การตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดด้วยเครื่องตรวจวัดเสียงสะท้อนจากหูชั้นใน (Otoacoustic Emission) ของโรงพยาบาลบุรีรัมย์

Main Article Content

วรวุฒิ โอฬารวณิช

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ภาวะสูญเสียการได้รนในทารกแรกเกิด เป็นสาเหตุที่สำคัญของความบกพร่องต่อพัฒนาการทางภาษา การพูดและการเรียนรู้ทำให้เด็กเหล่านี้ด้อยโอกาสทางการศึกษา สังคม ตลอดจนการประกอบอาชีพ เป็นภาระแก่ครอบครัวและสังคม การตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาก่อนอายุ 6 เดือน จะช่วยลดความรุนแรงของภาวะบกพร่องของการได้ยินลงได้ ปัจจุบันการตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดโดยใช้เครื่องวัดเสียงสะท้อนจากหูชั้นใน (Otoacoustic emission or OAEs) ทำได้ง่าย ใช้เวลาไม่นาน และไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่เด็ก จึงเป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับการตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิด
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดความผิดปกติของการได้ยินในทารกแรกเกิดในหออภิบาลทารกแรกเกิดภาวะวิกฤติ (Neonatal Intensive Care Unit, NICU)
รูปแบบการศึกษา: การศึกษาไปข้างหน้าแบบพรรณนาและเชิงวิเคราะห์
กลุ่มเป้าหมาย: ทารกแรกเกิดในหออภิบาลทารกแรกเกิดภาวะวิกฤติ (NICU) ของโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2551 ถึง 31 พฤษภาคม 2554 จำนวน 1980 ราย แบ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง (ทารกแรกเกิดใน NICU ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของการได้ยิน) จำนวน 1529 ราย และกลุ่มเสี่ยงต่ำ(ทารกแรกเกิดใน NICU ที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของการได้ยิน) จำนวน 451 ราย
วิธีการศึกษา: ทารกกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองการได้ยิน แบ่งเป็นกลุ่มที่ผลการตรวจผ่าน (Pass) และไม่ผ่าน (Refer) ในกลุ่มที่ผลการตรวจไม่ผ่าน 3 ครั้ง (ระยะการตรวจแต่ละครั้งห่างกัน 2 สัปดาห์) จะถูกส่งต่อไป ตรวจยืนยันความผิดปกติของการได้ยินที่โรงพยาบาลราชวิถีและแก้ไขความผิดปกติต่อไป จากนั้นศึกษา หาความสัมพันธ์ของแต่ละปัจจัยเสี่ยงกับการเกิดความผิดปกติของการได้ยิน โดยใช้ Chi-square test ค่า p< 0.05 จึงถือว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ
ผลการศึกษา: ทารกแรกเกิดใน NICU จำนวน 1980 ราย ได้รับการตรวจคัดกรองการได้ยินด้วย OAE พบอัตราการส่งต่อร้อยละ 7.06 ในทารกกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดความผิดปกติของการได้ยิน ร้อยละ 4.88 ในทารกกลุ่มเสี่ยงต่ำ จำนวนทารกที่ตรวจคัดกรองการได้ยินไม่ผ่านทั้งหมด 130 ราย (คิดเป็นอัตราการส่งต่อรวม ร้อยละ 6.57) พบเป็นทารกที่ผลการตรวจหูไม่ผ่านทั้งสองข้าง 92 ราย (ร้อยละ 4.65) และผลการตรวจหู ไม่ผ่านข้างเดียว 38 ราย (ร้อยละ 1.92) ทารกที่ผลตรวจหูไม่ผ่านโดยไม่มีปัจจัยเสี่ยงจำนวน 22 ราย (ร้อยละ 16.92) ปัจจัยเสี่ยงที่มีนัยสำคัญทางสถิติต่อการตรวจพบความผิดปกติของการได้ยินคือ ความผิดปกติแต่กำเนิดของรูปใบหน้าและกะโหลกศีรษะ น้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 1,500 กรัม Apgar score ที่ 1 นาทีน้อยกว่าหรือเท่ากับ 4 หรือ Apgar score ที่ 5 นาที น้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 การใช้เครื่องช่วยหายใจต่อเนื่องกันอย่างน้อย 5 วัน และมีความผิดปกติเข้าได้กับกลุ่มอาการที่มีผลต่อความผิดปกติของการได้ยิน อายุมัธยฐานของทารกกลุ่มเสี่ยงสูงขณะได้รับการตรวจคัดกรองการได้ยินครั้งแรก 25 วัน (พิสัย 5-101 วัน) ขณะที่อายุมัธยฐานของทารกกลุ่มเสี่ยงต่ำ 20 วัน(พิสัย 2-72วัน)โดยร้อยละ 99.15 ของทารกกลุ่มเสี่ยงสูง และร้อยละ 100 ของทารกกลุ่มเสี่ยงต่ำได้รับการตรวจคัดกรองการได้ยินก่อนอายุ 3 เดือนหลังคลอด อัตราการกลับมาตรวจตามนัด คิดเป็นร้อยละ 96.59
สรุป: ทารกแรกเกิดใน NICU โรงพยาบาลบุรีรัมย์ พบอุบัติการณ์ของการสูญเสียการได้ยินร้อยละ 6.57(ร้อยละ 7.06 ในทารกกลุ่มเสี่ยงสูง และร้อยละ 4.88ในทารกกลุ่มเสี่ยงต่ำ) จากผลการศึกษาทำให้ทราบถึงความสำคัญของปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินของทารกแรกเกิดใน NICU เพื่อเป็นแนวทางในการให้ความรู้และสร้างความตระหนักแก่ผู้ปกครองและบุคลากรที่อยู่ในทีมดูแลสุขภาพ ในการค้นหาทารกที่มีปัจจัยเสี่ยงเข้ารับการตรวจคัดกรองการได้ยินเพื่อที่จะได้ให้การวินิจฉัยความผิดปกติและ ฟื้นฟูสมรรถภาพของการได้ยินตั้งแต่เริ่มต้น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Robert JE, Wallace IF, Brackett D. Development of speech and language. In: Lalwani AK, Grundfast KM, editors. Pediatric otology and neurology. Philadelphia: Lippincott-Raven Publishers; 1998. p.39-47.

