ผลสัมฤทธิ์ของการบำบัดและการติดตามฟื้นฟูสมรรถภาพสารเสพติดแบบผู้ป่วยนอก

Main Article Content

ศรีอาภา อัจฉยะสวัสดิ์

บทคัดย่อ

เหตุผลของการทำการศึกษา: สารเสพติดเป็นปัญหาสำคัญ จากการศึกษาค่าความสูญเสียเนื่องจากความ บกพร่องทางสุขภาพจากความผิดปรกติทางจิตของประชากรไทย พ.ศ. 2547 พบว่าอัตราความสูญเสียอันเนืองมาจากภาวะบกพร่องทางสุขภาพในวัยรุ่นชาย มีสาเหตุหลักมาจากการติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สารเสพติด และโรคจิตเภท ปัญหาสารเสพติดได้ถูกบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที 11 (พ.ศ. 2555 - 2559) โรงพยาบาลศรีสะเกษรับบำบัดรักษาและ ฟื้นฟูสมรรถภาพทังระบบสมัครใจและระบบบังคับบำบัด การศึกษาผลสัมฤทธิ์ ของการบัดและติดตามฟื้นฟูสมรรถภาพสารเสพติดเป็นข้อมูลเพื่อพัฒนา งานบำบัดยาเสพติดต่อไป
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการบำบัดและการติดตามฟื้นฟูสมรรถภาพสารเสพติด ของคลินิกจิตเวชโรงพยาบาลศรีสะเกษ
สถานที่ทำการศึกษา: โรงพยาบาลศรีสะเกษจังหวัดศรีสะเกษ
รูปแบบการศึกษา: การศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา
ผู้ป่วยและวิธีการศึกษา: ศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยนอกที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูสารเสพติด ที่คลินิกจิตเวช โรงพยาบาลศรีสะเกษ ในช่วงเวลาตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2555 ถึง 30 กันยายน พ.ศ.2556 จำนวน 216 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ เชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด
ผลการศึกษา: ผลสัมฤทธิ์ของการบำบัดและการติดตามฟื้นฟูสมรรถภาพสารเสพติดของ คลินิกจิตเวชโรงพยาบาลศรีสะเกษ พบว่า ผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดครบจบกลุ่ม ร้อยละ 57.9 ผู้ป่วยได้รับการนัดหมายติดตามต่อที่โรงพยาบาลศรีสะเกษหลัง บำบัดครบร้อยละ 14.4 ผู้ป่วยใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 90.3 อายุเฉลี่ย 23.5 ปี (ค่าเบียงเบนมาตรฐาน 6.5) สารเสพติดที่ใช้ก่อนมาบำบัดพบมากที่สุด ได้แก่ ยาบ้า ร้อยละ 96.3 เหตุผลสำคัญที่เข้ารับการบำบัดครั้งนี้เนื่องจากถูกบังคับ บำบัดตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดพ.ศ. 2545 ร้อยละ 83.8
สรุป: ผลสัมฤทธิ์ของการบำบัดและการติดตามฟื้นฟูสมรรถภาพสารเสพติดของ คลินิกจิตเวชโรงพยาบาลศรีสะเกษ พบว่า ผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดครบจบกลุ่ม ร้อยละ 57.9 ผู้ป่วยได้รับการนัดหมายติดตามต่อที่โรงพยาบาลศรีสะเกษ หลังบำบัดครบร้อยละ 14.4

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. พรรณี วาทิสุนทรและกฤติกา เฉิดโฉม. การศึกษาเปรียบเทียบผลสำเร็จของการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดระบบบังคับและระบบสมัครใจ. กรุงเทพมหานคร : กลุ่มพัฒนาระบบงานยาเสพติด สำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2552

2. พระราชบัญญ้ติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545. กรุงเทพมหานคร : กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม; 2545

3. คณะกรรมการบริหารเครือข่ายองค์กร วิชาการสารเสพติด สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม. สถานภาพการใช้สารเสพติด พ.ศ. 2546 : การสำรวจครัวเรือนตัวแทนทั่วประเทศ, 2546

4. คณะทำงานโครงการพัฒนาเครื่องชี้วัดภาระโรคและปัจจัยเสี่ยงของประเทศไทย ปี 2547. การศึกษาค่าความสูญเสียปีสุขภาวะเนื่องจากความบกพร่องทางสุขภาพจากความผิดปรกติ ทางจิตของประชากรไทย พ.ศ. 2547. กรุงเทพมหานคร : สำนักพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข; 2547

5. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 - 2559). สำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ (cited 8 Jan 2014). Available from: URL: https://www.nesd b.go.th/ Default.aspx?tabid=395

6. ระบบค้นหาสถานบำบัดยาเสพติดทั่วประเทศไทย. ศูนย์วิชาการด้านยาเสพติด (cited 8 Jan 2014). Available from:URL:https://nctc.oncb.§o.th/new/ima§es/rebsearch/index.php

7. คู่มือแนวทางการบริหารจัดการระบบการรับ-ส่งต่อและติดตามผู้ป่วยยาเสพติด ระบบสมัครใจ ระบบบังคับบำบัด ระบบต้องโทษฉบับปรับปรุง ปี 2554. กรุงเทพมหานคร : สำนักบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข; 2554

8. ระบบรายงานระบบติดตามและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด(บสต.1-5). สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข (cited 16 Apr 2014). Available from: URL:https://antidru§.moph.go.th/beta2/download/downloadbst3.php