การศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง 2-step approach (See and Treat regime) กับ 3-step approach (Standard regime) ในคนไข้ที่มีผลการตรวจทางเซลวิทยาของปากมดลูกเป็นแบบมะเร็งระยะก่อนลุกลามขึ้นสูง (HSIL) ในโรงพยาบาลบุรีรัมย์

Main Article Content

สุรศักดิ์ แสงทักษิณ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลการวินิจฉัยและรักษาระหว่าง 2-stepapproach กับ 3-step approach ในผู้ป่วยที่มีผลการตรวจทางเซลวิทยาของปากมดลูกเป็นแบบมะเร็งระยะก่อนลุกลามขั้นสูง โดยใช้ห่วงไฟฟ้าตัดปากมดลูกหลังใช้กล้องส่องขยายโดยไม่ต้องตัดหรือตัด ชิ้นเนื้อปากมดลูกก่อนส่งตรวจพยาธิสภาพก่อน
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ Case Control Crossectional study โดยศึกษาในผู้ป่วยที่มารับการ ตรวจรักษาในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ จากเวชระเบียนทางการแพทย์แบบ retrospective review ตั้งแต่ เดือนมกราคม 2005 ถึง เดือนมิถุนายน 2010 ทั้งหมด 60 คน ที่มีผลการตรวจทางเซลวิทยาของปากมดลูก เป็นแบบมะเร็งระยะก่อนลุกลามขั้นสูง โดยกลุ่มแรก 30 คน ใช้วิธีการตรวจและรักษาแบบ 3-step approach (Colposcopically directed biopsy หรือ CDB and LEEP) กลุ่มที่2 30 คน ใช้วิธีการตรวจ และรักษาแบบ 2-step approach (Col poscopic examination and LEEP)
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่ศึกษาทั้งหมด 60 คน กลุ่มแรก 30 คน (3-step approach) พบว่ามี 3 คน ผลชิ้นเนื้อ ทางพยาธิวิทยาหลังทำ LEEP เป็น CIN 1 และมี 2 คน ผลเป็น squamous cell carcinoma กลุ่มที่2 30 คน (2-step approach) พบว่ามี 4 คน ผลชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา หลังทำ LEEP เป็น CIN 1 และมี 3 คน เป็น squamous cell carcinoma เมื่อเปรียบเทียบ ทั้ง 2 วิธี โดยการ วิเคราะห์ทางสถิติใช้ Fisher exact test พบว่า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุปผล: 2-step approach (See and treat) เป็นการตรวจและรักษาผู้ป่วยที่มีผลการตรวจทางเซลวิทยาของปากมดลูกเป็นแบบมะเร็งระยะก่อนลุกลามขั้นสูง (HSIL) ที่ดีวิธีหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีมาตรฐาน (3-step approach) ซึ่งไม่แตกต่างกัน โดยลดขั้นตอนคนไข้จะต้องมาพบแพทย์ ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการส่องกล้อง colposcope (expert colposcopist) โดยเฉพาะในโรงพยาบาลจังหวัดทั่วไปของรัฐบาล

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

ประเสริฐ ตรีวิจิตรศิลป์, วิชัย เติมรุ่งเรืองเลิศ. เนื้องอกและมะเร็งปากมดลูก (Benign and Malignant disease of the cervix) ใน : สมชัย นุรุตติศาสน์, นเรศร สุขเจริญ, สุรางค์ ตรีรัตนชาติ, วิชัย เติมรุ่งเรืองเลิศ. วิสันต์ เสรีภาพงศ์, บรรณาธิการ. นรีเวชวิทยา. พิมพ์ครั้งที่4. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2547 : 173 - 205.

สุรินทร์ โตสุโขวงศ์, ชัยยศ ธีรผกาวงศ์. มะเร็งปากมดลูก (Cervical cancer) ใน : สมบูรณ์ คุณาธิคม, สุวนิตย์ ธีระศักดิ์วิชยา, ภาคภูมิ โพธ์พงษ์. บรรณาธิการ. นรีเวชวิทยา. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ : พี.เอ ลีฟวิ่ง, 2544:267-78.

Addis IB, Hatch KD, Berek JS. Intraepi- thelial Disease of the Cervix, Vagina, and Vulva. In : Berek JS. editor. Berek & Novak’s Gynecology. 14th ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins, 2007: 561-99.

ธีระ ทองสง, จตุพล ศรีสมบูรณ์, ธีระพร วุฒยวนิช, ประภาพร สู่ประเสริฐ, สายพิณ พงษธา. นรีเวชวิทยา ฉบับสอบบอร์ด. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : พี.บี.ฟอเรน บุ๊คส เซนเตอร์, 2551 : 389 - 417.

Luesley อ, Leeson S. Colposcopy and Programme Management. Guidelines for the NHS Cervical Screening Programme. NHSCSP Publication, no. 20. Sheffield. UK : NHSCSP ; 2010.

Kietpeerakool C, Srisomboon J. Is The “See and Treat” Approach Appropriate for Management of women with Abnormal Cervical Cytology in Thailand. Thai J Obstet Gynecol 2010 ; 18 : 45-53.

Kietpeerakool C. Srisomboon J, Khu- namornpong, Siriaunkgul S, Sukkawatt- ananon W. How can the Overtreatment rate of “See and treat” Approach be Reduced in women with High-Grade Squamous Intraepithelial Lesion on Cervical Cytology ?. Asian Pacific Journal of Cancer Prevention 2007 ;8 : 206-8.

Kyrgiou M. Tsoumpou I, Vrekoussis T, Martin - Hirsch P, Arbyn M, Prendiville W, et al, The up-to-date evidence on colposcopy practice and treatment of cervical intraepithelial neoplasia : the Cochrane colposcopy & cervical cyto- pathology collaborative group (C5 group) approach. Cancer treat Rev 2006 ; 32 : 516 - 23.

Darwish A, Gadallah H. One-step management of cervical lesions. International Journal of Gynecology & Obstetrics 1998 ; 61 : 261-7.

Kjellberg L, Tavelin B. See and treat regime by LEEP Conisation is a safe and time saving procedure among women with cytological high-grade squamous intraepithelial lesion. Acta Obstet Gynecol 2007 ; 86 : 1140-4.

Numnum TM, Kirby TO, Leath III CA, Huh WK, Alvary RD, Straughn JM. A Prospective Evaluation of “Seeandtreat” in woman with HSIL pap smear Results: Is this and Appropriate Strategy? Journal of lower Genital tract Disease 2005;9: 2-6.

Szurkus DC, Harrison TA. Loop excision for high-grade squamous intraepithelial lesion on cytology:Correlation with colposcopic and histologic findings. Am J obstet Gynecol 2003;188 : 1180-2