สุนันทา พลปัถพี, นิตยา เกษมโกสินทร์. ความบกพร่องทางการได้ยินในเด็ก. ใน: กิ่งแก้ว ปาจรีย์, บรรณาธิการ. การฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการ. กรุงเทพ: กรีนพริ้ท; 2542. หน้า 217-27.

Karchmer M, Allen T. The functional assessment of deaf and hard of hearing students. Am Ann Deaf 1999; 144: 68-77.

Brookhouser Patrick E. Sensorineural hearing loss in children. Pediatr Clin North Am. 1996;43: 6: 1195-216.

Kountakis SE, Psifidis A, Chang CJ, Stiernberg CM. Risk factors associated with hearing loss in neonates. Am J otolaryngol. 1997; 18: 90-3.

Meyer C, Witte J, Hildmann A, Hennecke K-H, Schunek K-U, Maul K, et al. Neonatal screening for hearing disorders in infants at risk : incidence risk factors, and follow up. Pediatrics 1999; 104 No.4: 900-4.

Yoshinaga-ltano C, Seday A, Coulter DK, Mehl AL. Language of early and later identified chidren with hearing loss. Pediatrics. 1998; 102: 1161-71.

Joint Committee on Infant Hearing. Year 2000 position statement: principles and guidelines for early hearing detection and intervention. Pediatrics 2000; 1006: 798-817.

Bachmann KR, Arvedson JC. Early identification and intervention for children who are hearing impaired. Pediatr Rev 1998; 19:155-65.

