การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดกระเพาะอาหารส่วนปลายเชื่อมต่อกับลำไส้เล็กส่วนล่าง : กรณีศึกษา

Main Article Content

Sirirat Jaruratchakul

บทคัดย่อ

ความเป็นมาของปัญหา: ผู้ป่วยกระเพาะอาหารส่วนปลายอุดตันจะได้รับการผ่าตัดกระเพาะอาหารส่วนปลายเชื่อมต่อกับลำไส้เล็กส่วนกลาง ภาวะแทรกซ้อนตามหลังการผ่าตัดกระเพาะได้แก่ รอยต่อรั่ว เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญที่ทำให้เกิดภาวะช็อก ภาวะติดเชื้อซึ่งเป็นผลทำให้ผู้ป่วยถึงขั้นเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการประเมินแก้ไขการผ่าตัดนี้เป็นการผ่าตัดใหญ่ ซึ่งมีความยุ่งยาก ซับซ้อน ใช้เวลานานในการผ่าตัดและต้องใช้ทีมพยาบาลที่มีความชำนาญเฉพาะด้านในการทำ ผ่าตัด โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัย ไม่มีภาวะแทรกซ้อน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและกลับไป ใช้ชีวิตประจำวันในสังคมได้ตามปกติ
วัตถุประสงค์: เพื่อสามารถประเมินสภาพผู้ป่วย วางแผน และให้การพยาบาลผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดกระเพาะอาหารส่วนปลาย เชื่อมต่อกับสำไล้เล็กส่วนกลางให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัย ไม่มีภาวะแทรกซ้อนทั้ง 3 ระยะของการผ่าตัดผ่าตัด
วิธีการศึกษา: ศึกษารายกรณีคัดเลือกผู้ป่วยแบบเจาะจง 1 ราย ขณะผู้ป่วยมารับการผ่าตัดและติดตามเก็บข้อมูลย้อนหลัง จากเอกสาร เวชระเบียนผู้ป่วย
กรณีศึกษา: ผู้ป่วยชายอายุ 68 ปีสถานภาพคู่ น้ำหนัก 41 กิโลกรัม มีโรคประจำตัว ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน รับการรักษา และประทานยาประจำเป็นเวลา 16 ปีที่โรงพยาบาลชุมชนใกล้บ้าน ผู้ป่วยเคยผ่าตัดกระเพาะทะลุ 2 ครั้งในปี พ.ค. 2535 และพ.ศ. 2540 ทีโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ 2 สัปดาห์ก่อนมาโรงพยาบาล ผู้ป่วยมีอาการ ปวดท้องใต้ลิ้นปี อาเจียน รับประทานอาหารได้น้อย ไม่ถ่ายอุจาระ 5 วันก่อนมาโรงพยาบาลผู้ป่วยไปรับ การรักษาที่โรงพยาบาลชุมชน และได้ส่งต่อมารับการรักษาที่โรงพยาบาลศรีสะเกษผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะอุดตันของกระเพาะอาหารส่วนปลาย ได้รับการผ่าตัด ผ่าตัดกระเพาะอาหารส่วนปลายเชื่อมต่อกับสำไล้เล็ก ส่วนกลางทีมพยาบาลห้องผ่าตัดได้ใช้ ทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็มด้านระบบการพยาบาล ( The Theory of Nursing System ) มาประยุกต์ใช้ในการพยาบาลทางห้องผ่าตัดทั้ง 3 ระยะคือ1) ระบบทดแทนทั้งหมดในระยะ ผ่าตัด2) ระบบทดแทนบางส่วน ในระยะก่อนผ่าตัดและหลังผ่าตัด3) ระบบสนับสนุนและให้ความรู้ให้คำแนะนำ ผู้ป่วยก่อนกลับบ้าน เพื่อนำไปสู่การรวบรวมข้อมูลการวางแผนป้องกันปัญหาได้รวดเร็ว ปัญหาของผู้ป่วยรายนี้คือ 1) ร่างกายมีโอกาสเสี่ยง ต่อการติดเชื้อในขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัด 2) มีโอกาสเสี่ยงต่อการงดหรือเลื่อนผ่าตัด เนืองจากความไม่พร้อมด้านร่างกาย และจิตใจ 3) มีโอกาสเกิดการเสียเลือดมากขณะผ่าตัด 4) มีโอกาสเกิด เสียงต่อภาวะอุณหภูมิกายต่ำ5)ผู้ป่วยมีโอกาสได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายขณะเคลื่อนย้ายส่งกลับหอผู้ป่วยใช้เวลาในการผ่าตัด 2 ชั่วโมง 15 นาที เสียเลือดในการทำผ่าตัดประมาณ 300 ml. ผู้ป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ ที่เป็นอันตรายขณะทำผ่าตัดและหลังผ่าตัดผู้ป่วยอาการดีขึ้นมาก ช่วยเหลือตนเอง ได้ดี จำหน่ายกลับบ้าน รวมระยะเวลาอยู่ในโรงพยาบาล 16 วัน
สรุป: การวางแผนการพยาบาลด้วยความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านในการทำผ่าตัดใหญ่ซึ่งมีความยุ่งยากซับซ้อน เฝ้าระวังตลอดทัง 3 ระยะของการผ่าตัด ทำให้สามารถป้องกันอันตราย จากการสูญเสียเลือด เกิดภาวะ ช็อก รอยต่อรัวเกิดภาวะติดเชื้อซึ่งเป็นผลทำให้ผู้ป่วยถึงขั้นเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการประเมินปัญหาและให้การ พยาบาลในขณะผ่าตัด ได้ทันท่วงทีช่วยให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัย ไม่มีภาวะแทรกช้อนสามารถช่วยตนเอง และกลับบ้านได้

