การรับรู้และพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพตนเองของหญิงตั้งครรภ์ ที่มาฝากครรภ์โรงพยาบาลท่าตูม จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

อารยา วรรณโพธิ์กลาง

บทคัดย่อ

บทนำ: ปัญหาสุขภาพช่องปากเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งในหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งพบว่ามักเป็นโรคเหงือก อักเสบขณะตั้งครรภ์ การพัฒนาองค์ความรู้ที่เพิ่มเติมพบว่าสุขภาพช่องปากของมารดามี ความสัมพันธ์กับการคลอดก่อนกำหนด (Preterm) และภาวะทารกมีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน (Low Birth Weight) อันมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อในช่องปากจากโรคเหงือกอักเสบ (Periodontal Infection) อีกทั้งโรคในช่องปากเป็นโรคที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม ดังนั้นหากทราบถึงการรับรู้และพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ จะได้นำข้อมูลมาใช้ประโยชน์สำหรับวางแผนแก้ไขปัญหา และหารูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพที่เหมาะสม
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความรู้ การรับรู้เกี่ยวกับอนามัยในช่องปาก พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพตนเอง สภาวะสุขภาพช่องปาก และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยดังกล่าวในหญิงตั้งครรภ์ ที่มารับบริการฝากครรภ์ โรงพยาบาลท่าตูม
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey Study) ภาคตัดขวางโดยการตรวจสุขภาพในช่องปาก และสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามการรับรู้และพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพตนเองของ หญิงตั้งครรภ์ทุกรายที่มาฝากครรภ์ในโรงพยาบาลท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ในช่วงระหว่าง 1-15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 จำนวน 197 ราย
ผลการศึกษา: หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ในระดับที่ต้องปรับปรุงถึง ร้อยละ 67.0 มีการรับรู้ต่อความเสี่ยงและความรุนแรงในระดับดีเพียงร้อยละ 2.0 และ 5.1 ตามลำดับ และการรับรู้ถึงประโยชน์ในการดูแลอนามัยในช่องปากในระดับดีร้อยละ 14.2 สำหรับพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพ พบในระดับดีเพียงร้อยละ 2.5 ผลการตรวจสภาวะสุขภาพช่องปาก พบผู้ที่มีฟันผุร้อยละ 73.1 โดยมีค่าเฉลี่ยฟันผุ 2.97 ซี่/ราย สำหรับสภาวะเหงือกอักเสบพบร้อยละ 96.4 และนอกจากนี้ร้อยละ 32.5 พบว่ามีเหงือกอักเสบ 3-4 ส่วนจาก 12 ส่วน หญิงตั้งครรภ์มีการรับรู้ต่อประโยชน์และการรับรู้เกี่ยวกับการดูแลทันตสุขภาพโดยรวมที่ดีแล้ว (p-value = 0.020 และ 0.048 ตามลำดับ) นอกจากนี้ยังพบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพที่ไม่ดีจะมีภาวะเหงือกอักเสบสูง (p- value = 0.031)
สรุปผลการศึกษา: การส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และการรับรู้ในการดูแลอนามัยในช่องปากโดยเฉพาะ ในระหว่างการมาฝากครรภ์จะช่วยทำให้พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพตนเอง สภาวะ สุขภาพช่องปากดีขึ้น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Kinane DF. Causation and pathogenesis of periodontal disease. Periodontol 2000. 2001;25:8-20.
2. Laine MA. Effect of pregnancy on periodontal and dental health. Acta Odontol Scand. 2002 Oct;60(5):257-64.
3. Horton AL, Boggess KA, Moss KL, Jared HL, Beck J, Offenbacher S. Periodontal disease early in pregnancy is associated with maternal systemic inflammation among African American women. J Periodontol. 2008 Jul;79(7):1127-32.
4. โรงพยาบาลนครธน. การตั้งครรภ์กับโรคเหงือกอักเสบให้ความรู้เกี่ยวกับลูกสำหรับพ่อแม่. 2548 [cited 2548]; Available from: https://www.thaiparents.com/periodontal.html.
5. กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. การปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปาก. กรุงเทพฯ: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2544.
6. โรงพยาบาลท่าตูม. รายงานประจำปีโรงพยาบาลท่าตูม. โรงพยาบาลท่าตูม : สุรินทร์; 2552.
7. กัตติมา ครบกระโทก. พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพตนเองของหญิงตั้งครรภ์ ตำบลบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : มหาสารคาม; 2546.
8. จารุณี สำชารี. พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพ ของหญิงตั้งครรภ์ที่เข้าร่วมโครงการแม่ลูก ฟันดี 102 ปี สมเด็จย่า กิ่งอำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด. ม.ป.ท. : ม.ป.พ.; 2547.
9. เพ็ญ เสถียรปัญญาธร. พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2548.
10. บัญญัติ สุขศรีงาม. การตั้งครรภ์ของวัยรุ่น: ปัญหา สังคมที่รอการแก้ไข. 2552 [cited 12/8/ 54]; Available from: https://www.uniserv.buu.ac.th/forum2/topic.asp?TOPIC_ID=2613.
11. Becker MH, Drachman RH, Kirscht JP. A new approach to explaining sick-role behavior in low-income populations. American Journal of Public Health 1974; 64:3: 206.
12. สำนักทันตสาธารณสุข, กรมอนามัย, กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานทันตสาธารณสุขประจำปี พ.ศ.2554. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สำนักกิจการองค์การทหารผ่านศึก; 2553.