Behrman RE, Kliegman R, Jenson HB. Nelson textbook of pediatrics. 17th ed. Philadelphia: W.B. Saunders; 2004. p. 2131-34.

Homer JJ, Linney S, Strachan DR. Neonatal hearing screening using the auditory brainstem response. Cli Otolaryngol 2000; 25: 66-70.

Van Straaten HL, Automated auditory brainstem response in neonatal hearing screening. Acta Pediatric 1999; 88 (Suppl): 76-9.

Lorenz JM. The outcome of extreme prematurity. Semin Perinatal 2001;25:348-59.

Valkama AM, Laitakari KT, Tolonen EU, Veyrynen MR, Vainionpaa LK, Koivisto ME. Prediction of permanent hearing loss in high-risk preterm infants at term age. Eur J Pediatr 2000; 159:459-64.

Thompson DC, Me Phillips H, Davis R, Lieu TA, Homer CJ, Helfand M. Newborn hearing screening: a summary of the evidence. JAMA 2001: 286:2000-10.

Sininger YS. Screening for hearing loss in neonates: Where do we stand? Adv Otolaryngol Head and Neck Surg 1998;12:181-203.

จันทร์ชัย เจรียงประเสริฐ, กฤษณา เลิศสุขประเสริฐ, ลลิดา เกษมสุวรรณ, ประชา นันทนฤมิต. การตรวจคัดกรองการได้ยินในทารก แรกเกิดด้วยเครื่องวัดเสียงสะท้อนจากหูชั้นใน (Otoacoustic emission) ผู้ป่วยใหม่ใน 1 ปี ของโรงพยาบาลรามาธิบดี. วารสารหู คอ จมูก และใบหน้า 2546; 4: 27-41.

American Academy of Pediatrics. Joint Committee on Infant Hearing 1994 Position Statement. Pediatrics. 1995; 95: 152-6.

Kim Sam Y, Bothwell NiCi E, Backous Douglas D. The expanding role of the otolaryngologist in managing infants and children with hearing loss. Otolaryngol Clin N Am. 2002; 35: 699-710.

Buch NH, Jorgensen MB. Leukocytic infiltration in middle ear of newborn infants: a pathology study. Arch Otolaryngol Head Neck Surg. 1964;80:141-8.

deSa DJ, Polypoidal organization of aspirated amniotic squamous debris (amnion nodosum) in middle-ear cavity of newborn infants. Arch Dis Child. 1977; 52: 148-51.

Balkany TJ, Berman SA, Simmons MA & Jafek BW. Middle ear effusion in neonates. Laryngoscope. 1978;88:398-405.

วันชัย ตั้งอารมณ์มั่น. การตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดและทารกกลุ่มเสี่ยงโดยใช้เครื่องวัดเสียงสะท้อนจากหูชั้นใน. พุทธชินราชเวชสาร 2551; 25:618-624.

Sergi P, Pastorino G, Ravazzani P, Tognola G, Grandori F. A hospital based universal neonate hearing screening programme using click-evoked oto- acoustic emissions. Scand Audiol. 2001; 30: Suppl 52 : 18-20.

Cone-Wesson B, Vohr BR, Sininger YS, Widen JE, Folsom RC, Gorga MP & Norton SJ. Identification of neonatal hearing impairment: Infants with hearing loss. Ear and hearing. 2000; 21: 5: 488-507.

Jurkovicova Jana, Aghova Lubica, Abdel Wahab Elmy Flouria, Huttova Maria. Hearing impairment in premature infants in relation to risk factors for hearing loss. International Pediatrics. 2002; 17: 3: 172-8.

Borge E. Perinatal asphyxia, hypoxia, ischemia and hearing loss. An overview. Scand Audiol 1997; 26: 77-91.

Marsh RR, Handler SD. Hearing impairment in ventilator - dependent infants and children. Int J Pediatr otorhinolaryngol 1999; 20: 213-7.