ความชุกของโรคซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ: โรคซึมเศร้า (Depression) เป็นผลรวมจากหลายสาเหตุ ทั้งจากความผิดปกติของสารในสมองพันธุกรรม ผลกระทบจากบุคลิกภาพ และความเครียดในชีวิต ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าส่วนใหญ่ มีอาการเรื้อรังและเกิดเป็นซ้ำได้บ่อย โรคเรื้อรัง (chronic diseases) คือโรคที่เป็นแล้วจะ มีอาการหรือต้องรักษาติดต่อกันนานหรือตลอดชีวิต เป็นสาเหตุของความเครียดในชีวิตที่ จะส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ หากมีระบบการค้นหาคัดกรองโรคซึมเศร้าในกลุ่มโรคเรื้อรัง ที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการติดตามเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องและเพิ่มขีดสมรรถนะ ให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ครอบครัว ชุมชนให้สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้าได้
วัตถุประสงค์: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราความชุก (prevalence) ของโรคซึมเศร้า (depression.ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มารับบริการรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล ศรีรัตนะ
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (A cross sectional studies) กลุ่มประชากรคือ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มารับบริการรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลศรีรัตนะ ในปี งบประมาณ 2554 (ตุลาคม2553-กันยายน 2554) ทั้งหมด 3,412 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามประกอบด้วยเนื้อหา 2ส่วน ได้แก่ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานบุคคลส่วนที่ 2 แบบ คัดกรองโรคซึมเศร้า 2 คำถาม (2Q) และแบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม (9Q) ของ โรงพยาบาลจิตเวชพระศรีมหาโพธิ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแบบพรรณนา หาความถี่ ร้อยละ
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเรื้อรังที่ศึกษาทั้งหมด 3,412 คน โรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด จำนวน 2,024 คน (ร้อยละ 59.32) โรคเบาหวาน จำนวน 1,058 คน (ร้อยละ 31.1) โรคหอบหืด 156 คน (ร้อยละ 4.6)โรคไตวายเรื้อรัง 66 คน (ร้อยละ 1.9) โรคลมชัก และไทรอยด์ โรคละ 54 คน (ร้อยละ 1.6) ผลการคัดกรองโรคซึมเศร้าด้วยแบบคัดกรอง 2 คำถาม (2Q) โรคไตวายเรื้อรัง มีผลการคัดกรองผิดปกติมากที่สุด ร้อยละ 77.3 ผลการคัดกรองโรคซึมเศร้าด้วยแบบคัด กรอง 9 คำถาม(9Q) พบว่าโรคเรื้อรังที่มีอาการของโรคซึมเศร้าระดับปานกลางและรุนแรง ที่ต้องได้รับการบำบัดรักษาโดยยาต้านเศร้าและกิจกรรมจิตบำบัดมากทีสุดได้แก่ โรคความดัน โลหิตสูง ร้อยละ 28. 6
สรุปผลการศึกษา: จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่ามีอาการของโรคซึมเศร้าร่วมกับการเป็นโรคเรื้อรังมีอัตราสูง ซึ่งเป็นกลุ่มโรคซ้ำซ้อน (complex diseases) ที่สำคัญทำให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยแย่ลง เป็น ความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องค้นหา คัดกรองและให้การช่วยเหลือ รักษาที่เหมาะสมและมี ประสิทธิภาพต่อไป
คำสำคัญ: โรคเรื้อรัง, โรคซึมเศร้า, แบบประเมิน 2 คำถาม, แบบประเมิน 9 คำถาม
Article Details
References
2. กระทรวงสาธารณสุข.แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ.2550-2554 ในช่วงแผน พัฒนาเศรษฐกิจและส่งคมแห่งชาติฉบับที่ 10 พ.ศ.2550-2554.กรุงเทพมหานคร : คณะ กรรมการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ค.2550-2554;2550.
3. ธรนินทร์ กองสุข. โรคซึมเศร้าองค์ความรู้จากการทบทวนหลักฐานทางวิชาการ. อุบลราชธานี : ศิริธรรมออฟเซ็ท ;2550
4. Murray CJL, Lopez AD. Alternate projections of mortality and disability by cause 1990-2020: global burden of disease study. Lancet 1997; 349:1498-504.
5. กรมสุขภาพจิต. แนวทางเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าระดับจังหวัด. พิมพ์ครั้งที่ 2. อุบลราชธานี: ศิริธรรมออฟเซ็ท; 2551.
6. สุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล และคณะ.การพัฒนา และความเที่ยงตรงของแบบคัดกรองโรคซึม เศร้าชนิด 2 คำถามในชุมชนไทยอีสาน. วารสาร สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2550 ; 52 : 2:138-48.
7. Andrade L, Caraveo-Anduaga JJ, Berglund p, Bijl RV, De Graaf R, Vollebergh W, et al. The epidemiology of major depressive episodes: results from the International Consortium of Psychiatricepidemiology (ICPE) Surveys. International journal of Methods Psychiatric Research 2003; 12:1:165-75.
8. Judd LJ. The clinical course of unipolar major depressive disorders. Archives of General Psychiatry 1997; 54:989-91.
9. Kripke DF. Light treatment for nonseasonal depression: speed, efficacy and combined treatment. J Affect Disord 1998; 49:109-17.