อัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดงในผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มีเสมหะเป็นบวกและเป็นลบ

Main Article Content

สนอง แสนสำราญ

บทคัดย่อ

ที่มา: ค่าอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง หรือ Erythrocyte Sedimentation Rate (ESR) ในกลุ่มผู้ป่วยวัณโรคมีค่าค่อนข้างสูง แต่ค่าดังกล่าวตามผลการย้อมเสมหะ และตามปริมาณเชื้อที่ย้อมยังไม่ทราบแน่ชัด
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไป และความแตกต่างของค่า ESR ในผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มีผลเสมหะ เป็นบวกและเป็นลบ รวมถึงความแตกต่างของค่า ESR ตามปริมาณเชื้อวัณโรคที่ย้อม พบในเสมหะ
วิธีการศึกษา: ทบทวนเวชระเบียนในผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มีการตรวจเสมหะ, ESR และได้รับการรักษาใน ช่วงเดือน มกราคม พ.ศ.2552 ถึงเดือน ธันวาคม พ.ศ.2553 ที่มารับการรักษาที่ โรงพยาบาลสังขะ จังหวัดสุรินทร์
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์การศึกษาทั้งหมด 116 คน เป็นเพศชาย 61 คน (ร้อยละ 52.6) เพศหญิง 55 คน (ร้อยละ 47.4) อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยเท่ากับ 63.8 ปี (เพศขาย 63.3 ปี เพศหญิง 64.3ปี) มีผู้ป่วยเสมหะเป็นบวกทั้งหมด 41 คน(ร้อยละ 35.3) เป็นเพศชาย 19 คน เพศหญิง 22 คน อายุ เฉลี่ยเท่ากับ 62.4 ปี ผู้ป่วยที่มีเสมหะเป็นลบมีทั้งหมด 75 คน (ร้อยละ 64.7) เป็นเพศ ขาย 42 คน เพศหญิง 33 คน อายุเฉลี่ยเท่ากับ 64.5 ปี จำนวนและอายุของผู้ป่วยในทั้งสอง กลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.324 และ P = 0.483 ตามลำดับ) ค่า E5R เฉลี่ยในผู้ป่วยวัณโรคเท่ากับ 100.85 มม./ซม. แยกตามผลย้อมเสมหะ พบว่าผู้ป่วยที่มีผลเสมหะเป็นลบมีค่าเท่ากับ 100.57 มม./ซม. และในผู้ป่วยที่มีผลเสมหะเป็นบวกมีค่า เท่ากับ 101.37 มม./ซม. ซึ่งไม่แตกต่างกัน (P = 0.862) เมื่อวิเคราะห์ถึงความแตกต่างในกลุ่มผู้ป่วยที่มีเสมหะเป็นบวกตามปริมาณเชื้อวัณโรคที่ย้อมพบในเสมหะพบว่าค่า ESR มีค่า เพิ่มชื้นตามปริมาณเชื้อวัณโรคที่ตรวจพบในเสมหะแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.246), ค่า ESR ในแต่ละช่วงอายุไม่มีความแตกต่างกันทั้งในผู้ป่วยที่เสมหะเป็นบวกและเป็นลบ (P = 0.217 และ P = 0.086 ตามลำดับ)
สรุป: อัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดงเฉลี่ยในผู้ป่วยวัณโรคปอดมีค่าค่อนข้างสูง ทั้งในผู้ป่วยที่ตรวจพบและไม่พบเชื้อในเสมหะ ซึ่งอาจมีประโยชน์ในการช่วยวินิจฉัยแยกโรคในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีอาการเข้าได้กับวัณโรคปอด โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ตรวจไม่พบเชื้อวัณโรคในเสมหะ และในพื้นที่ที่ไม่สามารถเพาะเชื้อวัณโรคได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Kushner, I. The phenomenon of the acute phase response. Ann N Y Acad Sci 1982; 389:39-48.

Gabay, C, Kushner, I. Acute-phase proteins and other systemic responses to inflammation. N Engl J Med 1999; 340(6):448-54.

M Amjad Hameed, Sobia Waqas. Physiological Basis And Clinical utility Of Erythrocyte Sedi mentation Rate. Pak J Med Sci 2006; 22:214-18.

O. O. Alao. Clinical utility of the erythrocyte sedimentation rate. J. Clin. Med. Res. 2010; 2 :119-24.

I S Ukpe, L Southern. Erythrocyte sedimentation rate values in active tuberculosis with and without HIV co-infection. SAMJ 2006; 96:427-28.

