ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลผู้สูงอายุ โรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

สมพร ชูเชิด

บทคัดย่อ

เหตุผลการวิจัย: ปัจจุบันสังคมโลกกำลังก้าวไปสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุจากอัตราการที่เพิ่มสูงขึ้นของประชากรผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อสภาพสังคม เศรษฐกิจ ตลอดจนการจัดสรรทรัพยากรทางสุขภาพของประเทศในระยะยาวยิ่งกว่านั้นผู้สูงอายุยังประสบกับปัญหาในด้านเศรษฐกิจ การถูกทอดทิ้งและด้านสุขภาพอนามัยที่เกิดจากความ เสื่อมของร่างกาย ส่งผลทำให้เกิดภาวะการเจ็บป่วยทุพพลภาพตามมา การเจ็บป่วยในผู้สูงอายุนั้นต้องการบริการด้านการแพทย์และพยาบาลที่ต่างไปจากคนในวัยอื่น การจัดระบบบริการการดูแลผู้สูงอายุอย่างทั่วถึง มีความครอบคลุมและต่อเนื่อง พัฒนาการให้บริการในโรงพยาบาลที่ลดขันตอนการบริการที่ยุ่งยากซับซ้อน เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับบริการที่รวดเร็วและเกิดความพึงพอใจต่อบริการที่ได้รับ จนกระทั่งให้บริการอย่างต่อเนื่องในชุมชน เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการด้านสุขภาพอย่างทั่วถึง ส่งผลต่อสภาวะสุขภาพที่ดีตามมา
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาการเข้ารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกของผู้สูงอายุ ระดับความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่และผู้สูงอายุก่อนและหลังการปรับรูปแบบการบริการการจัดการดูแลผู้สูงอายุ โรงพยาบาลสุรินทร์
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Participatory Action Research)
วิธีการวิจัย: รวบรวมข้อมูลจากผู้สูงอายุที่เข้ารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสุรินทร์ จำนวน 320 คน และบุคลากรที่ให้การดูแลผู้สูงอายุจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกระยะเวลาเฉลี่ยที่ผู้สูงอายุใช้ในการเข้ารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอก แบบประเมินความพึงพอใจของบุคลากรที่ให้การดูแลผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุที่เข้ารับบริการในคลินิกผู้สูง อายุโรงพยาบาลสุรินทร์ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา และปรับปรุงแก้ไข ตามที่ผู้เชี่ยวชาญเสนอแนะก่อนนำไปทดลองปฏิบัติ มีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย คือ 1) ศึกษาบริบทและสภาพการจัดการดูแลผู้สูงอายุ 2)ระยะพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลผู้ สูงอายุ และ 3) ระยะประเมินผล ดำเนินการวิจัยตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2553 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ independent t-test การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิเคราะห์ content analysis
ผลการศึกษา: จากการศึกษาเมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังดำเนินการการจัดการการดูแลผู้สูงอายุพบว่า ระยะเวลาการรอคอยเฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P<.001 เจ้าหน้าที่และผู้สูงอายุ มีระดับคะแนนความพึงพอใจเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<.001
สรุป: รูปแบบการจัดการดูแลผู้สูงอายุที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินงาน การบริการการดูแลผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องมีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการทำงาน รวมทั้งทำให้เกิดความพึงพอใจต่อทั้งบุคลากรและตัวผู้รับบริการ ซึ่งเชื่อว่าการ ดำเนินการในลักษณะดังกล่าว จะสามารถทำให้องค์กรบรรลุซึ่งวิสัยทัศน์ “โรงพยาบาลศูนย์ ขั้นนำ คุณธรรมเป็นเลิศ”

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานการสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2549. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร; 2549.

สุพัตรา อติโพธิ เยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม. การบริหารจัดการนโยบายด้านการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุใน 5 ประเทศ วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา 2546; 1:1: 79-85.

กลุ่มงานประสาทวิทยา. คู่มือโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพาต อัมพฤกษ์) สำหรับประชาชน. กรุงเทพมหานคร : สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2548.

บรรลุ ศิริพานิช. ผู้สูงอายุไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ดี; 2542.

สำนักสารนิเทศและประชาสัมพันธ์. อันดับโรคและภาวะโรคของคนไทยในปีพ.ศ.2549. นนทบุรี : สำนักสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ กระทรวงสาธารณสุข; 2549.

Dey KP, Hariharan S. Integrated approach to healthcare Quality management: a case study. The TQM magazine 2006; 18:583-605.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือด การปฏิบัติตัว. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย ; 2542: 3.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข .รายงานประจำปี. นนทบุรี: สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ; 2551: 3.

ศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศโรงพยาบาลสุรินทร์. รายงานสถิติประจำปี 2553. สุรินทร์ : โรงพยาบาลสุรินทร์ ; 2553.

Donabedian A. Evaluating the Quality of Medical Care. Minibank Memorial Fund Quartery 1966; 44:1:166-203.

วิทยา สุหฤทดำรง, ยุพา กลอนกลาง. แนวคิดแบบลีน. กรุงเทพมหานคร : สแควร์พับลิซซิ่ง; 2540

Ann B, Hamric JA, Spross, Charlene M, Hanson. Advanceed Nursing Practice. Pennsylvania : W.B. Saunders; 1996.

คิริพันธุ์ สาสัตย์, ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์, เพ็ญจันทร์ เลิศรัตน์. รูปแบบการปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุในสถานดูแลระยะยาวในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: บริษัท มิสเตอร์ก๊อปปี (ประเทศไทย) จำกัด; 2552.

ชื่นฤทัย กาญจนะจินดา และคนอื่นๆ. สุขภาพคนไทย 2550 : หอมกลิ่นลำดวน เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์ พรินติ้งแอนพับลิชซิง ; 2550.

มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ. เวทีนโยบายสาธารณะ : เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร : เป็นไทพับลิชชิ่ง; 2549.

Iwamasa GY, lwasak M. A new multidimensional model of successful aging: perceptions of Japanese American older adults. Journal of Cross-Cultural Gerontology 2011:26(3):261-78