การศึกษาเปรียบเทียบอาการสำคัญ และลักษณะของก้อนเนื้อรังไข่ชนิดไม่ร้าย และชนิดมะเร็ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: มะเร็งรังไปมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับที่สองของมะเร็งนรีเวชในประเทศไทย รองจากมะเร็งปากมดลูก ในแต่ละปีพบผู้ป่วยมะเร็งรังไข่รายใหม่ 200,000 คน ทั่วโลกและมากกว่า 1,000 ราย ในประเทศไทย อัตราการอยู่รอด 5 ปีโดยเฉลี่ย ประมาณ 35% แม้ว่าจำนวนผู้ป่วยรายใหม่จะไม่มากนักและมักพบในระยะลุกลาม แล้ว ซึ่งใช้ค่าใช้จ่ายสูงในการรักษา และผลการรักษาไม่ดี อัตราการรอดชีพต่ำ คือ 25% ในระยะลุกลาม (FIGO stage III or IV) เมื่อเทียบกับ 80-90% ใน ระยะแรก (FIGO Stage I or II) ปัจจุบันยังไม่มีการตรวจคัดกรองที่มีประสิทธิภาพ เพียงพอเพื่อจะวินิจฉัยผู้ป่วยในระยะแรก
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบอาการสำคัญ และลักษณะของก้อนเนื้อรังไปชนิดไม่ร้าย และชนิดมะเร็ง
สถานที่ศึกษา: กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลศูนย์สุรินทร์
รูปแบบการวิจัย: ศึกษาเชิงพรรณนา แบบย้อนหลัง
วิธีการวิจัย: ทบทวนเวชระเบียนของผู้ป่วยที่เข้ารักษาด้วยการผ่าตัดก้อนเนื้องอกรังไข่ที่ รพ.ศูนย์สุรินทร์ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2553
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยจำนวน 199 ราย พบว่าเป็นมะเร็งรังไข่ 35 ราย อายุเฉลี่ยในกลุ่มที่เป็นมะเร็งและกลุ่มที่เป็นก้อนเนื้อรังไข่ชนิดไม่ร้าย คือ 48 ปี และ 37 ปี ตามลำดับ โดยผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 50 ปีจะมีความเลี่ยงในการเกิดมะเร็งมากกว่า อาการ สำคัญที่มารพ. ด้วยอาการท้องอืด คลำก้อนได้ที่ท้องน้อย และมีเลือดออกผิด ปกติทางช่องคลอด มีความสัมพันธ์กับมะเร็งรังไข่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ขนาดก้อนเนื้อรังไข่ที่มากกว่า 10 ซม. การพบก้อนเนื้อรังไป 2 ช้าง และตรวจพบก้อนเนื้อรังไข่ในหญิงวัยหมดประจำเดือน พบว่ามีโอกาสที่จะเป็น มะเร็งได้สูง มะเร็งรังไข่ชนิดเยือบุผิว (Epithelial ovarian cancer) เป็นมะเร็ง ที่พบมากที่สุดประมาณ 86% โดยพบชนิด serous มากที่สุด (40%) ส่วนในกลุ่ม มะเร็งจากเซลล์สืบพันธุ์ (Germ cell tumor) พบมะเร็งชนิด dysgerminoma มากที่สุด (67.7%) การบิดขั้วรังไข่เป็นภาวะแทรกช้อนที่พบได้บ่อยทั้งในกลุ่ม มะเร็งรังไข่และเนื้องอกรังไข่ชนิดไม่ร้าย จากการศึกษานี้พบผู้ป่วยมะเร็งระยะแรก 54%
สรุป: หญิงวัยหมดประจำเดือนโดยเฉพาะในกลุ่มอายุมากกว่า 50 ปี ที่มา รพ. ด้วยอาการ ท้องอืด คลำก้อนได้ที่ท้องน้อย และมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ควรได้รับการตรวจร่างกาย ตรวจภายใน และมีการสืบค้นเพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัยแยกโรค มะเร็งรังไข่ระยะแรก
Article Details
References
Quaye L, Gayther SA, Ramus SJ, Di Cioccio RA, McGuire V, Hogdall E, et al. The effects of common genetic variants in oncogenes on ovarian cancer survival. Clin Cancer Res 2008;14:5833-9.
