ความชุกของภาวะกลืนลำบากในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลศรีสะเกษ

Main Article Content

ศศิธร สายยศ

บทคัดย่อ

บทนำ: ภาวะกลืนลำบากเป็นภาวะที่มีความสำคัญและพบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งการที่ผู้ป่วยมีภาวะกลืนลำบากอาจส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยหลายด้าน เช่น การสำลักอาหารลงสู่ปอดทำให้เกิดปอดติดเชื้อ ภาวะขาดน้ำ และภาวะขาดสารอาหาร การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของภาวะกลืนลำบากในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลศรีสะเกษ และศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะกลืนลำบากกับภาวะปอดติดเชื้อในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
ประชากรศึกษา: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลศรีสะเกษ
ระยะเวลาที่ศึกษา: 1 มกราคม พ.ศ.2561 ถึง 30 เมษายน พ.ศ.2561
วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง เก็บข้อมูลการศึกษา โดยใช้แบบสัมภาษณ์เก็บข้อมูลทั่วไป และคะแนนความสามารถในการช่วยเหลือตนเองของผู้ป่วย (Bathel index) ตรวจประเมินภาวะกลืนลำบาก โดยใช้การประเมิน Modified water swallowing test (MWST) และทำการศึกษาข้อมูล ได้แก่ ชนิดของโรคหลอดเลือดสมอง ตำแหน่งพยาธิสภาพของสมอง และประวัติการเกิดภาวะปอดติดเชื้อขณะนอนโรงพยาบาลครั้งนี้ จากเวชระเบียนผู้ป่วย
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเข้าร่วมการวิจัยทั้งหมด 66 ราย เป็นเพศชาย 39 ราย เพศหญิง 27 ราย มีอายุเฉลี่ย 65 ปี ผู้ป่วยที่มีสมองขาดเลือด 60 ราย และมีเลือดออกในสมอง 6 รายการศึกษานี้พบความชุกของภาวะกลืนลำบากในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลศรีสะเกษ ร้อยละ 30 และพบว่าภาวะกลืนลำบากมีความสัมพันธ์กับภาวะปอดติดเชื้อในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001)
สรุปและข้อเสนอแนะ: จากศึกษาพบว่าภาวะกลืนลำบากในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลศรีสะเกษมีความชุกค่อนข้างสูง และพบว่าภาวะกลืนลำบากมีความสัมพันธ์กับภาวะปอดติดเชื้อในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นจึงควรมีการประเมินและให้การรักษาภาวะกลืนลำบากตั้งแต่ระยะแรกที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะปอดติดเชื้อ ที่อาจเกิดขึ้นตามมา
คำสำคัญ: ภาวะกลืนลำบาก โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะปอดติดเชื้อ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Martino R, Foley N, Bhogal S, Diamant N, Speechley M, Teasell R. Dysphagia after stroke: incidence, diagnosis, and pulmonary complications. Stroke. 2005;36(12):2756-63.

2. Arnold M, Liesirova K, Broeg-Morvay A, Meisterernst J, Schlager M, Mono ML, [et al.] Dysphagia in Acute Stroke: Incidence, Burden and Impact on Clinical Outcome. PLoS One. 2016;11(2 ):e0148424.

3. Ebihara S, Sekiya H, Miyagi M, Ebihara T, Okazaki T. Dysphagia, dystussia, and aspiration pneumonia in elderly people. J Thorac Dis. 2016;8(3):632-9.

4. Johnson ER, McKenzie SW, Sievers A. Aspiration pneumonia in stroke. Arch Phys Med Rehabil. 1993;74(9):973-6.
5. Marik PE, Kaplan D. Aspiration pneumonia and dysphagia in the elderly. Chest. 2003;124(1):328-36.

6. Sharma JC, Fletcher S, Vassallo M, Ross I. What influences outcome of stroke-pyrexia or dysphagia? Int J ClinPract. 2001;55(1):17-20.

7. Martino R, Pron G, Diamant N. Screening for oropharyngeal dysphagia in stroke : insufficient evidence for guidelines. Dysphagia. 2000;15(1):19-30.

8. Ehihara S, Sekiya H, Miyaki M, Ehihara T, Okazaki T. Dysphagia, dystussia, and aspiration pneumonia in elderly people. J Thorac Dis. 2016;8(3):632-9.

9. Almirall J, Rofes L, Serra-Prat M, Icart R, Palomera E, Arreola V, [et.al]. Oropharyngealdysphagia is a risk factor for community-acquired pneumonia in the elderly. Eur Respir J. 2013;41(4):923-8.

10. Heart and Stroke Foundation of Ontario . Management of Dysphagia in Acute Stroke; An Educational Manual for the Dysphagia Screening Professional. Toronto: Heart and Stroke Foundation of Ontario; 2006.

11. Osawa A, Maeshima S, Tanahashi N. Water- swallowing test: screening for aspiration In Stroke patients. Cerebrovasc Dis. 2013;35(3):276-81.

12. Sala R, [et.al]. Swallowing changes in cerebrovascular accidents: incidence, natural history, And repercussions on the nutritional status, morbidity, and mortality. Rev Neurol. 1998;27:759-66.

13. Barer DH. The natural history and functional consequences of dysphagia after hemispheric stroke. J Neurol Neurosurg Psychiatry. 1989;52(2):236-41.

14. Smithard DG, O’Neill PA, Park C, Morris J. Complications and outcome after stroke: does dysphagia matter? Stroke. 1996;27(7):1200-4.

15. Teasell R, Foley N, Fisher J, Finestone H. The incidence, management, and complications of dysphagia in patients with medullary strokes admitted to a rehabilitation unit. Dysphagia. 2002;17(2):115-20.

16. Veis SL, Logemann JA. Swallowing disorders in persons with cerebrovascular accident. Arch PhysMed Rehabil. 1985;66(6):372-5.

17. Lin LC, Wu SC, Chen HS, Wang TG, Chen MY. Prevalence of impaired swallowing in institutionalized older people in taiwan. J Am Geriatr Soc. 2002;50(6):1118-23.

18. Gordon C, Hewer RL, Wade DT. Dysphagia in acute stroke. Br Med J (Clin Res Ed). 1987;295(6595):411-4.
19. Rofes L, [et al.] Pathophysiology of oropharyngeal dysphagia in the frail elderly. Neurogastroenterol Motil. 2010;22(8):851-8.

20. Sura L, Madhavan A, Carnaby G, Crary M. Dysphagia in the elderly: management and nutritional considerations. Clin Interv Aging. 2012;7:287-98.

21. Cabré M, Serra-Prat M, Force L, Almirall J, Palomera E, Clavé P. Oropharyngeal dysphagia is a risk factor for readmission for pneumonia in the very elderly persons: observationalprospective study. J Gerontol A Biol Sci Med Sci. 2014;69(3):330-7.

22. John RA, Benjamin DM. Aspiration pneumonia after stroke: Intervention and prevention. The Neurohospitalist. 2011;1(2):85-93.

23. Ramsey DJ, Smithard DG, Kalra L. Early Assessments of Dysphagia and Aspiration Risk in Acute Stroke Patients. Stroke. 2003;34(5):1252-7.