ผลของรูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยการปฏิบัติแบบมีส่วนร่วม ต่อสุขภาวะช่องปากของเด็กปฐมวัยในศูนย์เด็กเล็ก อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี

Main Article Content

วรพรรณ ถมยา
ยอดชาย สุวรรณวงษ์

บทคัดย่อ

ความเป็นมาของปัญหา: เด็กปฐมวัยมากกว่า ร้อยละ 60 เป็นโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบ ซึ่งนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่น
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยการปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมต่อสุขภาวะช่องปากของเด็กปฐมวัยในศูนย์เด็กเล็ก อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี
ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มทดสอบก่อนและหลังกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ เด็กปฐมวัย อายุ 1-5 ปี ในศูนย์เด็กเล็กที่ตั้งอยู่ในอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี จำนวน 76 คนแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 38 คนและกลุ่มควบคุม 38 คนโดยที่กลุ่มทดลองได้รับรูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยการปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้นส่วนกลุ่มควบคุมได้รับบริการตามปกติ ใช้ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมของรูปแบบทั้งสิ้น 16 สัปดาห์ และวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิตเชิงวิเคราะห์ด้วย independent t-test และ paired t-testที่ระดับความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.05
ผลการศึกษา: ภายหลังการทดลองใช้รูปแบบพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์หลังการทดลองน้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์หลังการทดลองในกลุ่มทดลองลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05และกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของฟันน้ำนมผุถอนอุดหลังการทดลองเพิ่มขึ้นน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
สรุป: รูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยการปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมมีประสิทธิภาพต่อสุขภาวะช่องปากของเด็กปฐมวัยในศูนย์เด็กเล็ก อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี
คำสำคัญ: รูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปาก การปฏิบัติแบบมีส่วนร่วม เด็กปฐมวัย ศูนย์เด็กเล็ก

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. ปิยะดา ประเสริฐสม. รายงานการพัฒนาระบบการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก 0 - 12 ปีบนพื้นฐานของความเชื่อการรับรู้และพฤติกรรมของเด็กและผู้ดูแลเด็ก. นนทบุรี : กองทันตสาธารณสุขกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2546.

2. ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล และคณะ. ทันตกรรมป้องกันในเด็กและวัยรุ่น. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : บริษัทเบสท์บุ๊คส์ออนไลน์จำกัด; 2554.

3. สิทธิชัย ขุนทองแก้ว. วิทยาการโรคฟันผุ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัทไอกรุ๊ปเพรสจำกัด; 2552.

4. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี. HDC ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาสุขภาพช่องปาก. [อินเทอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 2561 มกราคม 12].เข้าถึงได้จาก : URL: https://203.157.115.44/hdc/reports/page.php?cat_id=db30e434e30565c12fbac44958e338d5

5. Habibian M, Roberts G, Lawson M, Stevenson R, Harris S. Dietary habits and dental health over the first 18 months of life. Community Dent Oral Epidemiol. 2001;29(4):239-46.

6. Glanz K, Lewis FM, Rimer BK, editors. Health behavior and health education; Theory, Research, and Practice. 2nd. ed. San Francisco : Jossey-Bass Inc. Publishers; 1997.

7. สถาบันส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. การจัดการะบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม. เชียงใหม่ : เชียงใหม่ บี เอส การพิมพ์; 2544.

8. อรพินทร์ ชูชม. การวิจัยกึ่งทดลอง. วารสารพฤติกรรมศาสตร์. 2552;15(1):1-15.

9. กัลยาวา นิชย์บัญชา. การวิเคราะห์สถิติ : สถิติเพื่อการตัดสินใจ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย; 2542.

10. อารยา องค์เอี่ยม, พงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย. วิสัญญีสาร. 2561;44(1):36-42.

11. เครือวัลย์ นิตย์คำหาญ, รุจิรา ดวงสงค์. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บ้านคำแก่นคูณ ตำบลม่วงหวาน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล. 2555;23(1):51-60.

12. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 ประเทศไทย พ.ศ. 2551-2555. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักกิจการองค์การทหารผ่านศึก; 2556.

13. Douglass JM, Tinanoff N, Tang JMW, Altman DS. Dental caries patterns and dental health behaviors in Arizona infants and toddlers. Community Dent Oral Epidemiol. 2001;29(1):14-22.