ประสิทธิผลของการส่งเสริมการบริโภคอาหารวัยผู้สูงอายุในคลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

สมนึก โตมะสูงเนิน

บทคัดย่อ

บทนำ: ปัญหาทางสุขภาพผู้สูงอายุเกี่ยวกับโภชนาการส่วนใหญ่เกิดจากภาวะขาดสารอาหารในอดีต ก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ เช่น ปัญหาขาดโภชนาการ หรือปัญหาโภชนาการเกิน เช่น ภาวะ ไขมันในเลือดสูง, โรคความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, โรคอ้วน, หรือใจขาดเลือด, โรคเก้าท์, ดังนั้นความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารจึงมีส่วนทำให้เกิดปัญหาทางโภชนาการในผู้สูงอายุได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความรู้และวิธีปฏิบัติตัวการบริโภคอาหารในคลินิกผู้สูงอายุ และเพื่อเปรียบเทียบ วิธีปฏิบัติตัวการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุก่อนและหลังให้ความรู้ด้านโภชนาการ
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยแบบทดลองเบื้องต้น (Pre Experiment research) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วย ผู้สูงอายุในคลินิกผู้สูงอายุโรงพยาบาลสุรินทร์ โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง 30 คน เครื่องมือ,ที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามซึ่งประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปของผู้สูงอายุชื่อเพศอายุระดับ การศึกษา อาชีพ รายได้ ข้อมูลเกี่ยวกับห้องปฏิบัติการ การวัดเจตคติและการปฏิบัติตัว เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม ถึง 30 กันยายน 2553 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ ได้แก่ t-test
ผลการศึกษา: ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 60 ช่วงอายุระหว่าง 70-79 ปี มีการศึกษาระดับ มัธยมศึกษาร้อยละ 53 ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ร้อยละ 50 มีรายได้เฉลี่ย 3,000 บาทต่อเดือน มีสถานภาพคู่ ผู้สูงอายุต้องการดูแลและเอาใจใส่ โดยให้ความรู้และ การปฏิบัติตัวต่อการบริโภคอาหารที่เหมาะสมสำหรับวัยผู้สูงอายุ หลังการให้ความรู้โดย ใช้ตัวอย่างอาหารเป็นสื่อในการสอนเพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้และเช้าใจง่ายขึ้น ผลของการ ส่งเสริมการบริโภคอาหารวัยผู้สูงอายุในคลินิกผู้สูงอายุ หลังการได้รับการส่งเสริมการบริโภค อาหารมีค่าสูงกว่าก่อนให้ความรู้ด้านโภชนาการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการส่งเสริมการบริโภคอาหารในคลินิกผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุ ปฏิบัติตัวและมีพฤติกรรมในการดูแลตนเองดีขึ้น สามารถเลือกรับประทานอาหารที่มี ประโยชน์และเหมาะสมกับวัยได้ ทั้งนี้เพื่อช่วยส่งเสริมสุขภาพ จึงควรสนับสนุนให้มีการ ส่งเสริมการบริโภคในคลินิกผู้สูงอายุต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

วันดี โภคะกุล, อุบลพรรณ จุฑาสมิต, ประสิทธิ์ รวมพิมาย. อาหารทั่วไปและอาหารเฉพาะโรคผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ : สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ; 2546

สายัณห์ สวัสดิ์ศรี, บุญเติม แสงดิษฐ์, ดาบศักดิ์ กองสมุทร, วันเพ็ญ แก้วปาน, กฤษฎา ดวงอุไร, จิตถนอม สุวรรณเตมีย์. สุขภาพดีอย่างยืนยาว. กรุงเทพๆ : สรรพสาร ; 2549 :33-9.

บรรลุ ศิริพานิช. ผู้สูงอายุไทย : ผู้สูงอายุเป็นทรัพยากรของสังคม. กรุงเทพฯ : สภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย ; 2543 :103-4.

กิ่งทิพย์ แต้มทอง. ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ : ศึกษากรณีหมู่บ้านท่าช้าง อำเภอบ้านลาดจังหวัดเพชรบุรี. [วิทยานิพนธ์ ปริญญามานุษยวิทยามหาบัณฑิต] บัณฑิตวิทยาลัย ; กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.

รุจิรา ส้มมะสุด, จุฬาภรณ์ รุ่งพิสุทธิพงษ์. ความรู้เพื่อการดูแลบุคคลอันเป็นที่รักผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิหมอชาวบ้าน ; 2537:45-6

สุรีพันธ์ บุญวิสุทธิ์. การศึกษาแนวโน้มภาวะโภชนาการ. นนทบุรี : กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ; 2542

บุญจันทร์ วงศ์นพรัตน์, ฉัตรประอร งามอุโฆษ, น้ำเพชร สายบัวทอง. การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ภายหลังเข้าร่วมโครงการอบรมความรู้การจัดการเบาหวานด้วยตนเองแบบกลุ่ม. Rama Nurs J 2008 ; 14:3:2:289-97.

อาภรณ์ อังศุวัชรากร. ผลการใช้โปรแกรมการให้สุขศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนต่อระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารเช้า (Fasting Plasma Glucose, FPG) และปริมาณฮีโมโกลบินที่มีน้ำตาลเกาะ (HbAlC)ในโรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2552; 25:1.

วิลาสินี หาญเมธี, ดวงสุดา แสนวงค์, รัตตินนท์ เหมวิชัยวัฒน์. ผลของการให้ความรู้โดยใช้กิจกรรมกลุ่มต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง ระดับน้ำตาลในเลือดและน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในผู้ป่วยคลินิกพิเศษเบาหวานโรงพยาบาลลำปาง. บทคัดย่อผลงานวิจัย การประชุมวิชาการโรงพยาบาลลำปาง ครั้งที่ 2 (2nd LPAC) การนำเสนอผลงานเครือข่ายวิจัยโรงพยาบาลเขตภาคเหนือ ครั้งที่ 1; วันที่ 23-24 มิถุนายน 2551 ; ณ ห้อง ประชุมโรงพยาบาลลำปาง 1. ลำปาง ; 2541.

กัลยาณี บุญสิน. จงจิตร ตรีทศายุธ, บุญศรี เจริญมาก. ประสิทธิผลของการให้คำแนะนำอย่างมีแบบแผนต่อภาวะไขมันในเลือดสูง. สงขลานครินทร์เวชสาร 2551 ; 519-24.

บรรลุ ศิริพานิช. คูมือผู้สูงอายุ ฉบับสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพๆ : สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน ; 2548:40-8.

ลิวรรณ รุนนาภิรักษ์. การพยาบาลผู้สูงอายุปัญหาระบบประสาทและอื่นๆ. กรุงเทพฯ : บุญคิริการพิมพ์ ; 2552 :99-113.