ประสิทธิผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาที่มีผลต่อความวิตกกังวล ในหญิงทำแท้งผิดกฎหมาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
เหตุผลของการวิจัย: หญิงทำแท้งผิดกฎหมายถือเป็นบุคคลหนึ่งที่ต้องเผชิญกับความวิตกกังวลทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ การให้การปรึกษาถือเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการให้บริการเพื่อลดผลกระทบที่จะรุนแรงตามมา
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับความวิตกกังวลของหญิงทำแท้งผิดกฎหมายและเปรียบเทียบประสิทธิผล ของโปรแกรมการให้คำปรึกษาก่อนและหลังให้โปรแกรมการคำปรึกษา
สถานที่ศึกษา: โรงพยาบาลสุรินทร์
รูปแบบการศึกษา: การวิจัยแบบทดลองเบื้องต้น
วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ หญิงทำแท้งผิดกฎหมายที่เข้ารับบริการในกลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์ โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 30 ราย ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 - มกราคม 2554 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติวิเคราะห์ได้แก่ Paired sample t - test
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างอายุเฉลี่ย 22 ปี สถานภาพโสดใกล้เคียงกับสถานภาพคู่ การศึกษาส่วนใหญ่จบ ปริญญาตรี ครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างมีรายได้น้อยกว่า 39,999 บาทต่อปี เกือบทั้งหมด นับถือศาสนาพุทธ เป็นการตั้งครรภ์และทำแท้งเป็นครั้งแรก วิธีการทำแท้งใช้ยาเม็ดเหน็บ ทางช่องคลอดปัจจัย ที่เป็นเหตุในการตัดสินใจ ทำแท้งคือกำลังศึกษา สิ่งที่มีความวิตกกังวลใจมากที่สุดคือภาวะแทรกซ้อนภายหลังทำแท้ง กลุ่มตัวอย่างก่อนทดลองมีคะแนน เฉลี่ยความวิตกกังวลอยู่ในระดับสูง หลังทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวล อยู่ในระดับ ปานกลาง เมื่อทดสอบความแตกต่างทางสถิติพบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนความวิตกกังวลของ กลุ่มตัวอย่างหลังให้โปรแกรมการให้คำปรึกษาลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: ระดับความวิตกกังวลของหญิงทำแท้งผิดกฎหมายลดลง หลังจากได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษา ซึ่งถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการลดความวิตกกังวลแก่หญิงทำแท้งผิดกฎหมาย
Article Details
References
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุภาพ. ยอดทำแท้งหญิงไทยพุ่งเท่าหมื่นคนต่อปี. 2550; [สืบค้น 24 กันยายน 2553]; [1หน้า] เข้าถึงได้ที่ URL: https://www.thaihealth.or.th/healthcontent/artide/1771
หอผู้ป่วยสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์. รายงานการเก็บรวบรวมข้อมูลการแท้งในสถานบริการ โรงพยาบาลสุรินทร์. สุรินทร์ : โรงพยาบาลสุรินทร์ ; 2553.
จตุพร ไชยสุวรรณ. ความเครียดและการเผชิญความเครียดหลังทำแท้งผิดกฎหมายของสตรีวัยรุ่น. รายงานการวิจัย ; 2547.
นิตยา ภิญโญคำ. รายงานการวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างความวิตกกังวลวิธีเผชิญปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาลฝึกปฏิบัติการพยาบาลในหออภิบาลผู้ป่วยหนัก. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเขียงใหม่; 2536.
สมภพ เรืองตระกูลและคณะ. คู่มือจิตเวชศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพ : โรงพิมพ์เรือนแก้ว; 2536.
Spielberger CD. Anxiety and Behavior. New York : Academic Press ; 1966.
สุวรรณา วรคามิ, นงลักษณ์ บุญไทย. สรุปผลการสำรวจสถานการณ์แท้งในประเทศไทยปี 2542. 2544; [สืบค้น 15 กันยายน 2553]; [1หน้า]. เข้าถึงได้ที่ URL:http//www.elip- online.com/doctors3/lady-abortionl7.htlm.
วารี เสือคง. พฤติกรรมการตัดสินใจของหญิงตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์. วิทยานิพนธ์สถาบันราชภัฎเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ : ปทุมธานี ; 2546.
สุชาดา รัชชุกูล. การตั้งครรภ์โม่พึงประสงค์และการตัดสินใจทำแท้ง. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิตการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์ วิโรฒ ; 2541.
หทัยทิพย์ ไชยวาที. ประสบการณ์ด้านจิตใจของหญิงตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2551.
ดวงกมล พึ่งประเสริฐ. ผลของการให้คำปรึกษาของพยาบาลต่อระดับความวิตกกังวลและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้ป่วยทำแท้งผิดกฎหมาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล ; 2534.
สุนันทา ตั้งปนิธานดี. ผลของการให้คำปรึกษารายบุคคลต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล ; 2544.