ผลกระทบของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มารับการรักษาล่าช้าต่อระยะของโรคและชนิดของมะเร็งเต้านม

Main Article Content

พงศกร ศรีจันทร์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมีอัตราการเสียชีวิตที่เกี่ยวเนื่องจากโรคร้อยละ 50 การตรวจพบ มะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะแรก นำไปสู่การลดอัตราการเสียชีวิตได้ ในปัจจุบันมีการแบ่งชนิด มะเร็งเต้านม (clinicopathological subtypes) เพื่อเป็นแนวทางการรักษาเสริมและบอก การพยากรณ์โรค
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของระยะเวลาที่ผู้ป่วยมารับการรักษาล่าช้าต่อระยะของโรค (staging) และ ชนิดของมะเร็งเต้านม (clinicopathological subtypes)
วิธีการศึกษา: การศึกษาย้อนหลัง (retrospective analytical study) จากฐานข้อมูลมะเร็งเต้านม โรงพยาบาลสุรินทร์ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2552 ถึง 30 กันยายน พ.ศ.2552 ทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วย 108 รายเก็บรวบรวมข้อมูล อายุ, ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มมีอาการจน เข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาล, ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มมีอาการจนได้รับการรักษา, ขนาดก้อน มะเร็ง, ระยะของโรค, histological grading และ clinicopathological subtypes
สถิติที่ใช้: สถิติเชิงพรรณนาในข้อมูลทั่วไปและการเปรียบเทียบความแตกต่างของตัวแปรใช้สถิติ chi-square test
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มารับการรักษาล่าช้า (ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มมีอาการมากกว่า 12 สัปดาห์) รอยละ 29.6 (32/108) อยู่ในระยะโรคลุกลามหรือแพร่กระจายถึงร้อยละ 59.4 เมื่อเปรียบ เทียบกับผู้ป่วยทีมารับการรักษา ระยะเวลาน้อยกว่า 12 สัปดาห์ พบเพียงร้อยละ 26.3 (p=0.0001) และในผู้ป่วยกลุ่มนี้มีชนิด clinicopathological subtypes ดังนี้ Luminal B ร้อยละ 40.6, HER-2 overexpression ร้อยละ 31.3 และ Tripple negative ร้อยละ 25
สรุป: ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มารับการรักษาล่าช้า มีผลโดยตรงกับระยะของโรคที่เป็นมากขึ้นหรือระยะแพร่กระจายและเป็นชนิดมะเร็งเต้านมที่มีการพยากรณ์โรคไม่ดี
คำสำคัญ: Breast cancer, delay in presentation, staging, clinicopathological subtypes

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. สัมฤทธิ์ มห้ทธโนบล. การผ่าตัดมะเร็งเต้านมแบบ สงวนเต้านมโดยใช้วิดีโอช่วย. สงขลานครินทร์ เวชสาร 2555 : 30:1:49-62.
2. National Cancer Institute. Previous version : SEER Cancer Statistics Review, 1975-2008. [online]. 2011 [cited 2012 Sep 11]; Availablefrom:URL:https://seer.cancer.gov/csr/1975__2008.
3. Burgess CC, Ramirez AJ, Richards MA, Love SB.Who and what influences delayed presentation in breast cancer?. Br J Cancer 1998;77:8:1343-8.
4. Richards MA, Smith P, Ramirez AJ, Fentiman IS, Rubens RD. The influence on survival of delay in presentation and treatment of symptomatic breast cancer.Br J Cancer 1999;79:5-6 :858-64.
5. Goldhirsch A, Wood WC, Coates AS, Gelber RD, Thurlimann B, Senn HJ. et al. Strategies for subtypes-dealing with the diversity of breast cancer : highlights of the St Gallen international expert concensus on the primary of early breast cancer 2011. Ann of Oncology 22:8:1736-47.
6. Fisher ER, Redmond C, Fisher B. A perspective concerning the relation of duration of symptoms to treatment failure in patients with breast cancer. Cancer 1997;40:6:3160-7.
7. Rossi S, Cinini C, Di Pietro C, Lombardi CP, Crucitti A, Bellantone R, et al Diagnostic delay in breast cancer : correlation with disease stage and prognosis. Tumor 1990;76:6:559-62.
8. Wilkinson GS, Edgerton F, Wallace HJ Jr, Reese p, Patterson J, Priore R-. Delay, stage of disease and survival from breast cancer. J Chron Dis 1979;32:5:365-73.