Zahirul Haque, Jakiul Alam. Clinical Study On Patients With Grossly Elevated Erythrocyte Sedimentation Rate. J MEDICINE 2007; 8:64-68

Muhammad Yousuf, Javed Akhter, Khalid AlKhairy, et al. Extremely elevated erythrocyte sedimen- tation rate Etiology at a tertiary care center in Saudi Arabia. Saudi Med J 2010; 33:1229-31.

Ejikeme Nwachukwu, Godwin Aguziendu Peter. Prevalence of Mycobacterium tuberculosis and Human immunodeficiency virus (HIV) infections in Abia state, Nigeria. Afr. J. Microbiol. Res.2010; 4:1486-90

รายงานโรคในระบบเฝ้าระวัง 506 Pulmonary T.B. พ.ศ.2552. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

International Union Against Tuberculosis and Lung. Sputum Examination for Tuberculosis by Direct Microscopy in Low Income Countries. 5th ed. France; 2000

Leo R. Zacharski, Robert A. Kyle. Significance of Extreme Elevation of Erythrocyte Sedimentation Rate. JAMA 1967;202(4):116-18.

Zahirul Haque, Jakiul Alam, Mesbahuddin Noman, Ma Azhar. Clinical study On Patients With Grossly Elevated Erythrocyte Sedimentation Rate. J Medicine 2007;8:64-68

เบญจวรรณ รุ่งปีตรังสี, นันทา มาระเนตร์, เสถียร สุฃพนิซนันท์, บุญศรี มหากิตติคุณ. อี เอส อาร์ และ ความหนืดของพลาสมาในผู้ป่วยวัณโรคปอด. Siriraj Hosp Gaz 1998;50:973-42.

O.A. Awodu, I.0. Ajayi, A.A. Famodu. Haemorheological variables in Nigeria pulmonary tuberculosis patients undergoing therapy. Clinical Hemorheology and Microcirculation 2007; 36: 267-75.

Eliana Peresi, Sonia Maria Uso Ruiz Silva, Sueli Aparecida Calvi, Jussara Marcondes Machado. Cytokines and acute phase serumproteinsasmarkersofinflammatory regression during the treatment of pulmonary tuberculosis. J Bras Pneumol. 2008; 34(ll):942-49.

Charles D. W. Morris, Arthur R. Bird, Haylene Nell. The Haematological and Biochemical Changesin Severe Pulmonary Tuberculosis. Quarterly Journal of Medicine 1989; 73(272):1151-59.

A. Dominguez-Castellano, M. A. Muniain, J. Rodriguez-Bano, M. Garcia, M. J. Rios, J. Galvez, R. Perez-Cano. Factors associated with time to sputum smear conversion in active pulmonary tuberculosis. Int J Tuberc Lung Dis 2002;7(5):432-38.

R. A. M. Breen, O. Leonard, F. M. R. Perrin, C. J. Smith, S. Bhagani, I. Cropley, M. C. I. Lipman. How good are systemic symptoms and blood inflammatory markers at detecting individuals with tuberculosis?. Int J Tuberc Lung Dis 2007;12(1):44-49.

Charles D. W.Morris. The Radiography, Haematology and Biochemistry of Pulmonary Tuberculosis in the Aged. Quarterly Journal of Medicine 1989; 71(266):529-35.

Kamalesh Sarkar, Sudesh Baraily, Sumana Dasgupta, Sujit Kumar Bhattacharya. Erythrocyte Sedimentation Rate May Be an IndicatorforScreening ofTuberculosis Patients for Underlying HIV Infection, Particularly in Resource-poor Settings: An Experience from India. J Health Popul Nutr 2004; 22(2):220-21.

K. Vidyalakshmi, M. Chakrapani, B. Shrikala, S. Damodar, S. Lipika, S. Vishal. Tuberculosis mimicked by melioidosis. Int J Tuberc Lung Dis 2008; 12(10):1209-15.

Bircan A, Kaya O, Gokirmak M, Ozturk O, Sahin U, Akkaya A C-reactive protein, leukocyte count and ESR in the assessment of severity of community- acquired pneumonia. Tuberk Toraks 2006; 54(1):22-9.

Hasse Melbye, Bjbm Straume, Jan Brox. Laboratory Tests for Pneumonia in General Practice: The Diagnostic Values Depend on the Duration of Illness. Scand J Prim Health Care 1992; 10: 234-40.