ไข้หวัดใหญ่สายพันธุใหม่ (เอช 1 เอ็น 1) 2009 ที่เสียชีวิต ในโรงพยาบาลศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
เหตุผลการวิจัย: ไข้หวัดใหญ่สายพันธุใหม่ (เอช1 เอ็น1) 2009 แพร่ระบาดทั่วโลก รวมทั้งใน ประเทศไทยอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงได้แก่ เด็ก, หญิงมีครรภ์, โรคปอดเรื้อรัง, โรคหัวใจ, เบาหวาน, ความผิดปกติเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน และ โรคอ้วน.หนึ่งในสามของผู้ป่วยที่เสียชีวิต เป็นผู้ที่ประวัติแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัวมาก่อน องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าการให้ Oseltamivir อย่างรวดเร็วจะช่วยลดอัตราการเสียชีวิต การติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม เป็นเหตุให้อาการทรุดลงเร็ว และเสียชีวิต
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย, ค้นหาปัจจัยเสี่ยง, ภาวะโรคประจำตัว, อาการ และอาการแสดง, ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ, การรักษา, การดำเนินโรค, ภาวะโรคแทรกซ้อน, ตลอดจนวิเคราะห์ถึงสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ 2009
รูปแบบการศึกษา: การวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง
วิธีการศึกษา: รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ (เอช1 เอ็น1) 2009 และเสียชีวิตในโรงพยาบาลศรีสะเกษ ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ 2009 ในโรงพยาบาลศรีสะเกษ ปี พ.ศ. 2552 มีทั้งหมด 66 ราย เสียชีวิต 6 ราย โดยทั้งหมดเสียชีวิตระหว่างเดือน สิงหาคมถึงตุลาคม เป็นหญิง 4 ราย ชาย 2 ราย ช่วงอายุระหว่าง 8 เดือน ถึง 43 ปี .เป็นผู้ป่วยในอำเภอเมือง 1 ราย รับการส่งตัวมาจากโรงพยาบาล ชุมชน 5 ราย ทุกรายที่ได้รับการส่งตัวมามีอาการหนักต้องใส่ท่อช่วยหายใจ ผู้ป่วย ทุกรายมีภาวะโรคประจำตัว หรือปัจจัยเสี่ยง โดยเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี 2 ราย หญิงตั้งครรภ์ 1 ราย ตับแข็งจากแอลกอฮอล์ 1 ราย ธาลัสซีเมียหลังตัดม้าม 1 ราย และอ้วนร่วมกับหอบหืด 1 ราย. 4 ใน 6 รายเกิดภาวะ ARDS. 2 ใน 6 ราย เพาะเชื้อแบคทีเรียจากเลือดขึ้น Burkholderia pseudomallei และ Streptococcus pneumoniae. อีก 3ใน 6 ราย เพาะเชื้อแบคทีเรียจากเสมหะขึ้น Acinetobacter spp. , Staphylococcus aureus และ Klebsiella pneumoniae. ผู้ป่วย 2 ใน 6 ราย ที่อยู่เกิน 1 สัปดาห์ ได้รับการทำ Throat swab ซ้ำให้ผลเป็นลบ
สรุป: การศึกษานี้พบผู้ป่วยเสียชีวิต ในวัยเด็กและวัยทำงาน ไม่พบผู้สูงอายุ ทุกรายมี ภาวะโรคประจำตัว หรือปัจจัยเสี่ยง โดยไม่พบผู้ป่วยที่สุขภาพดี ไม่มีโรคประจำตัว เสียชีวิตจากโรคนี้ การดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจ เช่น ARDS และการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม โดยทีมผู้ให้การรักษาที่ชำนาญ อาจมีส่วนช่วยลดอัตราตาย
Article Details
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์โรคและแนวทางการเร่งรัดการ ป้องกันแก้ไขโรคไข้หวัดใหญ่ (เอช เอ็น 1) 2009 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 10 กันยายน 2553. [ออนไลน์]. 2553. [ค้นเมื่อ 28 กันยายน 2553]. ค้นจาก https://:beid.ddc.moph.go.th/th/images/ H1N1 10%20 sep%2010.doc
กระทรวงสาธารณสุข. แผนปฏิบัติการแม่บท การเตรียมความพร้อมสำหรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ พ.ศ. 2552. นนทบุรี : กระทรวงฯ, 2552.
ทวี โชติพิทยสุนนท์. ไข้หวัดใหญ่ระบาดใหญ่. ใน: ทวี โชติพิทยสุนนท์, บรรณาธิการ. โรคติดเชื้ออุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ สำนักพัฒนาวิชาการแพทย์ . นนทบุรี : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, 2551.
ดาริการ กิ่งเนตร, วรยา เหลืองอ่อน, อัจฉรา วรารักษ์, บรรณาธิการ. คู่มือการปฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุใหม่ (H1N1) 2009 สำหรับบุคลากรด้านการแพทย์ และสาธารณสุข. นนทบุรี : สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2553.
World Health Organization. Clinical Features of severe cases of pandemic influenza, [online], 2009 [cited 2010 Sep 27], Available from:https://www.who.int/csr/disease/ swineflu/notes/hlnl_clinical_features_20091016/en/index.html
World Health Organization. Clinical management of human infection with pandemic (H1N1) revised guidance, [online]. 2009 November, [cited 2010 Sep 27]. Available from : https://www. int/csr/resources/publications/ swineflu/ clinica l_management_hlnl_pdf