การพัฒนาเครือข่ายการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน STEMI โรงพยาบาลบุรีรัมย์

Main Article Content

อมรรัตน์ ปานะโปย
บุหลัน เปลี่ยนไธสง

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิดเฉียบพลัน STEMI เป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขของประเทศไทยส่งผลกระทบทั้งด้านสุขภาวะและค่าใช้จ่ายที่สูง จากการศึกษาปรากฏการณ์เครือข่ายการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน STEMI โรงพยาบาลบุรีรัมย์ในปีพ.ศ. 2554-2556 พบผู้ป่วยเข้าถึงบริการเปิดหลอดเลือดด้วยยาละลายลิ่มเลือดล่าช้า อันส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนและอัตราการเสียชีวิตสูง
วัตถุประสงค์: 1) เพื่อพัฒนาเครือข่ายการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน STEMI โรงพยาบาลบุรีรัมย์ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางการพยาบาลในการพัฒนาเครือข่ายการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน STEMI โรงพยาบาลบุรีรัมย์ก่อนและหลังการพัฒนาและ 3) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในเครือข่ายการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน STEMI โรงพยาบาลบุรีรัมย์ก่อนและหลังการพัฒนา
รูปแบบการศึกษา: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ( Action Research) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ 1) ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน STEMI ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลบุรีรัมย์ระหว่าง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 31 มีนาคม พ.ศ.2561 โดยช่วงพัฒนาครั้งที่ 1 คือ1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 -30 มิถุนายน พ.ศ.2560 จำนวน367รายช่วงพัฒนาครั้งที่ 2 คือ 1 กรกฏาคม พ.ศ. 2560-31 มีนาคม พ.ศ.2561 จำนวน 144 ราย ใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง 2) พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในเครือข่ายโรงพยาบาลบุรีรัมย์ที่ให้การพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน STEMI จำนวน 55 คน วิธีดำเนินการมี 4 ขั้นตอนคือ 1)เตรียมการและวิเคราะห์สถานการณ์ 2) การสร้างและพัฒนาเครือข่ายการพยาบาล 3) นำแนวทางปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน STEMI ที่พัฒนามาทดลองใช้ 4)ประเมินผลสถิติที่ใช้ร้อยละและ Chi – square
ผลการศึกษา: การพัฒนาเครือข่ายประกอบด้วย 1) พัฒนาสมรรถนะบุคลากรในการอ่าน EKG การให้ยาละลายลิ่มเลือด 2) แนวทางการรับคำปรึกษา 3) STEMI fast track 4) แนวปฏิบัติการดูแลรักษาพยาบาลและ 5) ระบบนิเทศติดตามเมื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาเครือข่ายการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน STEMI โรงพยาบาลบุรีรัมย์ก่อนและหลังการพัฒนาครั้งที่ 2 พบว่า1) อัตรา Door to EKG Time ภายใน 10 นาที หลังการพัฒนาเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 35.1 เป็นร้อยละ 83.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (gif.latex?\chi2= 98.769, df=1, p-value = 0.000) 2) อัตราผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน STEMI ได้รับการเปิดหลอดเลือดด้วยยาละลายลิ่มเลือดหลังการพัฒนาเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 69.4 เป็นร้อยละ 99.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (gif.latex?\chi2=51.966, df=1, p-value =0.000) 3) อัตรา Door to Needle time ภายในเวลา 30 นาทีหลังการพัฒนาลดลงจากร้อยละ 37.5 เป็นร้อยละ 18.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(gif.latex?\chi2= 15.892, df=1, p-value = 0.000) 4) อัตราOnset to Needle Timeภายใน 180 นาทีหลังการพัฒนาเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 20.2 เป็นร้อยละ 59.0 =1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(gif.latex?\chi2= 71.585, df=1, p-value = 0.000) และอัตราความพึงพอใจของผู้ให้บริการเพิ่มเป็นร้อยละ 81.6
สรุป: เครือข่ายการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน STEMI โรงพยาบาลบุรีรัมย์ที่พัฒนาขึ้นสามารถทำให้ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน STEMI สามารถเข้าถึงบริการเปิดหลอดเลือดด้วยยาละลายลิ่มเลือดได้เร็วขึ้นและผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยมากขึ้น
คำสำคัญ: การพัฒนา, เครือข่ายการพยาบาล, ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน STEMI

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1.เกรียงไกร เฮงรัศมี, กนกพร แจ่มสมบูรณ์. มาตรฐานการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สุขุมวิทการพิมพ์ ; 2556.

2.จิราพร มณีพราย. การพัฒนาเครือข่ายการรักษาพยาบาลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจเอสทียกสูง( STEMI) จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2558;24(5):907-18.

3. Mark Jordan, Jenny Caesar. Improving door-to-needle times for patients presenting with ST-elevation myocardial infarction at a rural district general hospital. BMJ Qual Improv Rep. 2016;5(1):1-9.

4.จิราวรรณ รุ่งเรืองวารินทร์, ศรีสุรีย์ สูนพยานนท์, อัญชลี คงสมบุญ. การพัฒนาระบบส่งต่อช่องทางด่วนผู้ป่วย STEMI จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2559;6(1):2-14.

5. McDermott KA, Helfrich CD, Sales AE, Rumsfeld JS, Ho PM, Fihn SD. A Review of Interventions and System Changes to Improve Time to Reperfusion for ST-Segment Elevation Myocardial Infarction. J Gen Intern Med. 2008;23(8):1246-56.

6. อรุณี สิทธิหงส์, นิตยาภรณ์ จันทร์นคร, ทัศนีย์ แดขุนทด. การพัฒนาเครือข่ายการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิด STEMI ในโรงพยาบาลเครือข่าย จังหวัดสกลนคร. วารสารสมาคมพยาบาลฯสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2555;30(4):67-78.

7. วันเพ็ญ แสงเพ็ชรส่อง, ทัชวรรณ ผาสุก, ธนิตา ฉิมวงษ์. การพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันระยะวิกฤตในโรงพยาบาลระยอง. วารสารกองการพยาบาล 2555;39(1):32-45.

8. สุรีย์ กรองทอง, ศศิธร กระจายกลาง, นงลักษณ์ สุรศร, สุนันญา พรมตวง. พัฒนารูปแบบบริการทางด่วนผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2561;33(1):45-60.

9. นิยดา อกนิษฐ์, สุชาดา วิภวกานต์, สุภาณี สิทธิสาร. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดSTEMIโรงพยาบาลกระบี่. วารสารกองการพยาบาล 2556;40(3):70-84.