Article Details

บท
รายงานผู้ป่วย

References

1. Castellanos AE. Gastric Outlet Obstruction. Medscpe [ serial online ] 2013 May 9 [ cited 2014 Jan 17] Available from: URL https://emedicine.medscape.com/article/l 90621.

2. จักรพันธ์ เอื้อนรเศรษฐ์. Complications of gastric cancer surgery. ใน: พรพรหม เมืองแมน, ณัฐพล สันตระกูล, ประยุทธ ศิริวงษ์, เพชร เกษตรสุวรรณ, ธวัชชัย อัครวิพุธ, บรรณาธิการ. ศัลยศาสตร์ทั่วไป vol.10. กรุงเทพฯ : โฆสิตการพิมพ์; 2553:หน้า175-238.

3.จินตนา บุตรดา. การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดกระเพาะอาหารส่วนปลายอุดตัน. ผลงานประกอบการพิจารณาประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ. [ออนไลน์].

4. ชาญวิทย์ ตันติ์พิพัฒน์. Stomach. ใน: ทวีสิน ตันประยูร, สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ, พัฒน์พงศ์ นาวีเจริญ, บรรณาธิการ. ตำราศัลยศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 10 . กรุงเทพฯ : ปรีชาธร อินเตอร์พริ้น; 2550;หน้า701-19.

5. มงคล ตัญจพัฒน์กุล. Gastric Cancer: Surgical Management. ใน: ณรงค์ ไวทยางกูร, อรุณ เผ่าสวัสดิ์, ชุมศักดิ์ พฤกษาพงษ์, ทองดี ชัยพานิช, บรรณาธิการ. ศัลยศาสตร์วิวัฒน์ 7. กรุงเทพฯ : กรุงเทพเวชสาร; 2532;หน้า 440-53.

6. อรรถวุฒิ เชื้อทอง. Post Gastrectomy Syndrome. ภาควิชาศ้ลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.[ออนไลน์]. 2557 [สืบค้น 17 มกราคม 2557]; เข้าถึงได้ที่ : https://medinfo2.psu.ac.th/surgery/collective_review.htm.

7. กันยา ออประเสริฐ, ศิริพร พุทธรังสี, บรรณาธิการ. สมรรถนะของพยาบาลผ่าตัด. เอกสารปรับปรุง วิชาการ ประจำปีครั้งที่ 8 ชมรมพยาบาล ห้องผ่าตัดแห่งประเทศไทยเรื่องการพัฒนา ศักยภาพของพยาบาลห้องผ่าตัด, 28-29 มิถุนายน 2546; ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม(ไบเทค). กรุงเทพมหานคร : แอล.ที.เพรส, 2546.

8. เมธาวิทย์ ไชยะจิตรกำธร. การนำทฤษฎีทางการพยาบาลต่าง ๆ มาใช้ในการดูแลสุขภาพ. ศาสตร์การพยาบาลและสาธารณสุข. [ออนไลน์]. 11 กรกฎาคม 2556. [สืบค้น 17มกราคม 2557]; เข้าถึงได้ที่: https://methawitpublichealth.blogspot.com/2013/07/blog-post_ll.html.

9. กรมการแพทย์ สำนักการพยาบาล. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล ปรับปรุงครั้งที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2551:หน้า 259-82.