การศึกษาผลการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้นในกลุ่มงานวิสัญญี โรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

เสาวนันทา เลิศพงษ์
นงลักษณ์ สุรศร

บทคัดย่อ

บทนำ: อาการปวดหลังผ่าตัดเป็นปัญหาที่พบบ่อยในห้องพักฟื้น การระงับปวดที่มีประสิทธิภาพนั้น ผู้ที่ให้การดูแลจะต้องสามารถประเมินอาการปวดและให้การรักษาอย่างเหมะสม ในปี2554 กลุ่มงานวิสัญญี โรงพยาบาลสุรินทร์ เริ่มกำหนดเป้าหมายและแนวทางปฏิบัติเพื่อพัฒนา ประสิทธิภาพการประเมินและการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่รับบริการระงับ ความรู้สึกทุกรายในห้องพักฟื้น โดยใช้แนวปฏิบัติการให้ยาระงับปวดในห้องพักฟื้นเรียกว่า แนวทางเวชปฏิบัติ การระงับปวดหลังผ่าตัด ซึ่งดัดแปลงมาจากแนวปฏิบัติของภาควิชา วิสัญญี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยการให้ข้อมูลในการประเมินอาการปวด แก่ผู้ป่วยและให้ผู้ป่วยประเมินระดับความปวดด้วยตนเองโดยใช้ Numeric Rating Scale (NRS) และให้ยาตามแนวทางเวชปฏิบัติฯ เมื่อผู้ป่วยมีระดับความปวด 5 ในผู้ป่วยที่ได้ รับการผ่าตัดใหญ่ทุกรายที่ได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไป
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้นและระดับความพึงพอใจ ในผู้ป่วยต่อการระงับปวดหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น
รูปแบบการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงในผู้ป่วยหลังผ่าตัด จำนวน 572 คน ที่มารับบริการระงับความรูสึกแบบทั่วไปในเวลาราชการในเดือนสิงหาคม-ตุลาคมพ.ศ.2556 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 3 ส่วน คือ 1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย 2. ข้อมูลที่เกี่ยวกับการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น 3. ข้อมูลเกี่ยวกับระดับความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการระงับปวดซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้อง ของเนื้อหาและปรับปรุงแก้ไขตามที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำก่อนจะนำไปใช้วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติร้อยละค่าเฉลี่ย การทดสอบ Paired sample t-test
ผลการศึกษา: ผลการประเมินความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดแรกรับในห้องพักพื้นพบว่า มีคะแนนระดับความปวด NRS>5 ร้อยละ 83.9 ชนิดของยาระงับปวด opioids ที่ให้ พบว่า Morphineเป็นยาแก้ปวด ที่ถูกเลือกใช้มากที่สุดร้อยละ 80.2 และจำนวนครั้งที่ได้รับยาระงับปวดพบว่าส่วนใหญ่ได้รับ ยาแก้ปวดเพียงครั้งเดียว ร้อยละ 46.5 ส่วนใหญ่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการจัดการความปวด และเกิดภาวะ Nausea &vomiting ร้อยละ 3.1 ผลการประเมินความปวดในผู้ป่วย หลังผ่าตัดก่อนย้ายออกจากห้องพักฟื้นพบว่ามีคะแนนระดับความปวด NRS 5 ร้อยละ 96.3 และผลการประเมินระดับความพึงพอของผู้ป่วยต่อการระงับปวดหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจระดับมาก ร้อยละ51.4
สรุป: ผู้ป่วยหลังผ่าตัดก่อนย้ายออกจากห้องพักฟื้นมีคะแนนระดับความปวด NRS 5 ร้อยละ 96.3 และมีความพึงพอในระดับมากร้อยละ 51.4

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. คณะแพทย์ศาสตร์ คิริราชพยาบาล. ตำราฟื้นฟูวิชาการวิสัญญีวิทยา พ.ศ.2552. ฉบับแก้ไข. กรุงเทพฯ : ส.เอเชียเพรส; 2553.

2. แบบประเมินตนเอง. รายงานประจำปี 2554 กลุ่มงานวิสัญญี.โรงพยาบาลสุรินทร์; 2554.

3. มาลินี วงศ์สวัสดิวัฒน์, สมบรูณ์ เทียนทอง, วิมลรัตน์ กฤษณะประกรกิจ, ศศิวิมล พงศ์จรรยากุล. สำรวจคำสั่งการให้ยาระงับปวดหลังผ่าตัดในโรงพยาบาลศรีนครินทร์จังหวัดขอนแก่น. วิสัญญีสาร 2545;28:215-24.

4. ฝ่่ายแผนงานและสารสนเทศ. รายงานประจำปี 2554 โรงพยาบาลสุรินทร์. สุรินทร์ : ฝ่ายแผนงาน และสารสนเทศโรงพยาบาลสุรินทร์; 2554.

5. จุฬาลักษณ์ บารมี. เอกสารประกอบการสอน เรื่อง แนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพและคุณภาพการพยาบาล. ชลบุรี : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา; 2552.

6. ภัทรพร เขียวหวาน. แนวปฏิบัติการพยาบาล ในการจัดการความปวดสำหรับผู้ป่วย หลังผ่าตัดใหญ่:การจัดการทางการพยาบาล สู่การเรียนรู้. ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. กรุงเทพฯ : สุขุมวิทการพิมพ์; 2548.

7. มนัสนันท์ ศิริกสุลเวโรจน์. ประสิทธิผลของการใช้แนวทางเวชปฏิบัติการระงับปวดหลังผ่าตัด. Journal of health 2009;22:3:2
8. รัดดา กำหอม, มาลินี วงศ์สวัสดิ์วัฒน์, วิมลรัตน์ กฤษณะประกรกิจ, สมบูรณ์ เทียนทอง, กขกร พลาชีวะ, พิกุล มะลาไสย์. การดูแลผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้นตามแผนภูมิการระงับปวดที่ กำหนดขึ้น. ศรีนครินทรเวชสาร 2544;16:251-6.

9. Myles PS, Williams DL, Hendrata M, Anderson H, Weeks AM. Patient satisfaction after anaesthesia and surgery: results of a prospective survey of 10,811 patients. BJA 2000;84:6-10

10. วัชราภรณ์ หอมดอก. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกด้านการจัดการกับความเจ็บปวด ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดใหญ่โรงพยาบาลมหาราช นครเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญา พยาบาลศาสตร์ มหาบัณฑิต]. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2548.

11. Ignatavicius DD, Workman ML, Mishler MA. Medical-surgical nursing: A nursing process approach. 2nd ed. PA : W.B.Saunders Company. 1995.