การพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

พรเพ็ญ ทุนเทพย์

บทคัดย่อ

เหตุผลการวิจัย: โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายถือว่าเป็นภาวะวิกฤตที่สำคัญทางอายุรกรรม ซึ่งในปัจจุบันพบว่ามีแนวโน้มของการเสียชีวิตที่เพิ่มสูงขึ้น การคัดกรองและให้การรักษาที่รวดเร็วได้มาตรฐาน สามารถจำกัดขอบเขตการตายของกล้ามเนื้อหัวใจ และลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราการเสียชีวิต ผลลัพธ์ด้านการดูแลรักษา ความพึงพอใจของพยาบาลและผู้รับบริการโดยใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันตามกระบวนการ ที่ออกแบบใหม่
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)
วิธีการวิจัย: รวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาลสุรินทร์จำนวน 30 คน และพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน จำนวน 184 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดคุณภาพการดูแลแบบวัดความรู้ของพยาบาล แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการและพยาบาล ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา และปรับปรุงแก้ไขตามที่ผู้เชี่ยวชาญเสนอแนะ ขั้นตอนการวิจัย ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลสถานการณ์ และปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 พัฒนารูป แบบการดูแล ระยะที่ 3 นำรูปแบบที่ได้ไปปฏิบัติ ดำเนินการเป็นวงจร คือ วางแผน นำแผน สู่การปฏิบัติ ตรวจสอบปรับปรุง พัฒนา และสรุปประเมินผลรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ดำเนินการวิจัยระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2548 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2553
ผลการวิจัย: ภายหลังการนำรูปแบบการดูแลที่พัฒนาขึ้นไปใช้ พบว่า 1) ผลลัพธ์ด้านคุณภาพการดูแล ได้แก่ อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันลดลงจากร้อยละ 22.72 ในปี 2549 เป็นร้อยละ 11.20 และ 9.42 ใน ปี 2552 และ 2553 ตามลำดับ อัตราผู้ป่วยที่เข้าระบบทางด่วนพิเศษ คิดเป็นร้อยละ 100 อัตราผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือด ภายใน 30 นาทีเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0 ในปี 2549 เป็นร้อยละ 10.00 และ 8.11ในปี 2552 และ 2553 ตามลำดับ ระยะเวลาเฉลี่ยของ Door to Needle Time ลดลงจาก 228.76 นาที ในปี 2550 เป็น 88.64 และ 94.25 นาทีในปี 2552 และ2553 ตามลำดับ 2) พยาบาลมีคะแนนความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<.001 3) ผู้รับบริการและพยาบาลมีระดับความพึงพอใจเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<.001
สรุป: รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่พัฒนาขึ้น ส่งผลให้เกิดการวางแผนการดูแลผู้ป่วยร่วมกันของทีมผู้ดูแล ปฏิบัติการดูแลตามปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยได้ครอบคลุม ส่งผลให้มีผลลัพธ์การดูแลรักษาดีขึ้น สามารถลดอัตราการเสียชีวิตและระยะเวลาเฉลี่ยของ Door to Needle Time ได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Rosamond W et al. Heart Disease and Stroke Statistics-2008 Update A Report From the American Heart Association Statistics Committee and Stroke Statistics Subcommittee. Cir 2008 ; 117 : e25-el46.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. อัตราตายต่อประชากร 100,000. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https:// bps.ops.moph.go.th. 2554.

ประดิษฐ์ ปัญจวีณิน. กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน. ใน : วันชัย เดชสมฤทธิ์ฤทัย, รุ่งโรจน์ กฤตยพงษ์, อภิรดี ศรีจิตรกมล

ประดิษฐ์ ปัญจวีณิน. ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน. ใน : วันชัย วนะชิวนาวิน, สุทิน ศรีอัษฎาพร และ วันชัย เดชสมฤทธิ์ฤทัย บรรณาธิการ. ตำราอายุรศาสตร์ : โรคตามระบบ II. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน; 2552.

อภิชาต สุคนธสรรพ์. แนวทางการรักษา Acute ST-Elevation Myocardial Infarction. ใน: Practice Guidelines in Cardiology. เชียงใหม่: ทริค ธิงค์; 2552.

มุกดา สุดงาม. โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในโรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2549; Z 27-35.

สมจิตต์ วงศ์สุวรรณสิริ, วารี วณิชปิญจพล, เพียงใจ เจิมวิวัฒน์กุล, อารยา ประเสริฐชัย, ชฎาภรณ์ เปรมปรามอมร. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจแบบบูรณาการ. วารสารกองการพยาบาล 2549; 33: 39-60.

ทัศนีย์ แดชุนทด. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่ โดยใช้รูปแบบผู้จัดการรายกรณี ณ โรงพยาบาลสกลนคร. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2550; 18:2: 21-36.

วรรณา สัตย์วินิจ, อภินนท์ ชูวงษ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันด้วยกระบวนการควบคุมคุณภาพหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน 2553;16: 91-104.

อภิวัฒน์ ม่วงสนิท, ทัศนีย์ แดขุนทด, นิตยาภรณ์ จันทร์นคร. ผลลัพธ์ของการพัฒนาระบบช่องทางด่วนพิเศษสำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดเอสทียก (STEMI) โรงพยาบาล สกลนคร. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2554;19:1:128-36.

วีระพล บดีรัฐ. PDCA วงจรสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพมหานคร: ประชาชน; 2543.

เพ็ญจันทร์ แสนประสาน. การบริหารจัดการบริการสุขภาพ: Lean Management. กรุงเทพ มหานคร: สุขุมวิทการพิมพ์; 2551.

จาดศรี ประจวบเหมาะ. Cardiac Network Forum ครั้งที่ 1: เครือข่ายหัวใจยิ้มได้. ขอนแก่น : ขอนแก่นการพิมพ์; 2552.

Kereiakes DJ, Gibler WB, Martin LH, Pieper KS, Anderson LC, and the Cincinnati Heart Project Study Group. Relative importance of emergency medical system transport and the prehospital electrocardiogram on reducing hospital time delay to therapy for acute myocardial infarction: a preliminary report from the Cincinnati Heart Project. Am Heart J 1992; 123: 835-40.

กิตติชัย วรโชติกำจร. การศึกษาระยะเวลาก่อนที่ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดหรือการขยายหลอดเลือดแดงโคโรนารีด้วยบอลลูนโดยการใช้แนวทางลัด [วิทยานิพนธ์ปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต]. บัณฑิตวิทยาลัย; กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2543.