ผลสัมฤทธิ์ของคลินิกโรคหืด (Easy asthma clinic) โรงพยาบาลปราสาท จังหวัดสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: โรคหืดเป็นโรคเรื้อรังที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุสำคัญของการเข้ารับการรักษา ในห้องฉุกเฉินและโรงพยาบาล จากการสำรวจผลการรักษาโรคหืดในประเทศไทย พบว่าการรักษาโรคหืดยังต่ำกว่ามาตรฐานที่ตั้งไว้มาก สำหรับโรงพยาบาลปราสาท ก็พบว่าผู้ป่วยโรคหืดกว่าครั้งหนึ่งยังควบคุมโรคไม่ได้ มูลค่าการรักษาก็สูงโดยมีค่า ใช้จ่ายในการดูแลรักษาผู้ป่วยสูงติดหนึ่งในสิบอันดับแรกของโรคที่มีค่าใช้จ่ายมากที่สุดของผู้ป่วยนอก จากปัญหาดังกล่าวโรงพยาบาลปราสาทจึงได้จัดตั้งคลินิกโรคหืด (Easy asthma clinic) ตามแนวทางของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2551 โดยการนำ GINA guideline มาใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วย
วัตถุประสงค์:
1. เพื่อศึกษาระดับการควบคุมโรคหืดของผู้ป่วยในคลินิกโรคหืด (Easy asthma clinic)
2. เปรียบเทียบระดับการควบคุมโรคหืดของผู้ป่วยก่อนและหลังเข้ารับการรักษา ในคลินิกโรคหืด
3. เปรียบเทียบอัตราการเข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉินและอัตราการนอน โรงพยาบาลเนื่องจากภาวะหืดเฉียบพลันก่อนและหลังการจัดตั้งคลินิกโรคหืด
4. เพื่อศึกษามูลค่าของการใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดสูด (ICS : Budesonide ) และ ยาสเตียรอยดขนิดสูดร่วมกับยาขยายหลอดลมออกฤทธิ์ยาว (ICS/LABA : Salmeterol /Fluticasone )ก่อนและหลังการจัดตั้งคลินิกโรคหืดเปรียบเทียบ กับค่าใช้จ่ายที่ลดลงจากการลดอัตราการเข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉินและ อัตราการนอนโรงพยาบาลด้วยภาวะหืดเฉียบพลัน
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเซิงวิเคราะห์แบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง
วิธีการวิจัย: ประชากรคือผู้ป่วยโรคหืดที่มีอายุมากกว่า 15 ปี ที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกโรคหืด ติดต่อกันอย่างน้อย 6 เดือน จำนวน 98 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบบันทึกการรักษาของคลินิกโรคหืดในช่วงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551-30 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ส่วนอัตราการเข้ารักษาที่ห้องฉุกเฉินและอัตราการนอนโรงพยาบาลด้วยภาวะ หืดเฉียบพลันและมูลค่ายาเปรียบเทียบ 1 ปี 5 เดือนก่อนและหลังการจัดตั้งคลินิก โรคหืด (1 กันยายน 2549- 31 มกราคม 2551 และ 1 กุมภาพันธ์ 2551 - 30 มิถุนายน 2552) เก็บข้อมูลจากโปรแกรมเวชทะเบียน Mit-net และ HosXP วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ได้แก่ Chi-square และ Paired t—test
ผลการวิจัย: ผลการรักษาโรคหืดโดยวัดระดับการควบคุมโรคหลังเช้ารับการรักษาที่คลินิกครบ 1 ปี ผู้ป่วยอยู่ในระดับ Partly controlled มากที่สุดคือร้อยละ 46.50 รองลงมา คือ Total controlled ร้อยละ 40 เปรียบเทียบผลและ 1 ปีดีขี้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสามารถเข้าสู่ภาวะ total controlled เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 15.3 เป็นร้อยละ 40 โดยที่ผู้ป่วยทุกคนได้รับยาสเตียรอยด์ชนิดสูด การจัดตั้งคลินิกโรคหืดสามารถลดการเข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินด้วย ภาวะหืดเฉียบพลันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีแนวโน้มว่าจะสามารถลดการ นอนโรงพยาบาลด้วยภาวะหืดเฉียบพลันได้ แต่การเพิ่มชี้นของมูลค่าการใช้ยายัง มากกว่ามูลค่าที่ลดลงจากการลดการเช้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉินและการนอน โรงพยาบาล
สรุป: การจัดตั้งคลินิกโรคหืดสามารถทำได้ในโรงพยาบาลชุมชนและทำให้ผู้ป่วยได้รับ การรักษาตามมาตรฐานมากขึ้น และสามารถควบคุมโรคได้ดีขึ้น
Article Details
References
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวปฏิบัติบริการสาธารณสุข: การดูแลผู้ป่วยโรคหืด พ.ศ.2551. กรุงเทพฯ: ศรีเมือง การพิมพ์; 2552.
Global initiative for asthma. Global strategy for asthma management and prevention NHLBI/WHO 2006
สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืดในประเทศไทยสำหรับผู้ป่วยผู้ใหญ่ พ.ศ. 2547. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์; 2547.
ชาญชัย จันทร์วรชัยกุล. ผลลัพธ์ของการจัดตั้งคลินิกโรคหืดอย่างง่ายในโรงพยาบาลยางตลาดจังหวัดกาฬสินธ์. กาฬสินธุ์ : โรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธ์; 2550.
อารีย์ ดวงดี. ผลลัพธ์ของการจัดตั้งคลินิกโรคหืดแบบง่ายในโรงพยาบาลบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น : โรงพยาบาลบ้านไผ่
จังหวัดขอนแก่น ; 2550.