ผลการใช้แผนการดูแลในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมโรงพยาบาลสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: การรักษาผู้ป่วยโรคของข้อสะโพกส่วนใหญ่ใช้วิธีผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมซี่งมีค่าใข้จ่ายสูง ระยะ เวลานอนโรงพยาบาลนาน กลุ่มงานศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์มีการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยตามมาตรฐานวิชาชีพโดยกำหนดแผนการดูแลตามมาตรฐานวิชาชีพเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูสภาพได้เร็ว เกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยที่สุดและมีการวางแผนจำหน่ายตั้งแต่แรกรับเพื่อเตรียมความพร้อมของผู้ดูแลให้สามารถดูแลผู้ป่วยเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้านได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการใช้แผนการดูแลในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม เปรียบเทียบผลการใช้แผนการดูแลกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง และศึกษาปัญหาอุปสรรคของการใช้แผนการดูแลของทีมสหสาขาวิชาชีพ
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง
วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ที่มารักษาที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกหญิงและชายในเดือน ตุลาคม 2548 - เมษายน 2551 จำนวน 40 คนโดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และ กลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คนใช้วิธีคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมีอที่ใช้ในการวิจัย มี 2 ชุด คือ แผนการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมและแบบบันทึกการจัดการการดูแลผู้ป่วย ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ความตรงของเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญเก็บรวบรวมข้อมูลโดยพยาบาลผู้จัดการรายกรณี วิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณ ใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบการใช้แผนการดูแลในผู้ป่วย 2 กลุ่มใช้สถิติค่าที (Independent t - test) ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการศึกษา: กลุ่มควบคุมเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด ร้อยละ 20 ข้อสะโพกเทียมเคลื่อนหลุด ร้อยละ 5 วันนอนโรงพยาบาล 20 วัน ค่าใช้จ่ายในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมชนิดมีเบ้า 71,814.42 บาท/คน ชนิดไม่มีเบ้า 43,702 บาท/คน ส่วนกลุ่มทดลอง พบว่า เกิดภาวะแทรกซ้อน หลังการผ่าตัด ร้อยละ 10 วันนอนโรงพยาบาล13 วันค่าใช้จ่ายในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมชนิดมีเบ้า 77,946.80 บาท/คน ชนิดไม่ มีเบ้า 30,825 บาท/คน เมื่อเปรียบเทียบวันนอนโรงพยาบาลและ ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ในผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม พบว่า มีวันนอนโรงพยาบาล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วน ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลไม่แตกต่างกัน ปัญหาอุปสรรคของการใช้แผนการดูแลของทีมสหสาขาวิชาชีพ พบว่า แพทย์มีการปฏิบัติตามแผนการดูแลร้อยละ 50 พยาบาลผู้จัดการรายกรณีมีการติดตามการใช้แผนการดูแล ร้อยละ 100 พยาบาลประจำหอผู้ป่วยมีการปฏิบัติ ตามแผนร้อยละ 90 วิสัญญีมีการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยก่อนผ่าดัด ร้อยละ 95 และหลังผ่าดัดร้อยละ 100 พยาบาลห้องผ่าดัดมีการติดตามให้ข้อมูลเกียวกับข้อสะโพกเทียมที่จะใช้ในผู้ป่วยร้อยละ 50 นักกายภาพบำบัดมีการให้บริการโดยการส่งผู้ป่วยไปที่แผนกกายภาพบำบัด ร้อยละ 100 และนักสังคมสงเคราะห์ดูแลในกรณีที่ต้องชำระค่าข้อสะโพกเทียมเพิ่มในส่วนที่ไม่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้
สรุปและเสนอแนะ: การใช้แผนการดูแลในผู้ป่วยผ่าดัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมช่วยทำให้วันนอนโรงพยาบาลลดลง ค่าใช้จ่าย ในการรักษาพยาบาลเหมาะสม ควรใช้แผนการดูแลในป่วยผ่าดัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมทุกราย ควรมีการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยให้ครอบคลุม ตามแผนการดูแลมากยิ่งขึ้น และควรมีการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยผ่าดัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมให้มีวันนอนโรงพยาบาลสั้นลง
Article Details
References
อารี ตนาวลี และ สาธิต เที่ยงวิทยาพร. การผ่าตัดเปลี่ยนข้อตะโพกเทียมด้วยวิธีเนื้อเยื่อ. [ออนไลน์]. 2554 [สืบค้น 12 กันยายน 2554] ; เข้าถึงได้ที่ : https://www.orthochula.com/hip/minihip.html
กล้วยไม้ ธิพรพรรณ และคณะ. การพัฒนาระบบการป้องกันการเคลื่อนหลุดของข้อสะโพกเทียม โรงพยาบาลขอนแก่น. วารสารชมรมพยาบาล ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย 2549 ; 1:1: 27-41.
ปรีชา รักษ์พลเมือง. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการชมรมพยาบาลออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย. การรักษาข้อเสื่อมในผู้สูงอายุ; 20-21 สิงหาคม 2539; เอกสารอัดสำเนา.
Bhattacharyya T. Antibiotic Dosing Before Primary Hip and Knee Replacement As a Pay-for-Performance Measure. J Bone Joint Surg Am ; 2007 Feb;89(2):287-91.
อนงค์ อมฤตโกมล. โครงการการใช้ความรู้เชิงประจักษ์เรื่องผลลัพธ์การใช้แนวปฏิบัติการควบคุมปัจจัยเสี่ยงในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ 2549;12:2:19-27.