การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในทารกแรกเกิดโรงพยาบาลสมุทรสาคร

Main Article Content

มยุรี กมลบุตร
อุดมพร คำล้ำเลิศ

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลที่มีอุบัติการณ์สูงสุดของกลุ่มผู้ป่วยทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลสมุทรสาคร เสี่ยงต่อการเสียชีวิต สิ้นเปลือง ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น จำเป็นต้องพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกัน ภาวะปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในทารกแรกเกิด อย่างเหมาะสมกับบริบทและเกิด สัมฤทธิผลด้านการพยาบาล
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันปอดอักเสบจากการ ใช้เครื่องช่วยหายใจในทารกแรกเกิด
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยและพัฒนา (research and development) การดำเนินการแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1) ระยะเตรียมการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูลสถานการณ์เบื้องต้นศึกษาสภาพการดูแลผู้ป่วย ใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ 2) ระยะปฏิบัติการ คือการพัฒนาแนวปฏิบัติฯ นำไปทดลองใช้ ติดตามและปรับปรุง 3) ระยะประเมินผล การพัฒนาแนวปฏิบัติ เป็นวงจร 4 กระบวนการ คือ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกตและ การสะท้อนกลับ และพัฒนาแนวปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง ผู้วิจัยและผู้มีส่วนร่วมยอมรับ แนวปฏิบัติร่วมกัน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพ 13 ราย ซึ่งปฏิบัติงานที่ หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม 1 และทารกแรกเกิดที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ 43 ราย ระหว่างเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ถึง มกราคม พ.ศ. 2556 ข้อมูลเชิงปริมาณเก็บข้อมูลโดย แบบบันทึกการ สังเกตการปฏิบัติ และแบบสอบถามความคิดเห็น ข้อมูลเชิงคุณภาพรวบรวมโดยการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นต่อ การพัฒนาคุณภาพการพยาบาล โดยใช้ paired t-test
ผลการศึกษา: ได้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในทารกแรกเกิด จำแนกเป็น 6 หมวดได้แก่ 1.การทำความสะอาดมือ 2.การใส่ท่อหลอดลมคอและดูแลผู้ป่วย ใส่ท่อหลอดลมคอ 3.การดูแลความสะอาดช่องปาก 4.การดูดเสมหะ 5.การให้อาหารทาง สายยางและป้องกันการสูดสำลัก 6.การดูแลอุปกรณ์เกี่ยวกับเครื่องช่วยหายใจ จากการ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งการปฏิบัติการพยาบาลภาพรวมพบว่าการปฏิบัติตามแนวทางที่ พัฒนาเพิ่มมากขึ้น จากการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นต่อการพัฒนาแนวปฏิบัติการ พยาบาล ทารกแรกเกิดก่อนและหลังการพัฒนา พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .001)
สรุป: ถึงแม้ว่าผลการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจดีขึ้น แต่ช่วงเวลาในการศึกษา วิจัยเป็นช่วงเวลาสั้นในการใช้แนวปฏิบัติ ซึ่งในอนาคตควรกำหนดบทบาทร่วมกับนโยบาย ด้านการพัฒนา โดยปรึกษาแนวทางในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ การให้ความรู้ การอบรมและ การนิเทศในการพัฒนาโครงการเพื่อลดอัตราการเกิด VAP

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. World health organization resources page. Prevalence of diabetics worldwide. (Cites 2008 June 17); Auailable from : website https://www.who.int/diabetes/fact/world_figures/en/int.html.
2. Rawdaree P, Ngarmukos C, Deerochan-awong C, Suwanwalaikorn S, Chetthakul T, Krittiyawong S, et aLThailand Diabetes Registry (TDR) project: clinical status and long term vascular complications in diabetic patient. J Med Assoc Thai 2006;89(Supel1):S1-9.
3. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. สถิติสาธารณสุข ปี 2552. กรุงเทพๆ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ ทหารผ่านศึก; 2552.
4. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข ปี 2541-2552. [online ]. [cited 2010 Oct 12] ; Available from : URL: https://bps.ops.moph.go.th/index.php?mod=bps&doc=5.
5. สุพัตรา ศรีวณิชชากร. การพัฒนาเพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล.วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข
1, 2550;1:216-23.
6. สุพัตรา ศรีวณิชชากร. การประเมินระบบดูแลผู้ป่วยเบาหวานของเครือข่ายหน่วยปฐมภูมิ (CUP)ภายใต้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า. วารสารระบบสาธารณสุข 2550;1:17-23.
7. ชูชัย ศุภวงษ์. คู่มือการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. กรุงเทพฯ : บริษัท ทีคิวฟิ จำกัด; 2552.
8. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, สมาคมโรคต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งขาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2554. นนทบุรี : บริษัทศรี เมืองการพิมพ์ จำกัด; 2554.
9. กิตติ ด่านวิบูลย์. ประสิทธิผลการพัฒนาระบบ บริการงานผู้ป่วยนอกและหน่วยบริการปฐมภูมิ เครือข่ายโรงพยาบาลหนองคาย. วารสารศูนย์การศึกษาแพทย์ศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2556;30:1:54-56
10. ศศิวิมล อึ้งวรากร. เปรียบเทียบคุณภาพในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานตามมาตรฐานในคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวและคลินิกอายุรกรรมโรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. รอยทางที่สร้างสรรค์ของเวชศาสตร์ครอบครัวในประเทศไทย: สหมิตรพริ้นติ้งแอนพับลิสชิ่งจำกัด ;2554.
11. วิภานันท์ ธีระพงษ์สวัสดิ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในศูนย์สุขภาพชุมชน อำเภอสตึก ปี พ.ศ. 2553.บุรีรัมย์ : โรงพยาบาลสตึก; 2553.