Berrino F, De Angelis R, Sant M, Rosso S, Lasota MB, Coebergh JW, et al. Survival for eight major cancers and all cancers combined for European adults diagnosed in 1995-99: results of the EUROCARE-4 study. Lancet Oncol 2007;8:773-83.
Colombo N, Van Gorp T, Parma G, Amant F, Gatta G, Sessa C, et al. Ovarian cancer. Crit Rev Oncol Hematol 2006:60:159-79.
Benjapibal M, Suphanit I, Boribonhiransam D, Vichaidith P, Netphisuth A, Singto N. Primary ovarian tumors in postmenopausal women : a 10 - year review. Siriraj Hosp Gaz 2000; 52:307-12.
Lataifeh I, Marsden DE, Robertson G. Presenting symptoms of epithelial ovarian cancer. Aust N Z J Obstet Gynaecol 2005;45:211-4.
Goff BA, Mandel LS, Melancon CH, Muntz HG. Frequency of symptoms of ovarian cancer in women presenting to primary care clinics. JAMA 2004; 29: 2755-6.
Boyle P, Ferlay J Cancer incidence and mortality in Europe, 2004. Ann Oncol 2005; 16: 481-8.
Hani Gabra. FIGO staging for ovarian cancer, ed. D. Keith Edmonds. Obstetrics & Gynecology 7th ed. Blackwell publishing, 2007, pp 625-35. Published online 2008
Buys SS, Partridge E, Greene MH, Prorok PC, Reding D, Riley TL, et al. Ovarian cancer screening in the prostate, Lung, Colorectal and Ovarian (PLCO) cancer screening trial: findings from the initial screen of a randomized trial. Am J Obstret Gynecol 2005; 193:1630-9.
Rafiq B, Koiab H, Rao SI. Ovarian Tumors. Professional Med J 2005; 12: 397-403.
Olsen CM, Cnossen J, Green AC, Webb PM. Comparison of symptoms and presentation of women with benign, low malignant potential and invasive ovarian tumors. Eur J Gynaecol Oncol 2007; 28:376-80.
Sultanta A, Hasan S, Siddiqui QA. Ovarian tumors: A five years retrospective study at Abbasi Shahhed Hospital. Karachi Park J Surg 2005; 21: 37-40.
Yawn BP, Barrette BA, Wollan PC. Ovarian cancer: the neglected diagnosis. Mayo Clin Proc 2004; 79: 1277-82.
Ahmed FY, Wiltshaw RP, A’Hern B et al: Natural history and prognosis of untreated stage I epithelial ovarian carcinoma. J Clin Oncol 14:2968, 1996.
Amos Cl, Struewing JP: Genetic epidemiology of epithelial ovarian cancer. Cancer 71: 566, 1993.
Webb PM, Prudie DM, Grover S, Jordan S, Dick MI, Green AC. Symptoms and diagnosis of borderline, early and advanced epithelial ovarian cancer. Gynecol Oncol 2004;92:232-9.
William Hamilton. Risk of ovarian cancer in women with symptoms in primary care: population based case control study. BMJ 2009; 339: 6299.
Rufford BD, Jacobs IJ, Mennon บ. Feasibility of screening for ovarian cancer using symptoms as selection criteria. BJOG 2007; 114:59-64
Larry J. Copeland. The adnexal mass and early ovarian cancer. DiSaia. Creasman. Clinical Gynecologic Oncology 7th ed. Elsvier Inc.2007, pp 283-308.
Whittemore AS et al: Characteristics relating to ovarian cancer risk: Collaborative analysis of 12 UScase control study. Am J Epidemiol 136:1184, 1992.
Benjapibal M, Vichaidith P. Primary epithelial ovarian cancer and malignant germ cell tumor of ovary : A review of 368 case. Thai J Obstret Gynecol 2001;13:23-8.
Shaikh NA, Hashmi F, Samoo RP. Pattern of ovarian tumors: report of 15 years experience at Liaqat University Jamshoro. J Liaquat Uni Med Health Sci 2007; 6: 13-5
Gupta N, Bisht D, Agarwal AK, Sharma VK. Retrospective and prospective study f ovarian tumors and tumors like lesions. Indian J Pathol Microbiol 2007; 50: 525-7
Ahmad M, Masood T, Afzal S, Mubarik A. Clinicopathological study of 762 ovarian neoplasms at Army medical college Rawapindi. Pak J Pathol 2004;15: 147-52.