมรรถภาพและการให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอด เลือดสมอง และญาติ โดยใช้คู่มือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง คู่มือการดูแลสุขภาพผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองและญาติ และ แบบบันทึกการทำกายภาพ
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ Experimental study (Intervention study) กลุ่มประชากร ที่ศึกษา คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เป็นผู้ป่วยรายใหม่ ที่ได้รับการ วินิจฉัยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 102 คน score 9 ขึ้นไป แบ่งกลุ่มผู้ป่วย เป็น 2 กลุ่มโดยทั้งสองกลุ่มได้รับการดูแลตามแผนการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมองของโรงพยาบาลสุรินทร์เหมือนกัน แต่กลุ่มศึกษาได้รับเอกสารเพิ่ม 3 ชนิด คือ คู่มือการฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง คู่มือการดูแล สุขภาพผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง และแบบบันทึกการทำกายภาพเพิ่มขึ้น ประเมินโดย ใช้แบบสอบถามและแบบประเมินผู้ป่วย ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม ทั้ง 2 กลุ่มวิเคราะห์โดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Repeated measurement. เปรียบเทียบระหว่างสองกลุ่ม
ผลการศึกษา: ผลการศึกษาในกลุ่มศึกษาหลังจากการให้คู่มือการฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้สูงอายุ โรคหลอดเลือดสมอง คู่มือการดูแลสุขภาพผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง และญาติ และแบบบันทึกการทำกายภาพ พบว่า คะแนนเฉลี่ยองค์ความรู้เรื่อง โรคหลอดเลือดสมองทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มศึกษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P = 0.05 (Repeated measurement = 0.000) คะแนน เฉลี่ยของการทำกิจวัตรประจำวัน (ADL) ทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มศึกษามีความ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P = 0.05 (Repeated measurement = 0.000 คะแนนเฉลี่ยของการทำกิจกรรม (IDL) ทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มศึกษา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P = 0.05 (Repeated measurement 0.000) คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตของทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มศึกษา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P = 0.05 (Repeated measurement = 0.000) ขณะเดียวกันพบว่าปัญหาด้าน Motor ลดลง (ระดับ Motor 4-5 เพิ่มขึ้น)
สรุป: หลังจากใช้คู่มือการฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง คู่มือการ ดูแลสุขภาพผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองและญาติ และแบบบันทึกการทำ กายภาพ ระดับการทำกิจวัตรประจำวัน (ADL) และกิจกรรม (IDL) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Repeated measurement= 0.000) รวมทั้งระดับคุณภาพชีวิต พบว่าผู้สูงอายุในกลุ่มศึกษามีระดับคะแนนคุณภาพชีวิตสูงกว่ากลุ่มควบคุม โปรแกรมการดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองที่เน้นให้ความรู้เรื่องโรคและการ ทำกายภาพบำบัดโดยมีการติดตามด้วยการบันทึกกิจกรรม การเยี่ยมบ้าน การนัดพบแพทย์ และควบคู่กับการดูแลตามแผนการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของโรงพยาบาล อาจสามารถลดค่าใช้จ่ายและการนอนโรงพยาบาลในระยะยาวได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กลุ่มงานประสาทวิทยา. คู่มือโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพาต อัมพฤกษ์) สำหรับประชาชน. สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ; 2548.

กลุ่มงานมาตรคลินิก. แนวทางเวชปฏิบัติการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกจากโรคหลอดเลือดสมอง สำนักพัฒนาวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ ; 2548.

โรคหลอดเลือดสมอง มหันตภัยเงียบสายพันธุ์ใหม่. Available at URL http: llelib.fda.moph.gh. th/default.asp?page=news_detail&id=186 (Accessed September 2006)

โรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ (Stroke in the Elderly). การดูแลรักษาโรคผู้สูงอายุแบบสหสาขาวิชา. สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ; 2548.

โรงพยาบาลสุรินทร์. รายงานตัวชี้วัดประจำปี 2549. สุรินทร์ : ศูนย์พัฒนาคุณภาพ โรงพยาบาล สุรินทร์ ; 2549.

พิพัฒน์ ลักษมีจรัญกุล. กระบวนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ.องค์กร. กรุงเทพมหานคร : เจริญดีการพิมพ์ : 2542.